วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) เกิดที่ อ. เมืองพัทลุง นามเดิมว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ บวชสามเณรตอนอายุ 18 ปีที่วัดอุปนันทนาราม จ. ระนอง และอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ. เมืองพัทลุง จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาธรรมะหลายจังหวัด เช่น สงขลา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมเอก แล้วศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคได้ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านกลับภูมิลำเนาไปแสดงธรรมในภาคใต้ ปี 2475 ท่านได้ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียกับพระโลกนาถ (Salvatore Cioffi) สหายธรรมชาวอิตาลี แต่ท่านไปถึงแค่ประเทศพม่าก็มีเหตุให้ต้องเดินทางกลับ ในปี 2477 ไปจำพรรษากับ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในปี 2492 ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ อ.เมืองเชียงใหม่ ได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระ และเดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้านจนมีชื่อเสียงไปทั่วเชียงใหม่ในนาม ภิกขุปัญญานันทะ ในช่วงนี้ท่านได้ก่อตั้ง มูลนิธิเมตตาศึกษา ที่วัดเจดีย์หลวง อ. เมืองเชียงใหม่ ในปี 2502 ม.ล. ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทานในสมัยนั้น มีความประทับใจในลีลาการสอนธรรมะของหลวงพ่อ จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาสที่ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ ซึ่งกรมชลประธานได้สร้างขึ้นใหม่ที่ ต. บางตลาด อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ตั้งแต่ 2503 จนถึงปัจจุบันในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ท่านเคยเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป หลวงพ่อปัญญาได้เขียนหนังสือธรรมไว้จำนวนมาก ท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนาที่เคยหรูหราฟุ่มเฟือย เปลี่ยนเป็นประหยัดและเรียบง่าย ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย ปัจจุบันท่านยังคงพำนักอยู่ที่วัดชลประธานรังสฤษฎ์ เผยแพร่ธรรมะและได้ประกาศเจตนารมณ์สุดท้ายว่า จะสร้างโบสถ์ราคา 200 ล้านบาทให้เสร็จก่อนมรณภาพ
วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ), วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) หมายถึง, วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) คือ, วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ความหมาย, วันเกิด พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!