การเตรียมตัว เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปติดต่อหรือทำธุระกับอำเภอกรณีต่าง ๆ
การแจ้งย้ายออก
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่อยู่ในบ้านย้ายออก
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง
การแจ้งตาย
หลักเกณฑ์
เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย
(1) คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
(2) คนตายนอกบ้าน
ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
กำหนดเวลาให้แจ้งตาย (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
การจดทะเบียนสมรส
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมายพร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
การแจ้งย้ายปลายทาง
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายความว่า การแจ้งการย้ายที่อยู่โดยผู้ขอแจ้งย้าย สามารถไปขอแจ้งย้ายออกและขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนเดิมที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจากทะเบียนบ้าน
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนาบัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้
- เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
- หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปดำเนินการแจ้งย้ายได้)
- หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตรฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
(กรณีผู้แจ้งย้ายที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมาย 1 คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ ไม่เกิน 3 คน และทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)
การแจ้งย้ายเข้า
หลักเกณฑ์
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช้เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
การแจ้งเกิด
หลักเกณฑ์
เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้ง การเกิด
คนเกิดในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบหาวันนับแต่วันเกิด
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ
สำเนาทะเบียนบ้าน
บัตรประจำตัวประชาชน
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
การขอจดทะเบียนสมาคม
ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล 2 สำนักงานตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ/ที่ว่าการกิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัด พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
ข้อบังคับของสมาคม
- รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 10 คน
- รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
- รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
- แผนผัง ที่ตั้งสังเขปของสมาคม ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
- หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
- สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการสมาคม
- เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสมาคม
- ค่าจดทะเบียนสมาคม 2,000 บาท
- ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม หรือค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมบางส่วน ครั้งละ 200 บาท
- ค่าขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
- ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองถูกต้อง ฉบับละ 10 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท
- ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม ครั้งละ 5 บาท
ทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
หลักฐานประกอบการขออนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมใบประกอบธุรกิจและสำเนา
ทะเบียนบ้านและสำเนา
- รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
- ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนา
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ทำการค้า หรือหลักฐานการเป็นเจ้าของหรือสัญญาเช่า
- ใบอนุญาตจากกรมศิลปากรและสำเนา กรณีประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุ
หรือศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน
เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นเรื่อง
- ภาพถ่าย บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
- สำเนา หรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
- หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิ์ครอบครองที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสานฯ
- แผนที่แสดงเขตที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสาน รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง
- แผนผังแสดงการใช้ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้กิจการของสุสานฯ
สำหรับนิติบุคคลต้องยื่นเอกสารประกอบด้วย ดังนี้
- หลักฐานแสดงการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
- หลักฐานแสดงว่า ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลผู้ขอรับใบอนุญาต
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : https://www.amphoe.com/
การขอจดทะเบียนชื่อสกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
พินัยกรรม
พินัยกรรม มี 5 แบบ คือ
- พินัยกรรมแบบธรรมดา
- พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
- พินัยกรรมทำด้วยวาจา
การจดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร
- หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร
การจดทะเบียนหย่า
เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า
การทำบัตรประจำตัวประชาชน
คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร
ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทนบัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็บสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด
การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ
ผู้ย้ายที่อยู่สามารถติดต่อขอแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ใหม่ได้ โดยไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าเป็นการย้ายที่อยู่ระหว่างสำนักทะเบียน ON-LINE 1,082 แห่ง ที่จัดทำทะเบียนบ้านแบบสมุดพก ได้แก่ สำนักทะเบียนในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นครปฐม พิษณุโลก เชียงใหม่ นครราชสีมา อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สงขลา อำเภอเมืองปทุมธานี และสำนักทะเบียนในจังหวัดอื่นๆ อีก 67 จังหวัด จะสามารถแจ้งย้ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์เสร็จภายในเวลา 15 นาที
เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
เอกสารประกอบการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีบุตรบุญธรรมเป็น ผู้เยาว์)
ทะเบียนศาลเจ้า
ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ หรือที่ดินซึ่งเอกชนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของศาลเจ้า ศาลเจ้านั้นจะอยู่ในการกำกับดูแล โดยราชการ และมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากราชการเป็นผู้บริหารกิจการศาลเจ้า
หลักเกณฑ์
การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้า ตั้งอยู่แล้ว หรือที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
ผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
- คำร้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้อุทิศที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- รายละเอียดที่ดินซึ่งจะอุทิศให้พร้อมโฉนดที่ดิน หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้
- รับเรื่องราวของผู้ประสงค์อุทิศที่ดิน
- ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารทั้งหมด
- สอบสวนผู้ประสงค์อุทิศที่ดินตามแบบ ปค.14 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะอุทิศให้และเจตนารมย์ของผู้อุทิศให้
เมื่อเห็นว่าถูกต้องรวบรวมหลักฐานและเอกสารทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติและรับมอบที่ดิน