ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น

     3 ตุลาคม พ.ศ. 2451 "พราฟดา” (Pravda) หนังสือพิมพ์แถวหน้าของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดย เลออน ทร็อตสกี (Leon Trotsky) นักการเมืองสังคมนิยม และ อดอล์ฟ จอฟฟี (Adolph Joffe) และ มัทวีย์ สโกเลเลฟ (Matvey Skobelev) กลุ่มนักสังคมนิยมชาวรัสเซียในกรุงเวียนนา ทร็อตสกีตั้งใจใช้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เสนอข่าวและบทความวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมือง การเอารัดเอาเปรียบของชนชั้นสูง และความทุกข์ยากของชนชั้นกรรมาชีพ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและมีชีวิตชีวา ไม่นานพราฟดาก็ได้รับความนิยามอย่างมากในรัสเซีย ในปี 2453 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ก็เข้ามาดูแลและใช้เป็นกระบอกเสียงให้กับพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย ก่อนจะปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 15 เมษายน 2455 ภายหลังจากเลนินทำการปฏิวัติรัสเซียสำเร็จในปี 2460 พราฟดาก็เปิดตัวขึ้นอีกครั้งที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดย อเล็กซานเดอร์ ชเลียพนิคอฟ (Alexander Shliapnikov) เมื่อสตาลินเรืองอำนาจก็ขับไล่คณะบรรณาธการเดิมออกไปแล้วเข้ามาเป็นบรรณาธิการแทน ปี 2461 พราฟดาย้ายสำนักงานมาอยู่ที่กรุงมอสโก และทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของฝ่ายรัฐบาลคอมมิวนิสต์เรื่อยมา จนกระทั่ง บอริส เยลต์ซิน (Boris Nikolayevich Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกล้มล้างระบอบคอมมิวนิสต์ เปลี่ยนประเทศเป็นประชาธิปไตยทุนนิยม และสั่งปิดพร้อมยึดทรัพย์สินของพราฟดาในวันที่ 22 สิงหาคม 2534 แต่กลุ่มนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ก็ได้จดทะเบียนพราฟดาฉบับแท็บลอยด์ขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์ถัดมา และต้นปี 2542 ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์พราฟดาเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตชื่อ "Pravda Online” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ฉบับแรกของรัสเซีย เผยแพร่ในภาษารัสเซีย อังกฤษ อิตาลเลียน และโปรตุเกส นับได้ว่าพราฟดาเป็นหนังสือพิมพ์คอมมิวนิสต์ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโซเวียต-รัสเซีย และได้รับความนิยมมากที่สุดฉบับหนึ่ง

หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น, หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น หมายถึง, หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น คือ, หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น ความหมาย, หนังสือพิมพ์พราฟดาของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้น คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 30 ตุลาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนตุลาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนตุลาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu