ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมายถึง, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความหมาย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

          รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ สำหรับประเทศไทย นับจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย บรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ


รัฐธรรมนูญทั้งหมดของไทย

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

12.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

14.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

16.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ พุทธศักราช 2540

ที่มา https://www.dopa.go.th/law/laws.htm



สิทธิ หน้าที่และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

          การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

          สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง บุคคลอื่นจะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง

          เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการทำของบุคคลหรืองดเว้นที่จะทำและการทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา การพูด การเขียน เป็นต้น

          หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หน้าที่รับราชการทหาร เสียภาษี ช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

          สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษาศาสนาใด ๆ

ที่มา https://ebook.nfe.go.th/ebook/pdf/010/0010_26.pdf



จุดเด่นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1. รับรองและส่งเสริมการเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2. คุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. เพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
4. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมายถึง, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความหมาย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu