แสม เป็นพืชที่ขึ้นตามบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระดับน้ำทะเลท่วมถึง ในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด เรียกว่า ป่าชายเลน
แสมเป็นพืชที่ขึ้นตามบริเวณชายฝั่งทะเล และมีน้ำทะเลท่วมถึง แสม มี 3 ชนิด คือ แสมขาว แสมดำ แสมทะเล ลักษณะทั่วไป ของต้นแสมประกอบด้วย ใบ บริเวณเซลล์ผิวในมีผนังหนาเป็นแผ่น มีปากใบ (Stoma) ที่ผิวใบด้านล่างป้องกันการระเหยของน้ำ นอกจากนี้ที่ใบยังมีต่อมขับเกลือ (Saltgland) ช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืช โดยขับออกทางใบ ราก แสมเป็นพืชที่ขึ้น อยู่ในบริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึง จึงมีรากพิเศษเรียกว่า รากหายใจโผล่จากดินหรือโคลน เมล็ดแสมมีรากแก้วเป็นขนแข็งและงอนขึ้น จึงสามารถยึดเหนี่ยวดินไว้ได้แน่น ทำให้ต้นอ่อนทนทานกระแสน้ำ และคลื่นเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่เมล็ดจะงอกก่อนที่จะร่วงหล่นจากต้น เมื่อหล่นลงดินแล้วเมล็ดก็จะแตก รากหยั่งลงดินได้ทันที การแพร่กระจายของเมล็ดอาศัยน้ำเป็นสื่อโดยต้นอ่อนหรือผลแก่สามารถลอยน้ำได้
ประโยชน์
แสมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ตามป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ เป็นฉากกำบังป้องกันพายุ คลื่น ลมกัดเซาะชายฝั่ง ปัจจุบันป่าชายเลนได้ถูกทำลายลงมาก โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 4 หมื่นไร่ เราทุกคนจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้
ประโยชน์ทางสมุนไพร แก่นแสมมีรสเค็มเฝื่อนต้มกับน้ำแก้กษัย โดยมากจะต้มรวมกับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดเสียของสตรี
สกุลไม้แสม ที่เด่นๆ มี 4 ชนิดคือ
P แสมทะเล ( Avicennia marina ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่พบมากในพื้นดินงอกใหม่และที่ดินเลนปนทรายมีใบสีเหลืองอ่อนห่อกลับเข้ามาเหมือนหลอดกลมๆ โชว์ให้เห็นท้องใบสีขาวนวล
P แสมขาว ( Avicennia alba ) มักขึ้นปะปนกับแสมทะเลที่พื้นดินเลนปนทราย ลักษณะเด่นที่สะดุดตาแต่ไกลคือใบที่ละเอียดเล็กเป็นสีขาว-บรอนซ์ ดอกสีเหลือง ผลรูปไข่ยาวคล้ายผลพริกชี้ฟ้า
P แสมดำ ( Avicennia offcinalis ) ผลรูปไข่ ปลายเป็นจะงอย ใบเป็นรูปไข่กลมป้อม ปลายใบมน หลังใบเป็นมันท้องใบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่
P สำมะงา ( Clerodendrum inerme ) เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ขอบใบเรียบไม่มีหนาม กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนบนแยกออกเป็นกลีบสั้นๆขนาดเท่ากัน
ที่มา https://kanchanapisek.or.th/kp8/cbr/cbr709.html
https://www.talaythai.com/Education/42620252e/42620252e.php3