ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ หมายถึง, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ คือ, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ ความหมาย, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ

"วัดโพธิ์" หรือนามทางการว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธาราม เป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษ ฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วยพระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจนมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว มีพระราชดำริว่า วัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2331
ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อปี พ.ศ.2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"ทั้งนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้ บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ 
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด เมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี พ.ศ.2525 เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆเกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 1 และที่ 3 ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหา วิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้อย่างไม่รู้จบสิ้น
ณ พระวิหารด้านทิศตะวันออกมุขหลัง เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธโลก นาถราชมหาสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร" พระพุทธรูปองค์นี้พระนามเดิมเรียกว่า "พระโลกนาถศาสดาจารย์" ปรักหักพังทิ้งร้างอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ หลังจากเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามเป็นพระอารามกว้างขวางมาก ได้ชะลอพระพุทธรูปยืนพระโลก นาถศาสดาจารย์ ลงมาบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งองค์ ประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารตะวันออกมุขหลังพระพุทธโลกนาถฯ เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ขนาดสูง 20 ศอก วัสดุโลหะปิดทอง ศิลปกรรมสมัยอยุธยาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ได้พรรณนาพระพุทธโลกนาถฯ ไว้ดังนี้ "พระพุทธรูปยืนสูง 20 ศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถศาสดาจารย์ ปรักหักพัง เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่า ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วเชิญประดิษฐานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย ผนังเขียนพระโยคาวจร พิจารณาอาศภสิบและอุปรมาญานสิบ"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเพิ่มสร้อยพระนามพระโลกนาถศาสดาจารย์ ว่า พระพุทธโลกนาถราชมหาสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ หนังสือพิมพ์ข่าวสด

พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ หมายถึง, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ คือ, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ ความหมาย, พระพุทธโลกนาถราชฯ วัดพระเชตุพนฯ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu