ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เภสัชกรคือใคร, เภสัชกรคือใคร หมายถึง, เภสัชกรคือใคร คือ, เภสัชกรคือใคร ความหมาย, เภสัชกรคือใคร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เภสัชกรคือใคร

เภสัชกร คือใคร

เภสัชกร (pharmacist) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา

เภสัชกร จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย

เภสัชกร บางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ("Boots The Chemist")

คุณสมบัติของเภสัชกร

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์
2.มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
3.รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
4.มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
5.ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
6.ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
7.มีความซื่อสัตย์
8.ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา
9.ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้
     -เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
     -เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
     -เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
     ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้
-ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
-สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย

-ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
-สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))




การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้

ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน

ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)

สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
     -การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
     -การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)


หน้าที่ของเภสัชกร

ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
2.การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
3.ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
4.ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
5.ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
6.ปรุงยา (compounding medicines)
7.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
8.ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
9.ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
10.ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
11.ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
12.แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
13.ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
14.จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
15.ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
16.ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
17.ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
18.ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)


ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia สารานุกรมเสรี

เภสัชกรคือใคร, เภสัชกรคือใคร หมายถึง, เภสัชกรคือใคร คือ, เภสัชกรคือใคร ความหมาย, เภสัชกรคือใคร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu