ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM), การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) หมายถึง, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) คือ, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) ความหมาย, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM)

          การจัดการโรคพืช คือ "ระบบการเลือกและใช้วิธีการที่เหมาะสมใดๆก็ตามที่ลดความเสียหายของโรคลงได้จนถึงระดับที่พืชสามารถทนอยู่ได้ ในทาง ปฏิบัติอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุด มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด"


ทำไมต้องมีการจัดการโรคพืช

         1. การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
          เมื่อโลกมีประชากรมากขึ้นก็ต้องมีปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ขาดแคลน อาหารส่วนใหญ่เป็นผลิตผลทางการเกษตร ถ้ามีปัจจัยต่างๆมารบกวนหรือ ลดปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรก็จะเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้
          2. การใช้สารเคมีมากเกินไป
          มีการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคพืช แมลง หรือศัตรูพืชชนิดอื่นเป็นจำนวนมากและมากเกินความจำเป็น รวมทั้งการใช้สารเคมีอย่างผิดวิธี ส่งผลเสีย ต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ซึ่งเกิดจากสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ
          3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
          การทำการเกษตรที่แน่นการปลูกเพิ่มเพื่อจำนวนผลผลิต การใช้พันธุ์พืชที่ปรับปรุงพันธุ์ การใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้ทำให้มีการ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ การเปลี่นแปลงที่มากเกินไปจะทำให้เกิดโรคหรือแมลงศัตรูพืชมากขึ้นจนกลายเป็นการระบาดได้
          4. วิธีการทำการเกษตรสมัยใหม่
          เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การทำการเกษตรต้องผลิตผลผลิตทางการเกษตรให้มีปริมาณมากขึ้น จึงมีการปลูกพืชชนิดเดียวเป็นแปลงใหญ่ (monoculture หรือ monocropping) ตามวิธีการเกษตรสมัยใหม่มากขึ้น มีการคัดพันธุ์ ผสมพันธุ์ ให้ได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก


หลักการจัดการโรคพืช มี 5 ข้อดังนี้

          1. วิธีการใดๆที่สามารถลดปริมาณเชื้อโรคลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องทำให้เชื้อโรคตายหมดก็ได้ แต่วิธีการนั้นหรือเหล่านั้นต้องไม่ทำให้ เกษตรกรเพิ่มต้นทุนในการผลิตและมีผลต่อสภาพแวดล้อม หรือต่อระบบนิเวศน์การเกษตรน้อยที่สุด
          2. การจัดให้การจัดการโรคพืชรวมอยู่ในระบบการปลูกพืชทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ก่อนการเตรียมดิน การปลูกพืช การดูแลรักษาจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต
          ระบบการปลูกพืชรวม
               - การจัดการพืช - การจัดการดิน
               - การจัดการน้ำ - การจัดการวัชพืช
               - การจัดการโรคพืช - การจัดการแรงงาน
               - การจัดการตลาด - การจัดการแมลง
          3.ผู้ที่จัดการโรคพืชต้องเห็นความสำคัญของโรคพืชที่เกิดขึ้นว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจจริงและเฉพาะกับโรคที่สำคัญต่อพืชแต่ละชนิดเท่านั้น ส่วน โรคที่มีความสำคัญน้อยกว่าก็อาจใช้วิธีการเดียวกันก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาและลงทุนกับการป้องกันหรือควบคุมทุกวิธี แต่กระทำเพื่อลดปริมาณเชื้อโรค หรือลดการระบาดลงบ้างเท่านั้น
          4. เกษตรกรควรคำนึงถึงการคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การคิดต้นทุนและกำไรที่จะได้จากการทำกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น เมื่อจำเป็นต้องมีการจัด การโรคพืชเสริมเข้ามา สิ่งที่สำคัญคือ กิจกรรมเหล่านี้ต้องไม่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากโดยไม่จำเป็น
          5. การจัดการโรคพืชอาจมีข้อเสีย ถ้าเกษตรกรในสังคมหรือบริเวณใกล้เคียงไม่ร่วมดำเนินการด้วย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนบ้านเป็นอย่าง ดีและต้องกระทำในพื้นที่กว้างจึงจะมีประสิทธิภาพ
          หัวใจของการจัดการโรคพืชคือ การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่สามารถนำมาป้องกันและกำจัดเชื้อโรคมิให้มีมากจนถึงขั้นที่สามารถทำความเสีย หายกับพืชหรือเสียหายทางเศรษฐกิจได้ คือมีปริมาณเชื้อโรคอยู่น้อยหรือในขั้นที่ต่ำที่สุด ก่อนการตัดสินใจจึงควรพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่าง สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนับว่าสำคัญคือ ต้องวางแผนให้การจัดการโรคพืชเป็นส่วนหนึ่งในระบบการปลูกพืชทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการเตรียมดิน การปลูกพืช การดูแลรักษา การให้น้ำ รวมทั้งการเก็บเกี่ยวด้วย


วิธีการ

         1. เมื่อเกษตรกรต้องการปลูกพืชใด จำเป็นต้องวางแผนทำให้หรือจัดให้การจัดการโรคพืชรวมอยู่ในแผนการปลูกพืชทั้งหมด
          2. เกษตรกรต้องมีข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพืชที่ต้องการปลูก
          3. เรื่องการจัดการโรคพืช เกษตรกรต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคทุกชนิดที่เกิดกับพืชนั้น รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการเกิดโรค การ ระบาดและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
          4. ก่อนทำการปลูกพืชและเมื่อเริ่มปลูกพืชแล้ว ต้องเริ่มการดำเนินงานทุกขั้นตอนตามแผนการจัดการโรคพืชระยะแรกทุกวิธีการทันที ประกอบด้วย
               ก. การหลีกเลี่ยงเชื้อโรคหรือไม่นำพืชที่เป็นโรคมาปลูกในแปลง
               ข. การควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่จะเข้ามาระบาด ด้วยวิธีการต่างๆเท่าที่สามารถทำได้
               ค .การลดปริมาณเชื้อโรคทั้งในระยะเริ่มปลูก และหลังจากเริ่มมีเชื้อระบาดแล้ว
          5. เมื่อต้นพืชงอกแล้วต้องทำการตรวจ หรือสำรวจดูอาการที่ผิดปกติของพืชในแปลงทันที อย่างน้อยที่สุด 2-3 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ควรทำเป็นตารางปฏิบัติ งานประจำวันหรือสัปดาห์และกระทำอย่างทั่วถึงทุกครั้ง
          6. เมื่อพบลักษณะอาการผิดปกติของพืช ซึ่งอาจเกิดกับส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชก็ได้ ต้องพยายามตรวจดูอาการและติดตามอย่างใกล้ชิดตามวิธีการทาง โรคพืช ในกรณีที่เกษตรกรไม่มีความมั่นใจเรื่องโรคก็จำเป็นต้องติดต่อสอบถาม หรือขอให้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการโรคพืช
          7. หาปริมาณของเชื้อโรคว่ามีมากน้อยเพียงใด หรือขอให้นักวิชาการโรคพืชช่วยเหลือถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง
          8. หาความรุนแรงของโรค หรือประเมินความเสียหายที่เกิดกับพืช หรือขอให้นักวิชาการโรคพืชหรือผู้มีประสบการณ์ช่วยก็ได้
          9. ตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ถ้าผลการวิเคราะห์ไม่มีผลรุนแรงและมั่นใจว่าการระบาดของโรคยังไม่เกิดหรือความเสียหายยังน้อย ยังไม่จำ เป็นต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นการสิ้นสุดกระบวนการจัดการโรคพืชระยะนี้เพียงแค่นั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับโรคดังกล่าวและเฝ้าดูแลต่อไป
          10. ในกรณีที่เห็นว่าโรคเริ่มระบาด หรือมีแนวโน้มที่จะระบาดหนักอย่างแน่นอน ต้องเริ่มหาวิธีการยับยั้งการระบาดของโรค ต้องมีนักวิชาการโรคพืชที่ เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือและให้คำแนะนำ วิธีการต่างๆที่ควรจะนำมาใช้เพื่อหยุดยั้งหรือลดการระบาดมีหลายนวิธี ได้แก่
               ก. การเขตกรรม ค. การใช้วิธีกายภาพ (ฟิสิกส์)
               ข. การควบคุมโรคโดยชีววิธี ง. การใช้สารเคมี
          ในทางปฏิบัติอาจเลือกกระทำพร้อมกันทั้ง 4 วิธี หรืออาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งก็ได้ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคแรกเริ่มหรือลดการระบาดของโรค ลด ความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผล สิ่งสำคัญที่ทุกคนควรนึกถึงอยู่ตลอดคือ ไม่จำเป็นต้องกำจัดเชื้อสาเหตุของโรคจนจำนวนประชากรเป็นศูนย์หรือตายหมด เป็นการ สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น การลดปริมาณเชื้อโรคลงจนถึงขั้นที่ไม่สามารถทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับพืชก็เพียงพอแล้ว


ข้อดีข้อเสียของการจัดการโรคพืช

ข้อดีของการจัดการโรคพืช
          1. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
          2. ลดการใช้สารเคมี
          3. ช่วยลดต้นทุนในการปลูกพืช โดยเฉพาะสารเคมี
          4. ทำให้เกษตรกรทำงานอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน

ข้อเสียของการจัดการโรคพืช
          1. เกษตรกรจำเป็นต้องเข้าใจหลักการและวิธีการจัดการโรคพืชเป็นอย่างดี
          2. เกษตรกรจำเป็นต้องวางแผนการปลูกพืชล่วงหน้า
          3. ควรใช้กับแปลงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
          4. เกษตรกรจำเป็นต้องจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับพืช โรคพืช และสภาพแวดล้อม
          5. จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากแปลงของเกษตรกรข้างเคียง

ที่มา https://gis.agr.ku.ac.th


การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM), การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) หมายถึง, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) คือ, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) ความหมาย, การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management : PDM) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu