หัตถกรรมเครื่องเงิน
หัตถกรรมเครื่องเงิน, หัตถกรรมเครื่องเงิน หมายถึง, หัตถกรรมเครื่องเงิน คือ, หัตถกรรมเครื่องเงิน ความหมาย, หัตถกรรมเครื่องเงิน คืออะไร
เครื่องเงิน
เงิน คือธาตุชนิดหนึ่ง เป็นโลหะสีขาวมีลักษณะแข็ง สามารถตีแผ่เป็นแผ่นหนาบาง หรือเปลี่ยนรูปทรง และหลอมละลายให้อ่อนตัวได้ มีราคารองลงมาจากธาตุทองคำ เงินพบในธรรมชาติทั่วไป มีทั้งชนิดก้อนและชนิดผงที่ปนอยู่ในทราย มนุษย์รู้จักนำเงินมาใช้ประโยชน์นานพอกับการนำทองคำมาใช้ การทำเครื่องเงินของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินในสมัยอยุธยาเป็นเครื่องประดับสำหรับชนชั้นกลางและเด็กต่างกับเครื่องประดับทองซึ่งเป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูง เช่นกษัตริย์หรือความดีมียศศักดิ์แต่เครื่องเงินที่เป็นภาชนะใส่ของเป็นของใช้สำหรับชนชั้นสูงเช่นกัน โดยเฉพาะเจ้าเมืองทางเหนือของประเทศไทย นิยมใช้ภาชนะเครื่องเงิน การทำเครื่องเงินของชาวเหนือ ในอดีตเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านทำ ใช้เฉพาะในครอบครัว ต่อมาได้แพร่หลายทำกันอย่างกว้างขวาง เงิน 100% คือ โลหะเงินล้วนไม่ผสมกับโลหะอื่นใด มีความอ่อนตัวสูง เงิน 90% คือเงินผสมโลหะอื่น มีความแข้งกว่าเงิน 100% นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการ ความแข็งแรงกว่าเงิน 100% นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการความแข็งแรง เช่น กำไลข้อมือ เข็มขัด กล่องใส่บุหรี่ ถาด พาน
กลวิธีการทำเครื่องเงินสามารถแยกได้ดังนี้คือ
การหุ้ม หมายถึง การตีหรือรีดเงินเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาหุ้มหรือคลุม
1. วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ให้เหมือนว่าวัตถุนั้นทำด้วยเงินทั้งหมด การเลี่ยมคือวิธีหุ้มอย่างหนึ่ง แต่หุ้มเฉพาะขอบ เช่น เลี่ยมพระ เลี่ยมขอบภาชนะเป็นต้น
2. การหล่อหมายถึง การทำแม่พิมพ์ แล้วนำโลหะเงินที่หลอมละลายเทลงในแม่พิมพ์ให้เป็นรูปและลวดลายตามแม่พิมพ์นั้น
3. การดุน หมายถึงการตีหรือรีดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วใช้เครื่องมือกดบนผิวหน้าโลหะให้เกิดเป็นรอยลวดลายเรียกว่า ลายดุนหรือรูปดุน
4. การแกะลาย หมายถึงการทำลวดลายโดยใช้วัตถุมีคม เช่น สิ่ว แกะให้เกิดเป็นลวดลาย ลวดลายที่ได้จากการแกะสลักลายนูน ภาชนะเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่ นิยมทำลวดลายนูนมากกว่ากลวิธีอื่น
5. กะไหล่ หมายถึงการเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทอง โดยการหลอมละลายให้โลหะเงินหรือทองเหลว แล้วนำไปทาหรือเคลือบให้ติดบนโลหะอื่น
6. การคร่ำ หมายถึงการเอาเงินฝังเป็นลวดลายในโลหะเทคนิคการคร่ำมีทั้งโลหะที่เป็นเงินและทองคำ เรียกว่า คร่ำเงินและคร่ำทอง นิยมทำกับภาชนะมีคม เช่น ด้ามมีดหรือปักมีดในสมัยโบราณลวดลายที่นำมาใช้ประกอบกับเครื่องเงิน นิยมประยุกต์จากศิลปะไทย เช่น ลายกระจัง ลายกนก เทคนิคในการทำเครื่องประดับเงินเหมือนกับการทำเครื่องประดับทอง ช่างทำเครื่องประดับเงินได้จะทำเครื่องประดับทองได้เช่นกัน แต่ก็มักจะแยกช่างประจำเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทองไม่ปะปนกัน เพราะช่างทองจะเป็นช่างที่มีความประณีตมากกว่าช่างเงิน
การทำเครื่องเงินของศูนย์ศิลปาชีพ เป็นการทำแบบเคาะขึ้นรูป แบบหล่อ ตกแต่งด้วยการแกะลาย และแบบสานด้วยเส้นเงิน เป็นวิธีการสานเช่นเดียวกับการสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เป็นกระบวนการผลิตแบบพื้นบ้านของชาวนาซึ่งเป็นการผลิต โดยการใช้เครื่องมืออย่างง่ายที่หาได้ในท้องถิ่น ใช้อุปกรณ์ที่เคยใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น อุปกรณ์สำหรับการทุบเคาะขึ้นรูป ใช้ค้อนเหล็ก ค้อนไม้ แท่นเหล็ก อุปกรณ์สำหรับแกะลาย ใช้สิ่ว ลิ่มตอกด้วยค้อน การแกะลายจะทำหลังจากทุบเคาะขึ้นเป็นรูปทรง เห็นโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แล้ว เช่นขันน้ำ ถาดเครื่องเงินของศูนย์ศิลปาชีพมีลักษณะพิเศษกว่าเครื่องเงินโดยทั่วไปคือ เป็นรูปสัตว์ลอยตัว มีทั้งวิธีการตกแต่งแกะเป็นลวดลาย เน้นความละเอียดของลายมีความประณีตที่ขนสัตว์ มีทั้งวิธีบัดกรีต่อประกอบและการฝังอัญมณีซึ่งเป็นการผลิตเครื่องเงินที่เน้นทั้งคุณภาพและความสวยงาม ช่างที่ผลิตต้องเป็นช่างเงินที่มีความชำนาญสูงจึงสามารถทำได้
แหล่งที่มา : https://thailandhandmadebuu.wordpress.com/category/เครื่องเงิน
หัตถกรรมเครื่องเงิน, หัตถกรรมเครื่องเงิน หมายถึง, หัตถกรรมเครื่องเงิน คือ, หัตถกรรมเครื่องเงิน ความหมาย, หัตถกรรมเครื่องเงิน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!