ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปราสาทหินพิมาย, ปราสาทหินพิมาย หมายถึง, ปราสาทหินพิมาย คือ, ปราสาทหินพิมาย ความหมาย, ปราสาทหินพิมาย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปราสาทหินพิมาย

 

ปราสาทหินพิมาย

 

                    ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

 

การเดินทาง

                    จากจังหวัดนครราชสีมาไปยังอำเภอพิมายทางถนนมิตรภาพ(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ) ประมาณ 12 กม. เมื่อเข้าสู่อำเภอพิมายแล้วจะมีถนนไปสู่ตัวปราสาทอีกประมาณ 4 กม.

 

                    ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานในนิกายมหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย หรือ วิมายปุระ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรขอม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกพบในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (จารึกของพระเจ้าอีศานวรมันเรียก ภีมปุระ) และในพุทธศตวรรษที่ 18 (ในจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียก วิมายปุระ )

 

                    สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายอาจจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะได้พบศิลาจารึกที่ปรากฏชื่อของพระองค์ ระบุศักราช 1579 และ 1589 รูปแบบทางศิลปะกรรมของปราสาทส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบปาบวนต่อนครวัด ซึ่งมีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17 และมีการก่อ สร้างเพิ่มเติมอีกในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18

 

                    ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นทิศที่ตั้งของเมืองหลวงของอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทหินพิมายแบ่งเป็นสัดส่วนได้ 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนในสุด คือ ลานชั้นในล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางลาน ปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีขาว องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นทรงพุ่ม ด้านหน้าขององค์ปรางค์เชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(มณฑป) ที่ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง เสา ฯลฯ มีการแกะสลักงดงาม ที่หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รามายณะ(รามาวตาร) และ กฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลักเป็นภาพศิ-วนาฎราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในภายในองค์ปรางค์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน

 

                    นอกจากปรางค์ประธานแล้วภายในลานชั้นในยังประกอบด้วนอาคารอีก 3 หลังวอยู่ทางด้านหน้าของปรางค์ประธานทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง เดิมเรียกกันว่าหอพราหมณ์เพราะเคยขุดพบศิวลึงค์ขนาดย่อมอยู่ภายใน แต่ดูจากลักษณะแผนผังแล้วอาคารหลังนี้น่าจะเป็นบรรณาลัย มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงที่เรียกกันว่า ปรางค์หินแดง อาคารทั้งสองหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นภายหลังปรางค์ประธาน และอาจจะอยู่ในช่วงพุทะศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับปรางค์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่คู่กับปรางค์หินแดงเรียกกันว่า ปรางค์พรหมทัต ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยศิลาแลงมีส่วนประกอบบางส่วนเป็นหินทราย ใน ปรางค์พรหมทัตนี้ได้พบประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งสมาธิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระรูปเหมือน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และประติมากรรมสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทรายเช่นกัน จึงน่าจะเป็นพระนางชัยราชเทวีมเหสีของพระองค์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครทั้งสองรูป

 

                       ถัดออกมาเป็นส่วนที่เรียกว่า ลานชั้นนอกล้อมด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ลานชั้นนี้ประกอบด้วย อาคารที่เรียกว่าบรรณาลัย 2 หลังตั้งอยู่คู่กันด้านทิศตะวันตก และมีสระน้ำอยู่ที่มุมทั้ง 4 มุมละ 1 สระ เป็นสระที่ขุดขึ้นมาภายหลังคงจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

 

                        นอกกำแพงชั้นนอกทางด้านหน้าเป็นทางเดินสู่ปราสาทมีสะพานนาคราช และประติมากรรมรูปสิงห์สลักด้วยหินทรายประดับอยู่

 

                        ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ปราสาทมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกกันว่า ธรรมศาลา ได้พบทับหลังสลักภาพบุคคลทำพิธีมอบม้าแก่พราหมณ์และภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาลที่คายพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง ทับหลังทั้งสองชิ้นนี้มีลักษณะศิลปะแบบที่นิยมกันในราวพุทธศตวรรษที่ 17

                        ถัดจากกำแพงชั้นนอกของปราสาทออกไป ยังมีกำแพงเมืองล้อมอยู่อีกชั้นหนึ่ง กำแพงเหล่านี้มีซุ้มประตูอยู่ทุกด้านมีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันยังมีให้เห็นได้ชัดเจนทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า

 

                        จากประตูเมืองด้านหน้าออกไปทางทิศใต้ ที่ริมฝั่งลำน้ำเค็ม มีพลับพลาท่าน้ำสร้างด้วยศิลาแลงร่วมสมัยกันกับกำแพงเมือง เรียกกันว่า ท่านางสระผม

 

                         ปราสาทหินพิมาย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ พ.ศ.2497 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479

 

 

ที่มา : https://www.geocities.com/angkor_wat2002/pimai.htm

ปราสาทหินพิมาย, ปราสาทหินพิมาย หมายถึง, ปราสาทหินพิมาย คือ, ปราสาทหินพิมาย ความหมาย, ปราสาทหินพิมาย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu