พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมายถึง, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คือ, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ความหมาย, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คืออะไร
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (พระนามเดิม เครือแก้ว อภัยวงศ์ ธิดาพระยาอภัยภูเบศร) ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง
แต่หลังจากประสูติได้เพียงหนึ่งวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จสวรรคตอย่างไม่คาดคิด ทั้งที่ทรงเตรียมการรับขวัญพระหน่อพระองค์แรกอย่างจดจ่อ ดังเช่นพระราชนิพนธ์บทกล่อมบรรทมสำหรับสมโภชเดือนพระราชกุมารประกอบเพลงปลาทองไว้ล่วงหน้า และทรงปรับปรุงพระราชนิพนธ์ละครรำเรื่องพระเกียรติรถ ตอนที่ 1 ให้เป็นละครดึกดำบรรพ์ เพื่อที่จะได้ทรงจัดแสดงในพระราชพิธีสมโภชเดือนของพระหน่อ
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อ จึงทรงรับดูแลพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเลือกพระนามพระราชทานไว้ 3 พระนาม คือ
สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี
สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี
สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พร้อมกันนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ยังทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ออกคำนำพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" ตามพระฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ซึ่งหมายถึงหลานที่เป็นลูกเกิดแต่พี่ชาย จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์ ได้ทรงออกคำนำหน้าพระนามให้เป็น "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ" มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ให้คงคำนำหน้าพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ไว้ตามเดิม เนื่องจากคำว่า "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ" แปลความหมายได้ทั้งพระเจ้าพี่นางเธอ และพระเจ้าน้องนางเธอ
ครั้งทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงประทับที่ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ในพระบรมมหาราชวัง ก่อนที่จะทรงย้ายมาประทับ ณ พระตำหนักสวนหงษ์ พระราชวังดุสิต ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางกว่า ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นห่วงว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ จะไม่มีสถานที่ผ่อนคลายอิริยาบถ แต่หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงย้ายที่ประทับอยู่ตลอดเวลา เพราะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โปรดให้สร้างตำหนักใหม่ขึ้นเป็นส่วนพระองค์บนที่ดินหัวมุมถนนราชสีมาตัดกับถนนสุโขทัย ซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ในอดีต และประทานนามว่า สวนรื่นฤดี
เมื่อเจริญวัย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้เสด็จไปทรงพระอักษร ณ โรงเรียนราชินี แต่ได้ทรงลาออกขณะที่ทรงพระอักษรในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อทรงพระอักษรต่อ ณ สวนรื่นฤดี โดยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ทรงจ้างครูมาถวายพระอักษรวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาวรรณคดีไทย รวมทั้งโปรดให้ศึกษาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
ด้วยความที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงมีพระพลานามัยไม่สมบูรณ์นัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงมีพระราชดำริให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เสด็จไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ และรักษาพระองค์ ณ ต่างประเทศ โดยในปี พ.ศ.2480 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ทรงนำเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ไปประทับรักษาพระพลานามัย ณ ประเทศอังกฤษ และให้ทรงพระอักษรวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และเปียโนกับอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทางเปียโนเป็นอย่างยิ่ง และยังโปรดการลีลาศ ขับร้องเพลงไทย และสากล
นอกจากนี้ พระจริยวัตรส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ก็ทรงงดงาม ทรงมีพระอุปนิสัยเคร่งครัด ตรงต่อเวลา แม้จะเจริญพรรษาที่ต่างประเทศ แต่ก็ทรงโปรดความเรียบง่าย ไม่ถือพระองค์ และนิยมความเป็นไทย ทรงโปรดเครื่องใช้รวมถึงฉลองพระองค์ที่ผลิตในประเทศไทย และทรงรับสั่งภาษาไทยอย่างถูกต้องชัดเจนเสมอ อีกทั้งยังทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2500 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างวังในซอยสุขุมวิท 38 จากนั้นได้เสด็จกลับประเทศอังกฤษ และเมื่อพระพลานามัยดีขึ้น ประกอบกับสภาวการณ์ในประเทศไทยกลับสู่ปกติแล้ว สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ จึงได้เสด็จกลับมาประเทศไทยเป็นการถาวรเมื่อปี พ.ศ.2502 โดยทรงประทับ ณ วังรื่นฤดี เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 38 กรุงเทพมหานคร ตราบกระทั่งปัจจุบัน
ต่อมา ด้วยพระชันษาที่มากขึ้น ทำให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ประชวรด้วยอาการตามพระชันษา คณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชจึงได้เฝ้าระวังพระอาการอย่างใกล้ชิด ในเวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเริ่มมีพระอาการเส้นพระโลหิตอุดตัน ทำให้ทรงขยับพระวรกายด้านซ้ายยากขึ้น คณะแพทย์จึงได้ถวายพระโอสถ และมีนางพยาบาลถวายการดูแล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระองค์จะทรงรับสั่งได้น้อยลง แต่ก็ทรงเข้าพระทัยทุกอย่างเป็นอย่างดีด้วยการพยักพระพักตร์
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเข้าประทับรักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยมีคณะแพทย์ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถ แต่อาการพระประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จะได้สิ้นพระชนม์ เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที ของวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สิริรวมพระชันษา 85 ปี
พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมายถึง, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คือ, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ความหมาย, พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!