ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กิ้งกือ, กิ้งกือ หมายถึง, กิ้งกือ คือ, กิ้งกือ ความหมาย, กิ้งกือ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กิ้งกือ

          กิ้งกือ (Millipede) เป็นสัตว์มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บก ไม่มีกระดูกสันหลัง บนโลกใบย่อมลูกนี้มีมากถึง 10,000 ชนิด (สปีชีส์) สำหรับบ้านเราจากการสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด มักจะเห็นบ่อยครั้งตามถนนหนทาง ชายป่า สวนครัว ป่าละเมาะ เขาหินปูน เป็นกิ้งกือตัวใหญ่ ทรงกระบอก หรือกิ้งกือหนอน มีลักษณะสีออกแดงๆ หรือสีน้ำตาล
 
          กิ้งกือ จัดอยู่ในอณาจักรสัตว์ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) จัดอยุ่ในไฟลัม อาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อย Myriapoda ชั้น Diplopoda  กิ้งกือมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกอาร์โธรโพดามีรูปร่างที่แน่นอน

          โดยรูปร่าง เป็น ส่วนหัว มีตาอยู่ด้านข้าง (ยกเว้นกิ้งกือถ้ำจะไม่มีตา) และ ลำตัว ลักษณะขาข้อ (arthropods) หนวดสั้น ปาก 2 ส่วน บนล่างเพื่อใช้เคี้ยวและกด ลำตัวยาว มีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง ผิวมันแข็งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน โตเต็มที่นับปล้องได้ ประมาณ 100-200 ปล้อง ขนาดลำตัวยาว 2 มม. ถึง 30 ซม.

          เริ่มผสมพันธุ์ เมื่ออายุ 1 ปี ซึ่งตัวผู้ กับตัวเมียจะม้วนเกี่ยวรัดเป็นเกลียว จากนั้น 1 สัปดาห์ เพศเมียจะหาที่ ฝังไข่ซึ่งเป็นตามมูลซอกดิน ครั้งหนึ่งออกประมาณ 100-200 ฟอง ใช้เวลา 10 วัน ลูกกิ้งกือวัยอ่อนจะเหมือนแมลง มี 6 ขา จะเริ่มทยอย ขึ้นสู่หน้าดิน เพื่อหากินซากใบไม้ป่นเป็นอาหาร ในช่วงยามกลางคืน

          พอมันโตจึงเริ่มหันมากินไม้ผุ ขอนไม้ ใบไม้เน่า ซึ่งมีเชื้อรา แบคทีเรีย พร้อมกับ ถ่ายมูลเป็นก้อนคล้ายยาลูกกลอน เต็มไปด้วย จุลินทรีย์ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน และการช่วยย่อยสลายซากในระดับต้นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเสมือน

กิ้งกือ นักอนุรักษ์ธรรมชาติ

"กิ้งกือ" นักอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะมันคือโรงงาน ปุ๋ย...เคลื่อนที่

          ช่วงฝนตกเกือบทุกวันเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติของเหล่าบรรดา มด แมลง สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งหลาย จะ

พิษของกิ้งกือ

          สารพิษของกิ้งกือ มีไว้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรู ลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี พิษทำให้ผิวหนังไหม้เป็นสีเหลืองน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลภายใน 24 ชั่วโมง แผลไหม้ มีอาการปวดอยู่ประมาณ 2 วัน ทำให้เกิดการระคายเคือง ถ้าสารพิษเข้าตาอาจทำให้ตาอักเสบได้ 

          สารที่กิ้งกือปล่อยออกมานั้น จะเป็นพวก HCN ไอโอดีน หรือ ฟีนอล มีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นฉุน มีสารที่สำคัญได้แก่ Benzoquinone ซึ่งถ้าดมกลิ่นจะมีกลิ่นเหมือนน้ำยาฆ่าเชื้อ พวกลิงหรือสัตว์ป่าทั้งหลายจะใช้กิ้งกือเหล่านี้ถูตัวเพื่อช่วยไล่ยุงได้

          การรักษาพิษของกิ้งกือ ทำได้โดยการล้างแผลบริเวณที่ถูกกัด แล้วใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษออก ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากพิษเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำอุ่น และปรึกษาจักษุแพทย์ทันที



 


กิ้งกือ, กิ้งกือ หมายถึง, กิ้งกือ คือ, กิ้งกือ ความหมาย, กิ้งกือ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu