หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ
หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ หมายถึง, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ คือ, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ ความหมาย, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ คืออะไร
E.M.layman เขียนไว้ว่า "ชาวกรีกเป็นพวกที่ทำรูปจำลองของพระพุทธรุ่นแรก ฯ ขึ้น และชาวพุทธมักจะอ้างว่า รูปเหล่านั้นมีไว้ไม่ใช่เพื่อนมัสการ เป็นเพียงการเสริมความเลื่อมใสศรัทธา ออกแบบไว้เพื่อแสดงความเคารพองค์พระศาสดา.บางครั้งจึงจะเห็นพระพุทธรูปอยู่ลักษณะยืน แต่ส่วนมากจะอยู่ในลักษณะนั่งขัดสมาธิหงายฝ่าเท้า. เมื่ออยู่ในู่ท่าวางมือซ้อนกัน นั่นแสดงว่ากำลังเข้าฌาน.ท่ายกมือขวาขึ้นจรดคาง แสดงว่ากำลังให้พร และเมื่อนิ้วหัวแม่มือขวาจรดกับนิ้วชี้้ หรือ พนมมือตรงหน้าอก ก็หมายถึงกำลังแสดงธรรมเทศนา. ท่าเอนกายนอน แสดงว่าพระองค์อยู่ในภาวะเข้าสู่นิพพาน.
เนื่องจากที่มีลักษณะการวางท่าทางต่าง ฯ กันฉันใด คำสอนของพระองค์ก็ย่อมแตกต่างหลากหลายเช่นกันฉันนั้น.กล่าวกันว่าในช่วง 200 ปีหลังจากพระองค์ดับขันธ์ ศาสนาพุทธได้แยกเป็นนิกายต่าง ฯ อยู่แล้วถึง 18 นิกาย.ปัจจุบัน นับตั้งแต่ การตรัสรูู้้้ ของพระโคตมะผ่านมาถึง 25 ศตวรรต การชี้แจงวิธีจะบรรลุนิพพานในพุทธศาสนาจึงมีหลายทาง.
เอริด ชึดเคอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเลเคนประเทศเนเธอร์แลนด์ อธิบายว่า "มีหลักพื้นฐานอยู่สามประการในการบำเพ็ญตนในศาสนาพุทธ แต่ละประการก็ให้แนวคิดต่อหลักคำสอนเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่ พิธีกรรมทางศาสนา คัมภีร์ศักดิ์สิทธ ิ์และ ธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับรูปบูชา" แนวปฏิบัติเหล่านี้ตามการพูดของชาวพุทธเรียกว่า ยาน เพราะเปรียบได้กับเรือบรรทุกคนข้ามฟากที่แสดงนัยว่า คนนั้นจะข้ามแม่น้ำแห่งชีวิตกระทั่งลุถึงการหลุดพ้้น และได้ละยานนั้นไว้เพราะปลอดภัยแล้ว. และชาวพุทธจะบอกว่าวิธีการเดินทางก็ดี-ชนิดของยานก็ดี-ไม่มีความสำคัญ แต่การบรรลุถึงจุดหมายนั่นเองเป็นเรื่องสำคัญ.
ยาน เหล่านี้รวมทั้งนิกาย หินยาน ( เถรวาท ) ซึ่งดูเหมือนจะใกล้เคียงกับที่พระพุทธเจ้าได้สอนและมีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะใน พม่า กัมพูชา ไทย ลาว ศรีลังกา. ส่วนนิกายมหายานก็จะมีอิทธิพลมากในจีน เกาหลีี ญี่ปุ่น ธิเบต และมองโกเลีย นั้นได้เปิดทางไว้กว้างกว่า ปรับคำสอนเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงได้มากกว่า. ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็น ยานที่ใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับหินยาน (เถรวาท) หรือยานที่เล็กกว่า. อีกอันหนึ่งคือ วัชรยาน หรือที่เรียกว่า "ลัทธิพุทธตันตระ" หรือพุทธที่เป็นการลับเฉพาะ ซึ่งได้นำเอาพิธีทางศาสนาควบกับการฝึกโยคะ และคิดเอาว่าจะเร่งให้บรรลุนิพพานได้เร็วขึ้น.
สามลัทธิเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นหลายสำนัก แต่ละสำนักก็จะต่างกันไปในด้านการตีความหลักคำสอนพื้นฐานบางอย่่าง หลายครั้งเนื่องจากมีการเน้นบางส่วนจากคัมภีร์พุทธเป็นพิเศษนั่นเอง. และดังที่ซึคเคอร์กล่าวไว้ ไม่ว่าศาสนาพุทธได้แพร่ไปถึงไหน "ศาสนาก็ได้รับอิทธิพลในระดับต่าง ฯ กันเพราะความเชื่อและกิจปฏิบัติในท้องถิ่น" ต่อมาสำนักเหล่านี้ก็ทำให้เกิดกลุ่มย่อย ฯ ขึ้นในท้องถิ่นอีกมากมาย. ไม่ต่างกันกับคริสต์ศาสนจักร ที่ประกอบด้วยนิกายและกลุ่มย่อยที่ยุ่งเหยิงนับพัน ฯ พระพุทธหากพูดในเชิงอุปมาแล้วก็มีหลายรูปลักษณ์.
บางรูปลักษณ์ที่รู้จักกัน
ยอดเขาของอาดาม คือภูเขาลูกหนึ่งในศรีลังกา ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ รอยบนหินนั้นชาวพุทธพูดกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาท ชาวมุสลิมถือว่าเป็นรอยเท้าของอาดาม และชาวฮินดูว่าเป็นรอยเท้าพระศิวะ.
วิหารพระทนต์ วิหารของชาวพุทธในเมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา ลือกันว่าเป็นที่เก็บพระทนต์ของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นพระธาตุุศักดิ์ิสิทธิ์.
ต้นโพธิ์ ใต้ต้นโพธิ์ที่พระโคตมะได้เป็นพระพุทธเจ้า โพธิ์ หมายความว่า การรู้แจ้ง และว่ากันว่า
หนอของต้นนั้นยังมีอยู่ และจึงเป็นที่สักการะในเมืองอนุรัฐปุระ ประเทศศรีลังกา.
ดาไล ลามะ ผู้นำโลกและศาสนาแห่งธิเบต ชาวพุทธถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าจุติมา ท่านถูกขับออกนอกประเทศเมื่อปี 1959 คำ "ดาไล" มาจากภาษามาองโกเลียแปลว่า "มหาสมุทร" ชี้ว่ามีความรู้กว้างขวาง ส่วนคำ "ลามะ" ขี้ถึงผู้สอน (คล้ายกับคำ คุรุ ในภาษาสันสกฤต ) ตามที่ข่าวรายงานไว้ ในการเดินขบวนของชาวธิเบตเมื่อปี 1987 ดาไล ลามะ ได้ให้พรแก่พลเมืองที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งรัฐบาล แต่ก็ประณามความรุนแรง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศอินเดีย ซึ่งดาไล ลามะ เข้าไปลี้ภัยนั้น ต้องเตือนว่า การแถลงทางการเมืองอาจเป็นผลร้ายต่อการอาศัยในประเทศนั้น.
พระสงฆ์ สังเกตุได้จากสบงที่เด่นสะดุดตา ถือเป็นปัจจัยสำคัญของศาสนาพุทธ พวกสงฆ์จะปฎิญานตนเป็นผู้ซื่อสัตย์ จะเมตตาสงสารมนุษย์และสัตว์ จะออกบิณฑบาทเพื่อยังชีพ ละเว้นการชมมหรสพ และถือพรหมจรรย์.
ศรัทธานิยมในมหาชน
ผู้คนพร้อมจะตอบรับศาสนาพุทธตั้งแต่แรกเริ่ม กลุ่มที่เรียกว่า "ชาร์วากาล์" ได้เตรียมทางไว้เสร็จสรรพในสมัยนั้น.เมื่อพวกเขาไม่ยอมรับบทจารึกของฮินดู และเยาะเย้ยการเขื่่อถือพระเจ้า พวกนี้มีอิทธิพลมากจนก่อให้เกิดข่องว่างสำหรับศาสนาใหม่ ช่องว่างนี้รวมกับ ความเสื่อมถอยทางปัญญาของศาสนาเก่า ได้ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของกลุ่มที่ดำเนินการปฎิรูปทางศาสนากลุ่มใหญ่ ฯ สองกลุ่มในสมัยนั้น คือศาสนาพุทธและเซน.
ในตอนกลางศตวรรษที่สามก่อนคริสกาล กษัตริย์อโศกผู้ซึ่งแผ่อำนาจปกครองทั่วทั้งชมพูทวีป ผู้นี้ได้ดำเนินราชกรณียกิจมากมายในด้านการแพร่พุทธศาสนา. พระองค์ทรงส่งเสริมกิจการด้านนี้โดยส่งผู้ประกาศศาสนาไปยังศรีลังกา และเป็นได้ว่าไปยังประเทศอื่นด้วย พอถึงศตวรรษแรกสากลศักราช ศาสนาพุทธก็แพร่ไปถึงจีน.จากที่นั่นก็แพร่ไปในญี่ปุ่นผ่านเกาหลี.ครั้นถึงศตวรรษที่หก-เจ็ด พุทธศาสนาก็เข้าไปในภูมิภาคต่าง ฯแถบเอเชียบูรพาและเอเชียอาคเนย์ ทุกวันนี้อาจมีชาวพุทธมากถึง 400 ล้านคนทั่วโลก.
แม้แต่ก่อนสมัยกษัตริย์อโศก ศาสนาพุทธก็ขยายตัวอยู่แล้ว. E.M.layman เขียนว่า "ในตอนปลายศตวรรษที่สี่ก่อนคริสตกาล มีการพบว่าผุ้ประกาศศาสนาพุทธได้เข้าไปในเอเธนส์" เขาเสริมอีกว่า หลังจากมีการก่อตั้งศาสนาคริสเตียนขึ้นมา พวกที่สอนศาสนาคริสต์รุ่นแรก ฯ ได้ไปเห็นหลักคำสอนศาสนาพุุทธมีแพร่อยู่ทั่วทุกแห่ง. อันที่จริง เมื่อผู้เผยแพร่ลัทธิคาทอลิค ไปถึงญี่ปุ่นครั้งแรก.ประชาชนที่นั่นได้เข้าใจผิดว่าเป็นพวกเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายใหม่.เพราะได้เห็นว่า
สองศาสนานี้เหมือนกันในหลายด้าน.อย่างที่นักประวัติศาสตร์ วิลล์ ดูแร้นส์ บอก "การแสดงความเคารพต่อสิ่งของที่ระลึก การใช้น้ำมนต์ เทียน เครื่องหอม ลูกประคำ เสื้อคลุมเข้าพิธีของนักบวช การใช้ภาษาที่เลิกใช้กับพิธีกรรม การมีสงฆ์และชี การปลงผม และการครองเพศพรหมจรรย์ การสารภาพผิด วันอดอาหาร การยกย่องนักบุญ สถานที่ชำระบาป การสวดเพื่อคนตาย" เขาเสริมว่า "สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเริ่มก่อนจากศาสนาพุทธ" ที่จริงว่ากันว่าศาสนาพุทธล้ำหน้าคริสตจักรโรมันถึงห้าศตวรรษ. ในการคิดอย่างมีแบบแผนและพิธีต่าง ฯ ซึ่งใช้กันเกร่ออยู่ในสองศาสนานี้.
กระนั้น แม้ศาสนาพุทธจะมีอิทธิพลอยู่ทั่วโลก แต่สำหรับถิ่นกำเนิดแล้วกลับไม่เป็นที่นิยมมากนัก.ทุกวันนี้ ี้ ี้ประชากรอินเดียที่เป็นชาวพุทธมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซนต์์ เนื่องจาก 85 เปอร์เซนต์เป็นฮินดู.สาเหตุำไม่แน่ชัด.....อาจเป็นได้ว่าศาสนาพุทธเปิดช่องกว้างจนถูกกลืนหายเข้าไปในศาสนาฮินดูที่เคร่งประเพณีกว่า
หรืออาจเพราะพระสงฆ์ในศาสนาพุทธเฉื่อยช้าในการดูแลเหล่าฆราวาส.แต่ไม่ว่าจะสาเหตุใด ....ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการแพร่ศาสนาอิสลามเข้าไปในอินเดีย ที่ทำให้ประชาชนมากมายที่อยู่ใต้การปกครองของมุสลิม โดยเฉพาะในอินเดียตอนเหนือเปลี่ยนมาถืออิสลาม. ที่จริง พอถึงปลายศตวรรษที่สิบสามสากลศักราช พลเมืองอินเดียมากถึงหนึ่งในสี่เป็นชาวมุสลิม.ขณะเดียวกันชาวพุทธจำนวนมากก็หันกลับไปถือฮินดูีอีก คงเพราะเห็นชัดว่าฮินดูนั้นมีการเตรียมพร้อมดีกว่าในการรับมือกับการจู่โจมของพวกมุสลิม. และเพื่อสมกับที่ได้ชื่อว่ามีใจกว้าง พวกฮินดูจึงต้อนรับพวกเขากลับมาด้วยความพอใจ ทำให้การกลับคืนของพวกเขาทำได้อย่างงายดายด้วยการประกาศว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระองค์หนึ่ง โดยเป็นพระวิษณุอวตารมา.
หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ หมายถึง, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ คือ, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ ความหมาย, หลายรูปลักษณ์ของศาสนาพุทธ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!