ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 15 ปี โดยมี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อปี 2416 ก่อนจะประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2411 เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา เมื่อเริ่มรัชกาลจึงต้องมีผู้สำเร็จราชการคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จนกระทั่งทรงมีพระชนมายุถึง 18 พรรษาจึงมีพระราชอำนาจเต็ม พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองให้ทันสมัยขึ้น ทรงผนึกแผ่นดินล้านนา ทรงออกพระราชบัญญัติให้เลิกทาส ในยุคนั้นประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคม พระองค์ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อทอดพระเนตรความเจริญในประเทศตะวันตก แล้วนำกลับมาพัฒนาบ้านเมือง ขณะเดียวกันก็เสด็จประพาสต้น เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร นอกจากนี้ยังทรงบำรุงความผาสุขของประชาชน โดยทรงริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เช่น การรถไฟ ไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โรงพยาบาล การศึกษา ศาสนา และทรงส่งเจ้านายหลายพระองค์ไปศึกษาในยุโรปเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมทั้งหมด 92 พระองค์ ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์ การพัฒนาของพระองค์ส่งผลให้สยามเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน ต่อมาได้มีการกำหนดให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันปิยมหาราช" รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ขณะพระชนมายุได้ 58 พรรษา ทรงครองราชย์นาน 42 ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ หมายถึง, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ คือ, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ความหมาย, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 30 ตุลาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนตุลาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนตุลาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu