ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง, กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ ความหมาย, กฎหมายรัฐธรรมนูญ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
กฎหมายรัฐธรรมนูญ

          ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่สำคัญสูงสุดของประเทศที่มี การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเริ่มต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับภาวะการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย โดยปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16
          
          สาเหตุที่มีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพราะพัฒนาการทางการเมืองไทยมีปัญหา จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง และนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
          1.1 จุดเด่นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 คือ
                 1. รับรองและส่งเสริมการเคารพคุณค่าและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์
                 2. คุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
                 3. เพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
                 4. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
          1.2 สิทธิ หน้าที่และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
                 การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ
                 สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง บุคคลอื่นจะละเมิดล่วงเกิน หรือกระทำการใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง
                 เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการทำของบุคคลหรืองดเว้นที่จะทำและการทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา การพูด การเขียน เป็นต้น
                 หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ รับราชการทหาร เสียภาษี ช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชา ธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
                 สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักด์ิศรี มีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ

ข้อมูลจาก : https://ebook.nfe.go.th/ebook/pdf/010/0010_26.pdf

กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง, กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ ความหมาย, กฎหมายรัฐธรรมนูญ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu