ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

คาราเต้, คาราเต้ หมายถึง, คาราเต้ คือ, คาราเต้ ความหมาย, คาราเต้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
คาราเต้

ประวัติกีฬาคาราเต้ 
    
       สันนิษฐานว่า คาราเต้มีต้นกำเนิดมาจากเกาะริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2152 ในช่วงที่เกาะริวกิวเป็นเมืองขึ้นของตระกูลซัทซูมา ในช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายห้ามประชาชนมีอาวุธอยู่ในครอบครองและอาวุธในเกาะถูกริบเป็นของรัฐทั้งหมด เป็นผลให้เกิดแรงกดดันต่อประชาชนเป็นทวีคูณ จึงคิดวิธีการต่อสู้เพื่อป้องกันตนเองโดยไม่ใช้อาวุธขึ้น เรียกว่า “คาราเต้

 



กติกาคาราเต้

กติกาคาราเต้

คาราเต้เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทนี้จะต้องได้รับการฝึกฝนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกำหนดท่าต่าง ๆ จะมีไม่กี่ท่า และการต่อย ตี หรือเตะ จะต้องได้รับการควบคุมก่อนเข้าทำการปะทะ เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

สนามแข่งขัน

ใช้สนามพื้นเรียบที่ไม่มีสิ่งกีดขวางขนาด 8 x 8 เมตร

เจ้าหน้าที่            ประกอบด้วย

1. กรรมการผู้ตัดสิน จะอยู่ในบริเวณพื้นที่แข่งขัน

2. กรรมการให้คะแนน 4 คน จะนั่งอยู่ที่มุมทั้งสี่ด้านของสนาม

3. กรรมการผู้ชี้ขาด จะนั่งอยู่ทางด้านข้างของสนามพร้อมกับกรรมการรักษาเวลา กรรมการบันทึกคะแนน และผู้จัดการทีม

กรรมการผู้ตัดสิน จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ให้คะแนน แจ้งการทำผิดกติกา เตือนการกระทำที่ผิดระเบียบ ต่อเวลาการแข่งขันถ้าจำเป็น

กรรมการให้คะแนน กรรมการแต่ละคนจะมีธงสีขาว สีแดง และนกหวีด เพื่อให้สัญญาณการได้คะแนน การทำผิดกติกา การออกนอกเขตแข่งขัน ในกรณีที่มีความเห็นต่างกันจะใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน

กรรมการผู้ชี้ขาด จะทำหน้าที่ตัดสินการให้คะแนน และควบคุมการทำงานของกรรมการบันทึกคะแนนและกรรมการรักษาเวลา

การแต่งกาย

ผู้แข่งขันจะสวมชุดคาราเต้สีขาว พร้อมกับคาดเข็มขัดสี (Obi) เพื่อแสดงวิทยะฐานะ และจะมีเครื่องหมายแสดงฝ่ายเป็นสีขาวหรือสีแดงอยู่บริเวณเข็มขัดสีด้วยห้ามสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ส่วนเครื่องป้องกันตัวจะใช้ได้เมื่อกรรมการอนุญาต

ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันปกติจะใช้เวลาแต่ละคู่ประมาณ 2 นาที แต่ในบางครั้งอาจเลยไปถึง 3 หรือ 5 นาที เนื่องจากอาจมีการบาดเจ็บ หรือมีการหยุดการแข่งขันชั่วขณะซึ่งจะไม่นับรวมในเวลาแข่งขันก่อนหมดเวลา 30 วินาที กรรมการรักษาเวลาจะเตือนให้ผู้เข้าแข่งขันทราบ

การเริ่มต้นการแข่งขัน

กรรมการผู้ตัดสินและผู้เข้าแข่งขันประจำที่ ผู้เข้าแข่งขันจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ปลายเท้าจะอยู่ที่เส้นเริ่มต้น แล้วคำนับซึ่งกันและกัน เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานว่า โชบุ อิปปอน ฮาจิ-มะ (Shobu ippon hajime) การแข่งขันจึงเริ่มขึ้น

การให้คะแนน

จะให้คะแนนสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่แสดงเทคนิคของคาราเต้ได้ถูกต้องและสามารถโจมตีเป้าหมายได้ถูกต้อง การเข้าปะทะบริเวณลำตัวต้องไม่รุนแรงจนเกินไปและห้ามปะทะอย่างรุนแรงบริเวณใบหน้าและศีรษะ การโจมตีเป้าหมายจะได้คะแนนเมื่อถูกเป้าหมาย หรือห่างจากเป้าหมายไม่เกิน 2 นิ้ว การเข้าปะทะที่รุนแรงเกินกว่าเหตุจะถูกปรับแพ้

คะแนนเต็ม (Ippon)

เป็นคะแนนที่ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ได้ดีและถูกต้องดูแข็งแรงแต่ไม่รุนแรงเกินไป จังหวะและระยทางตี การโจมตีอาจเป็นการต่อยแบบกำหมัด (Tsuki) การตบ (Uchi) การตี (Ate) หรือการเตะ (Keri) ก็ได้ คะแนนนี้มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน และผู้เข้าแข่งขันจะได้รับในกรณีต่อไปนี้

1. โจมตีคู่ต่อสู้ในขณะที่คู่ต่อสู้เคลื่อนที่เข้าโจมตี

2. โจมตีในขณะที่คู่ต่อสู้เสียจังหวะในการโจมตี

3. ใช้เทคนิคในการโจมตีที่ผสมผสานกันดี เช่น ใช้หมัดพกับการเตะ หรือ ใช้หมัดกับการทุ่ม

4. คู่ต่อสู้สู้อย่างไม่สมศักดิ์ศรี

5. โจมตีในบริเวณที่คู่ต่อสู้ไม่สามารถป้องกันได้

การไม่ได้คะแนนเต็ม

ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้คะแนนเต็ม ถ้าไม่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ในขณะที่จับหรือทุ่มคู่ต่อสู้ได้ หรือเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเข้าปะทะในจังหวะเดียวกัน หรือโจมตีในขณะที่สัญญาณหมดเวลาดังนี้ หรือโจมตีในขณะที่ตนเองอยู่ในพื้นที่แข่งขัน แต่ตัวคู่ต่อสู้อยู่นอกพื้นที่แข่งขัน

คะแนนเกือบเต็ม (Wazaari)

เป็นคะแนนที่ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ได้ แต่ดีและได้ผลไม่สมบูรณ์นัก เช่น

- คู่ต่อสู้สามารถหลบจากการโจมตีเป้าหมายได้

- โจมตีพลาดเป้าหมาย

- โจมตีเป้าหมายในขณะที่ตัวเองเสียการทรงตัว

- คะแนนเกือบเต็มมีค่าเท่ากับ คะแนน

การหยุดเล่น

เมื่อผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนเต็มได้ กรรมการผู้ตัดสินจะขานว่า ซอเระมาเดะ (Soremade) ผู้เข้าแข่งขันจะกลับไปที่เส้นเริ่มต้น และกรรมการผู้ตัดสินจะกลับเข้าประจำที่ แล้วยกมือซ้ายหรือขวาเพื่อแจ้งฝ่ายที่ได้คะแนนพร้อมกับบอกเทคนิคที่ใช้หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันจะทำการคำนับซึ่งกันและกันเป็นการจบการแข่งขัน

แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนได้เกือบเต็ม กรรมการผู้ตัดสินจะขานว่า ยาเมะ (Yame) ผู้เข้าแข่งขันจะกลับไปที่เส้นเริ่มต้น กรรมการผู้ตัดสินจะกลับเข้าประจำที่ แล้วขานว่า วาซา-อาริ (Waza-ari) พร้อมกับชี้ไปยังผู้ได้คะแนนและบอกเทคนิคที่ใช้

ถ้ากรรมการผู้ห้ามขานว่า ฮาจิเมะ (Hajime) การแข่งขันจะดำเนินต่อไป (จนกว่าจะได้คะแนนเกือบเต็ม 2 คะแนน)

การหยุดการแข่งขันชั่วขณะ

การแข่งขันจะหยุดชั่วขณะเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน ยาเมะ ในกรณีต่อไปนี้

1. มีการต่อสู้ที่ไม่เกิดผล

2. มีการกดยึดท่าอันตราย

3. ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งหรือทั้งสองคนออกนอกพื้นที่แข่งขัน

4. หยุดให้ผู้เข้าแข่งขันจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย

5. เมื่อผู้เข้าแข่งขันทำผิดกติกา

6. เกิดการบาดเจ็บ

7. กรรมการให้คะแนนยกธงสัญญาณ

ในการหยุดการแข่งขันชั่วขณะที่นานเกินกว่า 10 วินาที จะไม่นับรวม เวลาในการแข่งขัน

การบาดเจ็บ

ในระหว่างการแข่งขัน หากผู้เข้าแข่งขันเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกระทำของผู้เข้าแข่งขันอีกฝ่ายหนึ่ง (มักเกิดจากการทำผิดกติกา) จะตัดสินให้ฝ่ายที่ได้รับบาดเจ็บเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันปฏิเสธ หรือร้องขอยุติการแข่งขันเนื่องจากการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เขาจะเป็นฝ่ายถูกปรับแพ้ นอกจากนี้ หากการบาดเจ็บมิได้เกิดจากการกระทำของฝ่ายใด หรือเกิดการบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย (ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้กระทำ) ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถแข่งขันต่อไปคือผู้ชนะ ถ้ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา ให้กรรมการผู้ห้ามเป็นผู้ชี้ขาด และการบาดเจ็บที่เกิดโดยไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ให้ตัดสินเสมอกัน

การทำผิดกติกา

การต่อสู้ที่ถือเป็นการทำผิดกติกา คือ

1. โจมตีร่างกายส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและขา

2. ใช้ท่าต่อสู้ที่อันตราย เช่น โจมตีที่ตา หรืออวัยวะสืบพันธุ์

3. ใช้ท่าทุ่มที่อันตราย

4. โจมตีบริเวณหน้าแข้ง สะโพก ข้อเข่า และระหว่างขา

5. จับ ขยี้ หรือถูตามตัวของคู่ต่อสู้โดยไม่จำเป็น

6. พยายามออกนอกพื้นที่แข่งขัน หรือตั้งใจถ่วงเวลา


คาราเต้, คาราเต้ หมายถึง, คาราเต้ คือ, คาราเต้ ความหมาย, คาราเต้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu