มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน ปกติใช้นำหน้าคำอื่นๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับใจ เช่น
มโนกรรม การกระทำทางใจ
มโนทวาร ทวารคือใจ
มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
มโนรม เป็นที่ชอบใจ
มโน หมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ1.การน้อมจิตเสพเวทนา 2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก) และ3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3 คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)
มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ
อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
ที่มาเนื้อหา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่มาภาพ peterandraes.com