ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever), ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) หมายถึง, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) คือ, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) ความหมาย, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever)


     เมืองไทยกับอากาศร้อน เป็นของคู่กัน ซึ่งตามหลักจะมี 3 ฤดู ร้อน ฝน หนาว แต่จริงๆ แล้วร้อนเกือบทั้งปี ขึ้นอยู่กับว่าปีไหนร้อนน้อยร้อนมากเท่านั้น เดือนมีนาคม - พฤษภาคม เป็นช่วงที่อากาศร้อนมากที่สุดของปี อากาศที่ร้อนอบอ้าวเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้เชื้อโรคต่างๆ เจริญเติบโตได้ง่าย ทำให้ต้องระวังและดูแลสุขภาพให้ดี โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดเกี่ยวกับทางเดินอาหารและน้ำดื่มน้ำใช้นั้นมีมากกว่าปกติ
    ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) หรือไข้รากสาดน้อย       เกิดจากเชื้อ Salmonella typhi เป็นแบคทีเรียชนิดแท่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 106 types เคลื่อนไหวได้ เชื้อ Salmonella typhi ที่ทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์นี้พบเฉพาะในคนเท่านั้น โดยติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ Salmonella
     อาการและอาการแสดงที่สำคัญ      เชื้อ Salmonella มีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยทั่วไปอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ หลังจากร่างกายได้รับเชื้อนี้แล้ว เชื้อจะเข้าสู่เซลล์น้ำเหลืองของลำไส้เล็ก จะเจริญและแบ่งตัวที่นั่น ต่อมาเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่างๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง ท้องเดิน บางรายอาจมีอาการท้องผูก ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ มีไข้สูง และอ่อนเพลีย ในรายที่ไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อนจะมีชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ มักจะเสียชีวิตเนื่องจากเลือดออกในลำไส้เล็กและลำไส้ทะลุ อันตรายที่มักเกิดกับผู้ป่วยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก หากซื้อยาถ่ายมารับประทาน อาจเป็นการกระตุ้นทำให้มีเลือดในลำไส้ออกและทะลุเร็วขึ้น ส่วนในรายที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ไข้จะค่อยๆ ลดลงจนหายเป็นปกติได้ กรณีผู้ป่วยที่หายเองร่างกายจะผอมและทรุดโทรมมาก ต้องใช้เวลานานในการรักษา
     การติดต่อของโรค      เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป อาหารส่วนใหญ่ที่มักพบว่าทำให้เกิดโรค คือ อาหารจำพวกนม ผลิตภัณฑ์จากนม หอย ไข่ เนื้อสัตว์ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถแพร่เชื้อได้จากการขับถ่าย และหากเป็นผู้ประกอบอาหารหรือพนักงานเสิร์ฟอาหาร ก็จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก ผู้ป่วยบางรายจะมีเชื้อในร่างกาย ที่เรียกว่า Carrier สามารถขับเชื้อออกมากับอุจจาระ  และปัสสาวะได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่มีอาการ ถ้าไปประกอบอาหารโดยไม่สะอาดหรือไม่สุก ก็จะทำให้เชื้อไทฟอยด์แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้
     การวินิจฉัย      แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจ เลือด หาร่องรอยของเชื้อนี้ได้ทางห้องปฏิบัติการ และอาจพบเชื้อนี้ได้จากการเพาะเชื้อจากตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรืออุจาระของผู้ป่วย
     การรักษา      1.ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการท้องเดิน หรืออาเจียนเล็กน้อย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรืออาหารเหลว อาจเป็นน้ำชา น้ำข้าว น้ำแกงจืด หรือข้าวต้ม และให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ  เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป    จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมากขึ้น ไข้สูงหรือชัก ควรนำไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย ที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็ว      2.ภายใน 4 ชั่วโมง เริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม หลังจากดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้อาหารและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น       3.หยุดให้น้ำเกลือแร่ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่น ถ่ายน้อยลงแล้วเป็นต้น หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม โดยรับประทานครั้งละน้อยๆ  และเพิ่มจำนวนมื้อ       4.ไม่ควรรับประทานยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น      5.การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
     การป้องกันการเกิดโรค      1.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง      

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever), ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) หมายถึง, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) คือ, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) ความหมาย, ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu