เกร็ดน่ารู้เพื่อยืดอายุการใช้งานแอร์รถยนต์ของคุณ
1. ตรวจเช็คระบบปรับอากาศรถยนต์ของคุณทุกๆ 3-6 เดือนจากร้าน/ศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน
2. ควรหมั่นสังเกตระบบแอร์รถยนต์ของคุณด้วยตนเอง หากแอร์ในรถของคุณความเย็นเริ่มลดลงให้สันนิษฐานว่า อาจมีการรั่วของน้ำยาแอร์ หรือท่อต่างๆ ในระบบอุดตัน ให้รีบนำรถของคุณเข้าตรวจเช็คโดยด่วน
3. ต้องแน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบปรับอากาศระบบ R-12 หรือระบบ R-134a กันแน่ เพื่อป้องกันการผสมกันของน้ำยาแอร์
4. อย่าผสมน้ำยาแอร์ระบบ R-12 และ R-134a เข้าด้วยกัน เพราะจะทำให้ระบบแอร์รถยนต์ของคุณเสียหายได้
5. น้ำมันคอมเพรสเซอร์ของระบบ R-12 และ R-134a ไม่สามารถใช้แทนกันได้
6. หากคุณไม่แน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบ R-12 หรือ R-134a ให้คุณเปิดตรวจเช็คจากห้องเครื่องที่กระโปรงรถของคุณ โดยดูที่หัวเติมน้ำยาแอร์ ถ้าเป็นระบบ R-12 หัวเติมจะเป็นแบบเกลียว แต่ถ้าเป็นระบ R-134a หัวเติมจะเป็นแบบตัวล๊อค
7. จำไว้ว่ารถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ.2538 ใช้กับแอร์ระบบ R-12 เท่านั้น ส่วนรถยนต์ที่ผลิตหลังปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นไปจะใช้ระบบแอร์ R-134a (ยกเว้นรถกระบะต้องผลิตหลังปี พ.ศ. 2539)
8. การรั่วซึมในระบบแอร์รถยนต์ อาจเกิดจากการหมดอายุการใช้งานของอะไหล่ได้
9. หากคุณต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยติดๆกันในเวลา 3 เดือน อาจเกิดการรั่วในระบบแอร์ของคุณเข้าแล้ว
10. ระมัดระวังอย่าใช้น้ำยาแอร์ที่ติดไฟได้
11. การถ่ายเทอากาศ การสูบบุหรี่ในรถ ขณะเปิดแอร์ จะทำให้อากาศภายในรถไม่บริสุทธิ์ จึงควรเปิดช่องระบายอากาศเพื่อไล่ควันบุหรี่ออกไป และเมื่อใช้แอร์เป็นระยะเวลานานๆ ความเปิดช่องระบายอากาศเป็นระยะ จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น
12. เมื่อไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานานหลายวันควรติดเครื่องยนต์แล้วเปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ที่ซีลคอมเพรสเซอร์
13. ควรจอดรถยนต์ในที่ร่ม การจอกรถกลางแดดนาน จพทำให้ภายในรถร้อนอบอ้าว ต้องใช้เวลานานกว่าจะเย็นลงได้ ในกรณีนี้ควรเปิดประตูหรือกระจกไว้สักครู่ ก่อนจะขับรถออกจากที่จอดรถ
14. ควรปิดช่องระบายอากาศและกระจกให้มิดชิด ขณะใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อป้องกันมิให้ลมร้อนภายนอกไหลเข้ามาภายในตัวรถ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเย็นลดลงได้
15. ในการขับรถขึ้นเขา เครื่องยนต์ต้องทำงานหนักขึ้น จึงควรปิดเครื่องปรับอากาศเป็นครั้งคราว เพื่อลดภาระของเครื่องยนต์และ ป้องกันเครื่องยนต์ร้อนเร็วขึ้นด้วย
16. ควรทำความสะอาดแผงระบายความร้อนที่อยู่หน้าหม้อน้ำ โดยใช้ลมเป่าหรือใช้น้ำฉีดแล้วใช้แปรงขนอ่อนๆ
ที่มา : https://www.songsermair.com/good_tip.htm