ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การทำเหมืองแร่, การทำเหมืองแร่ หมายถึง, การทำเหมืองแร่ คือ, การทำเหมืองแร่ ความหมาย, การทำเหมืองแร่ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การทำเหมืองแร่


     การทำเหมืองแร่ คือ การสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่บอกไซต์ (สำหรับหลอมเป็นอะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองคำ ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย            วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำ
     อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อไป
     การทำเหมืองแร่ มีการเข้าใจผิดกันอย่างมาก ว่าการทำเหมืองแร่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม ความเป็นจริงแล้ว การทำหมืองแร่ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ ทั้งนี้เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง
     เหมืองแร่เก่าที่ขุดแบบเปิด มักก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุนทรียภาพ ในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทยจึงมีกฎหมายบังคับให้ผู้รับสัมปทานต้องทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญ ตัวอย่างที่ดีในประเทศไทยได้แก่เหมืองแม่เมาะ ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
     ประเภทของการทำเหมืองแร่      - เหมืองครา (Hill mining)      - เหมืองปล่อง (Driffing)      - เหมืองหาบ (Opencast or Open Pit Mining)      - เหมืองแล่น (Ground Slucing)      - เหมืองสูบ (Gravel Pumping)      - เหมืองฉีด (Hydraulicking)      - เหมืองเจาะงัน (Gophering Hole)      - เหมืองเรือขุด (Dredging)      - เหมืองเรือสูบ (Sucking Boat)      - เหมืองละลายแร่ (Solution Mining)      - เหมืองอุโมงค์/เหมืองใต้ดิน (Underground Mining)
    ปัจจุบัน หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการเหมืองแร่ของประเทศไทย คือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม 

     ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทำเหมืองแร่, การทำเหมืองแร่ หมายถึง, การทำเหมืองแร่ คือ, การทำเหมืองแร่ ความหมาย, การทำเหมืองแร่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu