ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ หมายถึง, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ คือ, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ความหมาย, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรส นโรดม สีหมุนี โดยปัจจุบันพระองค์อยู่ในฐานะพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา)  ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world"s greatest variety of political offices) กล่าวคือ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย



พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (พระอัยกา (ตา) เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระราชินีกุสุมะ พระราชมารดา) สวรรคต ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพูชากลับมายังสายของสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ หรือนักองราชาวดีอีกครั้งหนึ่ง

แม้จะมีการกล่าวกันว่าฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราชย์ อันเนื่องมาจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ก็ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่ใกล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระบิดานั้น พระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม

ต้นรัชกาล ผู้ที่ทรงอำนาจเหนือกว่าพระองค์กลับเป็น ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) เสนาบดีผู้ภักดีต่อการปกครองของฝรั่งเศส พระองค์เคยกล่าวถึงเขาว่า "เป็น ราชาองค์น้อย ๆ อย่างแท้จริง ทรงอำนาจดุจเรสิดังสุเปริเออร์ [Residents-Supérieur]"แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งหลังการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ฝรั่งเศสเอาใจยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่ แม้ฝรั่งเศสจะเหลือขุนนางที่ภักดีต่อตนบ้าง เช่น จวน ฮล บุตรของออกญาวังวรเวียงชัย แต่ก็ไม่ทรงอิทธิพลเท่าบิดา

ต่อมา ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 ให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดา เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศกัมพูชา

หลังจากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดาสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2503 ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ของกัมพูชา โดยไม่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก จนกระทั่งถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยนายพลลอน นอล

หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองหลายปี เมื่อมีการสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ทรงครองราชสมบัติครั้งที่สองเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ทรงสละราชสมบัติเมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะทรงมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร"



พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ก่อนเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามเดิมคือ "นักองค์ราชวงศ์นโรดม สีหนุ" ต่อมาเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยว่า "พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ราชหริวงษ์ อุภโตสุชาติ วิสุทธิวงษ์ อัคคมหาบุรุษรัตน์ นิกโรดม ธัมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถ บรมบพิตร พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี"

ภายหลังเมื่อสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2547 แล้ว จึงทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พระมหาวีรกษัตริย์ โดยทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า "พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดาเอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร"



การสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการพระหทัยวาย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งในพระอันตะ, เบาหวาน และโรคเครียด สิริรวมพระชนมายุได้ 89 พรรษา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2547  : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เสด็จขึ้นครองราชย์

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ หมายถึง, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ คือ, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ความหมาย, พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu