ตกขาว
ปกติช่องคลอดของผู้หญิงจะบุผิวด้วยเยื่อเมือกเหมือนกับที่บุในช่องปากและจมูกที่เรียกว่า mucous membrane ซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อเมือกและความชื้นให้กับช่องคลอดช่องคลอดจะมีฤทธิ์เป็นกรดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยจะเริ่มสร้างเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจนกระทั่งวัยทอง ลักษณะของตกขาวในคนปกติจะมีลักษณะ เมือกขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น หรืออาจจะมีกลิ่นหวาน ไม่คัน
ปริมาณตกขาวจะขึ้นกับแต่ละคน ตกขาวจะมีมากช่วงที่ไข่ตกอยู่ระหว่างวันที่ 14 ของรอบเดือน นอกจากนั้นขณะตั้งครรภ์ก็จะพบว่าตกขาวมากจนบางครั้งอาจจะเหนียวหนืด การกระตุ้นทางเพศสัมพันธ์ก็จะมีการหลั่งน้ำออกมาหล่อลื่นมาก หลังจากมีกิจกรรมทางเพศก็มีตกขาวเป็นปริมาณมาก การใช้ยาคุมกำเนิดก็ทำให้ตกขาวเพิ่ม
ลักษณะผิดปกติของตกขาว
การติดเชื้อในช่องคลอดมักจะมีอาการตกขาว คัน และมีกลิ่นคาวออกมา เชื้อที่เป็นสาเหตุของการอักเสบในช่องคลอดได้แก่ trichomoniasis (สาเหตุจากเชื้อ T. vaginalis),การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด bacterial vaginosis (โดยการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเช่น anaerobic microorganisms, mycoplasmas, and Gardnerella vaginalis แทนเชื้ออื่น),และเชื้อรา candidiasis ลักษณะที่สำคัญ คือ
ควรจะพบแพทย์ตรวจเมื่อไร
การวินิจฉัยสาเหตุของโรคตกขาว
1. นำตกขาวมาตรวจหาความเป็นกรดหาก pH<4.5 โรคที่เป็นสาเหตุได้แก่ Bacterial Vaginosis or trichomoniasis
2. นำตกขาวมา 1 หยดละลายด้วยน้ำยา KOH หากได้กลิ่นปลาน่าจะเป็นโรค Bacterial Vaginosis
3. นำslide ในข้อ 2 ไปส่องกล้องหากพบใยๆ ก็เป็นการติดเชื้อรา
4. นำตกขาว 1 หยดเจือจางด้วยน้ำเกลือแล้วไปส่องกล้องจะเห็นตัวเชื้อ trichomoniasis หรือ Bacterial Vaginosis
การป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด
ประจำเดือนผิดปกติ
ประจำเดือน คือ เลือดที่ออกจากโพรงมดลูกเป็นรอบๆ ห่างกันทุก 28 วัน ผิดพลาดได้ไม่เกินบวกลบ 7 วัน หมายความว่า บางเดือน หรือ ของบางคน รอบของประจำเดือนอาจจะเป็น 21 วัน 22 วัน หรือ 30 วัน 35 วันก็ได้ ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะเวลาที่มีเลือดประมาณ 2-7 วัน ปัจจัยที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม เชื้อชาติ สิ่งแวดล้อม แสงสว่าง ความอ้วน ผอมของร่างกาย สุขภาพทั่วไป รวมถึงสภาวะทางจิตใจ
รอบเดือนจะถูกควบคุมด้วยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด และต่อมที่อยู่บริเวณฐานสมองจะเป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเจริญ และการตกไข่ของไข่ที่สุก ระยะเวลาหลังจากไข่ตกจนเริ่มมีประจำเดือนนี้จะค่อนข้างคงที่ คือประมาณ 14 วัน ดังนั้นรอบเดือนจะยาว หรือสั้น จึงขึ้นกับระยะเวลาที่ไข่เจริญเติบโตมากกว่า ถ้าใช้เวลาเพียง 10 วัน รอบเดือนจะแค่ 24 วันเท่านั้น แต่ถ้าใช้เวลา 14 วัน รอบเดือนจะเท่ากับ 28 วัน การนับรอบเดือนนี้ทางการแพทย์นับจากวันแรกที่เริ่มมี ประจำเดือนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนรอบถัดไป การจดบันทึกวันแรกของการมีประจำเดือน จะช่วยคาดคะเนวันตกไข่ได้ เลือกมีเพศสัมพันธ์ให้ถูกจังหวะ หากอยากมีบุตร และเมื่อตั้งครรภ์ก็จะสามารถคำนวณอายุครรภ์ได้ถูกต้อง หรือไม่ต้องการมีบุตรก็คุมกำเนิด โดยวิธีนับวันได้ถูกต้อง
ประจำเดือนของผู้หญิงนั้น เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นวงจรในแต่ละรอบเดือน รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งของผู้หญิงจะเกิดการตกไข่ขึ้น ไข่ที่โตเต็มที่จะตกจากรังไข่เข้าไปรอตัวอสุจิอยู่ในส่วนปลายของท่อนำไข่ ขณะเดียวกัน เปลือกไข่ที่เหลืออยู่ ก็จะทำการสร้างฮอร์โมนเพศที่เรียกว่า โปรเจสเตอโรน มาทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนานุ่ม มีเลือดมาเลี้ยงมาก เพื่อเตรียมตัวรับกับไข่ที่ถูกปฏิสนธิจากตัวอสุจิ ถ้ามีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจริง ตัวอ่อนก็จะเดินทางกลับเข้ามา ฝังตัวในโพรงมดลูก ในเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมเอาไว้ และทำการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า HCG ไปบำรุง เปลือกไข่ให้ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มากระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้เจริญต่อไป เพื่อเป็นแหล่งส่งอาหารต่อให้ทารกในครรภ์
ในกรณีนี้ก็จะไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกออกไปเป็นประจำเดือน ประจำเดือนที่เคยมาเป็น สม่ำเสมอ ก็จะขาดหายไป หากตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือด หาระดับของฮอร์โมน HCG ก็จะได้ผลบวก คือ ตั้งครรภ์ แต่ถ้าไม่เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับตัวอสุจิขึ้น ไข่ใบนั้นก็จะฝ่อไปภายใน 48 ชั่วโมง ไม่มีการสร้างฮอร์โมนไปประคับประคองเปลือกไข่ไว้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะมาบำรุงเยื่อบุโพรงมดลูกก็ไม่มี เยื่อบุโพรงมดลูกก็จึงหลุดลอกตัว ออกมาเป็นเลือดประจำเดือน
สาเหตุของการมีประจำเดือนผิดปกติ
ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของการมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือประจำเดือนออกมาก มักเกิดจากการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ เรียกว่าภาวะประจำเดือนออกผิดปกติ (Dysfunctional
uterine bleeding หรือ DUB)
สาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน
- โรคเบาหวาน, ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ ;หรือต่อมใต้สมอง(Pituitary) หรือความผิดปกติอื่นๆ
- อ้วนมากเกินไป
- ภาวะเครียด
- การออกกำลังกายหนักเกินไป
- ความผิดปกติของการทานอาหารบางอย่าง เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia nerversa)
เนื้องอกของมดลูก : ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกประเภทนี้มักเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ค่อยมีเนื้อร้าย ซึ่งนอกจากทำให้มีเลือดออกผิดปกติแล้ว ยังอาจทำให้รู้สึกปวดหรือถ่วงในท้องน้อยได้ด้วย
สาเหตุอื่นที่พบไม่บ่อยเช่น
1. การตั้งครรภ์นอกมดลูก
2. ผลจากยาบางอย่าง เช่น ยาประเภทฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิด
3. มีโรคที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
4. การติดเชื้อ หรือมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
5. ปัญหาจากการใส่ห่วงอนามัย
6. เยื่อบุช่องคลอดที่บางและเกิดแผลอักเสบง่าย
ความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดเป็นสิ่งที่ควรระวังสังเกต และติดตามผลกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งที่ไม่ควรจะเป็นก็คือ อย่ากังวลเกินเหตุ หรือระแวงไปก่อนล่วงหน้าเพราะจะทำให้เครียด และทำให้ ฮอร์โมนที่อาจจะปกติอยู่กลับผิดปกติไป ทางที่ดีที่สุดคือไปพบคุณหมอตรวจหาสาเหตุ โดยทั่วไปหมอจะซักประวัติคุณทั้งเรื่องของอาการ การคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ ภาวะจิตใจ ตลอดจนประวัติผิดปกติของประจำเดือนของสมาชิก ในครอบครัวเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยร่วมกับการตรวจร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ
วิธีลดปวดประจำเดือน
อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการมีประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใด ๆ เพียงแต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณผู้หญิงบางคน ที่มดลูกมีการบีบรัดตัว อย่างรุนแรง เท่านั้น จึงไม่มีอะไรที่น่าวิตกกังวล เว้นเสียแต่ว่าจะมีการปวดถ่วงอย่างรุนแรง บริเวณท้องน้อย ซึ่งหากปวดมาก ๆ จนไม่เป็นอันกินอันนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เพราะการปล่อยให้อาการปวดประจำเดือนรุมเร้า ทุกครั้งที่มีประจำเดือน โดยไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธีนั้น อาจส่งผลเสียต่อ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างมากได้
การรับประทานยาแก้ปวด พื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เป็นหนึ่งวิธีที่พบได้บ่อย ๆ ซึ่งก็ใช้ได้ผล แต่การสะสมของยาแก้ปวดในร่างกาย อาจส่งผลต่อกระบวนการ การทำงานของตับ และยังอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อม จึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ และเหมาะสม นอกเหนือนั้น ยังควรคำนึงถึงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ บางประการ ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความรู้สึกที่ดีขึ้นในระหว่างที่มีรอบเดือน นั่นคือ ควรพิถีพิถัน กับการทำความสะอาดร่างกายให้มากกว่าปกติโดยเฉพาะบริเวณ "จุดซ่อนเร้น"ขณะเดียวกันก็ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายในขณะที่มีประจำ เดือน คือ ไม่ใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือคับจนเกินไป เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมวดหมู่ งดดื่มน้ำ เย็นจัด ๆ รวมถึงทำใจให้สบาย ทำอารมณ์ให้สดชื่น แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท
แหล่งที่มา : https://www.phyathai.com