ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก), ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) หมายถึง, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) คือ, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) ความหมาย, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก)

ประวัติ กทพ.


ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก)
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ หรือ ร.ส.พ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในอดีตของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการขนส่งสินค้า ให้บริการแก่หน่วยงานราชการ และประชาชนทั่วไป

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซอยรางน้ำ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และมีสำนักงานสาขาทั่วประเทศ มีภารกิจหลักในการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยราชการ โดยเฉพาะในการขนส่งบางประเภท ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง มีข้อบังคับกำหนดว่า การขนส่งนั้นต้องดำเนินการโดยองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น ได้แก่
1.งานขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ทางการทหารของกองทัพไทย
2.งานขนส่งอุปกรณ์เครื่องใช้ของสำนักพระราชวัง
3.งานของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น
 3.1งานขนส่งสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย
 3.2งานขนส่งอุปกรณ์ของโรงพิมพ์ธนบัตร และขนส่งธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย
 3.3งานขนส่งหัวรถจักรของการรถไฟแห่งประเทศไทย
 3.4งานขนส่งอุปกรณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กรมการขนส่งทางบก เป็นกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งทางถนนภายในประเทศและระหว่างประเทศ จดทะเบียนและเก็บภาษีรถและออกใบอนุญาตขับรถ พัฒนาระบบการขนส่งทางถนนและการใช้รถ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือและประสานงานกับองค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการขนส่งทางบกและในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ เฉพาะรถของพลเรือน และรถราชการ ไม่รวมถึงรถที่ใช้ในกิจการพิเศษของทหารและตำรวจ

วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) เป็นแม่กอง [2] ทำถนนในพระนครทุกสาย ในสมัยนั้นก็คือ ถนนรอบพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ด้วยก่อนนี้เป็นเพียงถนนดินคนเดินไปมา จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการบุกเบิกคมนาคมทางบก แบบยุโรปขึ้นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะก่อนหน้านี้จะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก และทำถนนต่อจากถนนท้ายวัง ก็คือถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายแรกของประเทศไทย

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น ในปี พ.ศ. 2425 และให้รวมหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการสื่อสารข่าว มารวมไว้ในกระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตาม กิจการด้านขนส่งทางบกก็ยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแม้แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ. 2476 ก็มิได้กำหนดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบกโดยตรงอีกเช่นกัน

จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการ บริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ) กำหนดให้มีกรมการขนส่งขึ้น ในกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจแห่งชาติ รวมทั้งหน้าที่ในราชการ ส่วนคมนาคมด้วย แต่ก็ยังไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบก เพราะตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ. 2476 ได้กำหนดส่วนราชการของกรมการขนส่งไว้เพียง 2 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม และกองการบินพลเรือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายกิจการบินพาณิชย์ของประเทศ
จวบจน กระทั่งวันที่ 11 สิงหาคม 2484 รัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งมี ฯพณฯจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 สถาปนา "กรมการขนส่ง" ขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรมสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีที่ทำการรวมอยู่ใน กระทรวงคมนาคม ณ ตำบลท่าช้างวังหน้า อำเภอพระนคร (ที่ตั้งโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน)

อำนาจและหน้าที่
กรมการขนส่งทางบก มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดระบบ การจัดระเบียบการขนส่งทางบก โดยการกำกับ ดูแล ตรวจสอบ ตรวจตรา ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประสานและวางแผนให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ เพื่อให้ระบบการขนส่งทางบกเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1.ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.ดำเนินการแก้ไข ป้องกัน และส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
3.ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางบก
4.ดำเนินการจัดระเบียบการขนส่งทางบก
5.ร่วมมือและประสานงานกับองค์การและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการขนส่งทางบก และในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ
6.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด
1.งานตรวจราชการกรม
2.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
3.กลุ่มตรวจสอบภายใน
4.สำนักงานเลขานุการกรม
5.กองการเจ้าหน้าที่
6.กองตรวจการขนส่งทางบก
7.กองแผนงาน
8.สำนักกฎหมาย(กองนิติการ)
9.สำนักการขนส่งผู้โดยสาร (สำนักงานจัดระเบียบการขนส่งทางบก)
10.สำนักการขนส่งสินค้า (สำนักจัดระบบการขนส่งทางบก)
11.สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1
12.สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2
13.สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
14.สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4
15.สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5
16.สำนักบริหารการคลังและรายได้(กองคลัง)
17.สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
18.สำนักวิศวกรรมยานยนต์(สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย)
19.สำนักงานขนส่งจังหวัด

การยุบเลิก ร.ส.พ.
ในช่วงต้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงการบริหารงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ร.ส.พ. เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจโลจิสติกส์ มีการเสนอให้ ร.ส.พ. ย้ายสำนักงานไปอยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมานายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิก ร.ส.พ. โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน และได้มีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกฯ เป็นผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 รวมระยะที่องค์การฯ ดำเนินการมา 53 ปี

ภายหลังการยุบเลิก ร.ส.พ. ได้มีการเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนเข้ามาทำหน้าที่ขนส่งสินค้าแทน โดยการกล่าวหาว่า การยุบเลิก ร.ส.พ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจขนส่งที่สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ สำหรับที่ดินใจกลางเมือง บริเวณซอยรางน้ำ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี ซึ่งองค์การ ร.ส.พ. ย้ายออกไป ได้เปิดให้บริษัทคิง พาวเวอร์ จำกัด เช่าที่ดินสร้างเป็นศูนย์การค้าคิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์

ป้ายทะเบียนรถในประเทศไทย
กรมการขนส่งทางบก เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคล โดยกำหนดให้ป้ายทะเบียนรถยนต์ทำจากอะลูมิเนียม ขนาด 13.5 x 6 นิ้ว พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขจะถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียนด้วยเช่นกัน ประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้งานรถได้
สำหรับป้ายทะเบียนรถอีกประเภทหนึ่งคือป้ายทะเบียนกราฟิก มีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ฌร 9999 ซึ่งเลขทะเบียนเหล่านี้จะถูกเปิดประมูลโดยกรมการขนส่งทางบก

เตรียมใช้ป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่
เมื่อวันนี้  25 ก.ย. ที่กรมการขนส่งทางบก นายสมชัย  ศิริวัฒนโชค อธิบดีฯ  แถลงข่าวการกำหนดเลขทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์แบบใหม่ โดยจะเริ่มหมวดอักษรจาก 1 กก 1 เรียงตามลำดับ จนถึง 1 กก 9999  และเริ่ม 1 กข 1 จนถึง 1 กข 9999 ต่อด้วย 1 กค 1 ถึง 1 กค 9999  เรื่อยไปจนถึง 1 กฮ 9999 หลังจากนั้น จึงใช้ตัวเลข 2 ถึง 9 นำหน้าหมวดตัวอักษรตามประกาศกำหนดให้กับเจ้าของรถที่ยื่นจดทะเบียน  คาดว่าหมายเลขทะเบียนรถยนต์รูปแบบใหม่นี้จะใช้ได้ 157 ปี เนื่องจากขณะนี้หมวดอักษร ฆฮ  ซึ่งเป็นหมวดสุดท้ายจะหมดลงภายในกลางเดือน ต.ค.นี้    ส่วนจักรยานยนต์คาดว่าจะใช้ได้ 289 ปี ดังนั้นกรมการขนส่งทางบกจึงจะเริ่มใช้หมวดอักษร แบบใหม่   โดยได้มีการประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเรื่องการกำหนดใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถแบบใหม่ดังกล่าวแล้ว

นายสมชัย  กล่าวว่า แผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ และรูปแบบของแผ่นป้ายทะเบียนรถ จากรูปแบบเดิมเล็กน้อย  โดยแผ่นป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างสามล้อ  รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร  รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7คน (รถเก๋ง) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม มีขนาดของแผ่นป้ายเท่าเดิม คือ กว้าง 15 ซ.ม. ยาว 34 ซ.ม. และมีตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม มุมล่างขวา โดยแบ่งเป็นสองบรรทัด

สำหรับตัวเลขและตัวอักษรจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมเล็กน้อย  สำหรับป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลและจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎหมายใหม่นี้จะแบ่งออกเป็นสามบรรทัด บรรทัดแรกเป็นตัวเลขด้านหน้าตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่งและตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง บรรทัดที่สองเป็นตัวอักษรแสดงจังหวัด บรรทัดที่สามเป็นหมายเลขทะเบียนไม่เกินสี่หลัก เป็นต้น  สำหรับประชาชนที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  www.dlt.go.th หรือ สอบถามได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบกหมายเลขโทรศัพท์ 0 2271 8708 หรือ 0 2271 8888 ต่อ 2408  อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวทิ้งทาย

รวมรายชื่อรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,th.wikipedia.org/wiki/กรมการขนส่งทางบก และ dailynews.co.th/businesss/157279


ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก), ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) หมายถึง, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) คือ, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) ความหมาย, ประวัติ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (กรมการขนส่งทางบก) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu