ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

คำซ้อน, คำซ้อน หมายถึง, คำซ้อน คือ, คำซ้อน ความหมาย, คำซ้อน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 43
คำซ้อน

คำซ้อน หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน

 คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืน

กันด้วย เช่น
          คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ
          คำซ้อนที่ใช้เสียงตรงข้าม ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ
          คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี มากมาย ฯลฯ
          คำซ้อน 4 คำ ที่มีคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป ฯลฯ
          คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้นฯลฯ

ความมุ่งหมายของการสร้างคำซ้อน
เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม เช่น ใหม่เอี่ยม ละเอียดลออ เสื่อสาด
ทำให้เกิดความหมายใหม่ในเชิงอุปมาอุปไมย เช่น ตัดสิน เบิกบาน เกี่ยวข้อง

 การซ้อนคำ

เป็นการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน เมื่อซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่

 หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น คำที่เกิดจากการซ้อนคำเช่นนี้เรียกว่าซ้อนคำ

          -คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น จิตใจ ถ้วยชาม ข้าทาส ขับไล่ ขับกล่อม ค่างวด ฆ่าแกง หยูกยา เยียวยา แก่นสาร ทอดทิ้ง ท้วงติง แก้ไข ราบเรียบ เหนื่อยหน่าย ทำมาค้าขาย ชั่วนาตาปี
          -คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น หอมเหม็น ถูกแพง หนักเบา ยากง่าย มีจน ถูกผิด ชั่วดีมีจน หน้าไหว้หลังหลอก
          -คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงเดียวกันหรือมีเสียงสระเข้าคู่กัน เช่น เกะกะ เปะปะ รุ่งริ่ง โยกเยก กรอบแกรบ กรีดกราด ฟืดฟาด มากมายก่ายกอง อีลุ่ยฉุยแฉก หรืออาจจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามหน้าที่ ได้แก่
         - คำซ้อนเพื่อเสียง
         - คำซ้อนเพื่อความหมาย
       
คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียง
นี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่

          นำคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น
-เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้
-เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ ชิงช้า
-จริงจัง ทึกทัก หมองหมาง ตึงตัง
          นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมาย เพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่น โดยมากใช้ในคำพูด เช่น กวาดแกวด กินแกน เดินแดน มองเมิง ดีเด่ ไปเปย 

          นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น
-เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม
-ออมชอม อ้างว้าง เรื่อยเจื้อย ราบคาบ

          นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น
ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย
          คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น
-ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร
-สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา
-จมูกปาก เป็น จมูกจปาก 

          คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลางหรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทย ความหมายของคำ

จะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย เช่น
เกะกะระราน กระโดดโลดเต้น บ้านช่องห้องหอ
เรือแพนาวา ข้าเก่าเต่าเลี้ยง กตัญญูรู้คุณ
ผลหมากรากไม้ โกหกพกลม ติดอกติดใจ
 
คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 

          1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ
ถ้วยชามรามไห
จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
          2. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น
เสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม
เรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด
ข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป
พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
หมูเห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด
          3. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกัน เช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล (ชอบกล)
ฤกษ์งามยามดี (ฤกษ์ดี) ยากดีมีจน (ยากจน)
          4. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน เช่น ชั่ว ดี (ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน) ผิดชอบ (ความรับผิดชอบ) เท็จจริง (ข้อเท็จจริง)


ที่มาข้อมูล sites.google.com
ที่มารูปภาพ horpariyat.com


คำซ้อน, คำซ้อน หมายถึง, คำซ้อน คือ, คำซ้อน ความหมาย, คำซ้อน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu