เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบเลือดที่เกิดจากากรที่เซลล์เม็ดเลือดขาวใน ไขกระดูกเติบโตผิดปกติ ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากในกระแสเลือด ทำให้การทำงานของระบบเม็ดเลือดเสียไป อาจเป็นแบบเฉียบพลัน (Acute leukemia) หรือเป็นแบบช้า ๆ ค่อย ๆ เป็น (Chronic leukemia) โดยทั่วไป มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงกว่าชนิดที่เกิดช้า ๆ หรือเรื้อรัง
ส่วนประกอบของเลือด
ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดจากไขกระดูก bone marrow โดยเซลล์ตัวอ่อนเรียก blast เลือดประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำเรียก plasma ส่วนเซลล์ที่พบมี 3 ชนิด
เม็ดเลือดขาว leukocyte หรือ white blood cell ทำหน้าทีต่อสู้กับเชื้อโรค
เม็ดเลือดเลือดแดง erythrocyte หรือ red blood cell ทำหน้าที่นำ oxygen ไปล่างกาย และนำ carbodioxide ไปฟอกที่ปอด
เกร็ดเลือด platelet หรือ thrombocyte ทำหน้าที่หยุดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด
1. การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่นระเบิดปรมณู
2. การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน
3. ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
4. ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีเช่น benzene
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และการติดเชื้อไวรัส การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง และกัมมันตภาพรังสี สามารถทำให้ เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
อาการ
1. เลือดจาง ซีด
2. หน้ามืด เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย
3. เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง เหงือก เป็นจ้ำตามตัว
4. ต่อมน้ำเหลืองโต อาจพบก้อนในท้องเนื่องจาก ตับ ม้ามโต
5. ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายผิดปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย มีไข้
การตรวจวินิจฉัย
1. จากประวัติการเจ็บป่วย
2. การตรวจร่างกาย
3. การตรวจทางพยาธิวิทยา
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด
มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ lymphocyte และ myeloid และแบ่งการดำเนินของโรคเป็น acute คือเกิดเร็ว โรคดำเนินเร็ว blast cell มาก chronic โรคดำเนินช้า blast cell ไม่มากเราแบ่งเป็น
- Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte มักพบในเด็ก
- Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
- Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
- Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่
วิธีการรักษา
1. เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง
2. รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลุกถ่ายไขกระดูก
3. การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้
4. การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
การรักษาอื่นๆที่จำเป็น
เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมากดังนั้นการรักษาอื่น๐ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอเกิดการติดเชื้อง่ายดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีคนมากโดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ antibiotic
ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยหากเป็นมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าซีดมากควรได้รับการเติมเลือด tranfussions ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจช่องปากก่อนการรักษา
ผลข้างเคียงของการรักษา
1. เคมีบำบัด Chemotherapy หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วดังนั้นจึงถูกทำลายมากแต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
2. รังสีรักษา Radiotherapy บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์
3. การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ
ข้อแนะนำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
ข้อมูลจาก : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สยามเฮลท์