วิสามัญฆาตกรรม
วิสามัญฆาตกรรม, วิสามัญฆาตกรรม หมายถึง, วิสามัญฆาตกรรม คือ, วิสามัญฆาตกรรม ความหมาย, วิสามัญฆาตกรรม คืออะไร
การวิสามัญฆาตกรรมคืออะไร
วิสามัญฆาตกรรม หรือ extrajudicial killing เป็นการที่เจ้าพนักงานฆ่าผู้อื่นตายโดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือฆ่าผู้อื่นตายระหว่างที่เขาอยู่ในความควบคุมของตน โดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
วิสามัญฆาตกรรมนั้น เป็นฆาตกรรมที่เจ้าพนักงานกระทำโดยปราศจากการอนุมัติตามกระบวนการยุติธรรมหรือตามวิถีทางแห่งกฎหมาย เพราะฉะนั้น โดยสภาพแล้ว จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย
วิสามัญฆาตกรรมเกิดขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสามัญในตะวันออกกลาง โดยมากใน ดินแดนปาเลสไตน์ อิสราเอล อิรัก อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ปากีสถาน จาไมกา โคโซโว อเมริกาใต้ อเมริกากลาง รัสเซีย อุซเบกิสถาน ฟิลิปปินส์ และ ประเทศไทย
คำว่า "วิสามัญฆาตกรรม" ในภาษาไทยนั้น ปรากฏใช้ครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เมื่อมีการตรา "พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457" เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2457 โดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่า
การชันสูตรพลิกศพผู้ถูกฆาตกรรม กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้เป็น 2 ชั้น คือ สามัญ ชั้น 1 วิสามัญ ชั้น 1 ผิดกันดังอธิบายต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 ฆาตกรรมอันเป็นวิสามัญนั้น คือ ผู้ตายตายด้วยเจ้าพนักงานฆ่าตาย ในเวลากระทำการตามหน้าที่ ยกตัวอย่างดังเช่น เจ้าพนักงานไปจับผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้าย แลฆ่าผู้ต้องหาว่าเป็นโจรเป็นผู้ร้ายนั้นตายในเวลาจับ ดังนี้เป็นต้น เรียกว่าเป็นเหตุวิสามัญ
ข้อ 2 ฆาตกรรมอันเป็นสามัญนี้ ผู้อื่นแม้เป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าพนักงานกระทำให้ตาย โดยมิได้เกี่ยวแก่กระทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่า เป็นฆาตกรรมอย่างสามัญ
***ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสาม ระบุไว้ว่า
ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น ที่จะมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิสามัญฆาตกรรม, วิสามัญฆาตกรรม หมายถึง, วิสามัญฆาตกรรม คือ, วิสามัญฆาตกรรม ความหมาย, วิสามัญฆาตกรรม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!