ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี หมายถึง, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี คือ, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี ความหมาย, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี

เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี

 เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี

 

คำว่า "อาหาร" กับ "สุขภาพ" เป็นสิ่งที่คู่กันนะค่ะ ไม่ว่าใครก็อยากมีสุขภาพที่ดี ยิ่งเวลาทานอาหารแล้วละก็ทำให้สุขภาพดี หุ่นดี ยิ่งทำให้เรารู้สึกดี ทำให้กำลังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกการกินเพื่อ สุขภาพคือสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจ เพราะการกินไม่ใช่แค่การสนองความต้องการหรือให้อิ่มท้องเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงผลที่มีต่อสุขภาพด้วย วันนี้เรามีเคล็ดลับการรับประทานอาารให้ได้สุขภาพที่ดีมาฝากนะคะ

เทคนิคการรับประทานอาหาร

1.) ทานอาหารเช้าเป็นประจำ เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด และควรเป็นมื้อที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะนอกจากจะช่วยเติมพลังให้ร่างกาย และสมองแล้ว ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยให้การเผาผลาญ พลังงานดีขึ้น
2.) เลือกอาหารจากธรรมชาติไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์(มอลต์) ถั่ว ข้าวสาลี (โฮลวีต) เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่า นี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีนที่ปราศจากคอเลสเตอรอลและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีสารแอนติออกซิแดนต์ ใยอาหาร และปัจจัยอื่น ช่วยลดความเสี่ยง โรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตได้ หรืออาจเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลจากมอลต์ เป็นต้น
3.) เพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหารและทานเป็นประจำ เพื่อเพิ่ม วิตามิน เกลือแร่และสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยนำคอเลสเตอรอล และสารก่อมะเร็งบางชนิด ออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของสารก่อมะเร็งบางชนิด และมีกากใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.) ลดขนมขบเคี้ยวและขนมอบกรอบ ที่มีแต่ไขมัน เกลือ น้ำตาลและสารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากอยากทานขนมอาจหันมาทานขนมที่มีส่วนผสมของธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทาง โภชนาการให้กับขนมที่มีประโยชน์น้อย อย่างไรก็ตาม ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น
5.) กินปลา ไข่และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างร่างกายในผู้เยาว์ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ที่เสื่อมสลายในผู้สูงวัย เป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น
6.) ดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีน้ำตาลสูง การดื่มน้ำผักผลไม้ ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุกว่า 50 ชนิด เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย
7.) ดื่มน้ำและนมให้เป็นนิสัย ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยระบบขับถ่าย และมีน้ำหล่อเลี้ยงในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เพราะนมอุดมไปด้วยคุณค่าโภชนาการสูง ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง โดยชนิดของนมขึ้นอยู่กับวัย หากเป็นเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ควรเป็นนมจืดธรรมดา แต่ในผู้สูงอายุควรเป็นนมพร่องมันเนย เพื่อลดคอเลสเตอรอล
8.) งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสารเสพติด บั่นทอนสุขภาพ ทำให้การทำงานของระบบประสาทและสมองช้าลงมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นตัวพาสารพิษเข้าร่างกายได้รวดเร็วเพราะดูดซึมเร็ว คนที่ติดแอลกอฮอล์มักขาดวิตามินและแร่ธาตุ และมักเป็นโรคตับแข็งปริมาณอาหารแค่ไหนจึงจะพอเหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ในแง่รูปธรรมการกำหนดปริมาณอาหารในแต่ละหมวดหมู่จึงมีความจำเป็น พร้อมกันนี้การแนะนำอาหารในแต่ละหมวดให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ก็จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความหลากหลายของการเลือกบริโภคอาหารวิธี การตรวจดูได้ว่าได้รับอาหารน้อยเกินไปหรือไม่คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) ถ้า BMI เกินมาตรฐานอ้วนไป แสดงว่ารับประทานมากกว่าที่ร่างกายต้องการใช้
9.) หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด อาหารหวานจัด เช่น พวกขนมหวานต่างๆหรือการเติมน้ำตาลในเครื่องดื่มต่างๆถ้ากินมากๆจะเป็นพลังงานส่วน เกินสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้ สำหรับอาหารเค็มจัดจะมีแร่ธาตุโซเดียมอยู่มาก ถ้ากินเป็นประจำทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสใดๆก่อนการชิมอาหาร ลดการบริโภค
10.) กินอาหารสะอาดปราศจากการปนเปื้อน เลือกซื้ออาหารสดสะอาด ล้างผักให้สะอาดก่อนปรุง เก็บอาหารที่ปรุงสุกปิดฝาให้มิดชิด ถ้ามีอาหารเหลือเก็บในตู้เย็น เลือกซื้ออาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆหลีกเลี่ยงอาหารที่เติมสีและอาหารสุกๆดิบๆ

ที่มา : thaibio.com

เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี หมายถึง, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี คือ, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี ความหมาย, เทคนิคการรับประทานอาหารให้สุขภาพดี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu