ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การออกเสียงประชามติ, การออกเสียงประชามติ หมายถึง, การออกเสียงประชามติ คือ, การออกเสียงประชามติ ความหมาย, การออกเสียงประชามติ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 18
การออกเสียงประชามติ

          การออกเสียงประชามติ หมายถึง กระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วยการลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติหรือการตัดสินใจนั้นออกเป็นกฎหมายหรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป

          “การออกเสียงประชามติ” ต่างจาก “ประชาพิจารณ์” ตรงที่การออกเสียงประชามติจะต้องมีการลงคะแนนออกเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์เป็นเพียงการรับฟังความเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ

การออกเสียงประชามติของประเทศไทย

          การออกเสียงประชามติของประเทศไทย ได้เคยมีบัญญัติ ไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๒ ในมาตรา ๑๗๔ ที่กำหนดว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้

          และไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เท่านั้นที่ได้บัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาถึง ๔ ฉบับ (ไม่นับรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙) ได้แก่ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๑ , พ.ศ. ๒๕๑๗ , ฉบับ พ.ศ. ๒๕๓๔แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ และฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราหรือทั้งฉบับ (ยกเว้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ เท่านั้น ที่กำหนดให้เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเป็นเรื่องอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีความสำคัญและอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน)

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับจะมีบทบัญญัติรับรองเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติ ตามมาตรา ๒๙ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย

บัตรออกเสียงประชามติและวิธีการทำเครื่องหมายในบัตรออกเสียงประชามติ

หลักสำคัญของการออกเสียงประชามติ

          การออกเสียงประชามติ เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตย แบบโดยตรง ที่ให้ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองได้ ถือเป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจองค์กรหรือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชน มิให้ดำเนินการใด ๆ โดยมิได้ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน

          ๑. เรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล
          ๒. ข้อความที่จะขอความเห็นต้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ได้
          ๓. ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
          ๔. ต้องจัดให้มีการลงคะแนนออกเสียงประชามติโดยอิสระ
          ๕. ต้องนำผลการออกเสียงประชามติไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนผู้มาออกเสียงประชามติ

ประเภทของการออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

          ๑. การออกเสียงประชามติแบบบังคับ หมายถึง การออกเสียงประชามติที่เขียนบังคับไว้ในกฎหมายว่า ก่อนการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบจากประชาชนก่อน โดยหากเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบจึงจะสามารถดำเนินการในเรื่องนั้นได้

          ๒. การออกเสียงประชามติแบบทางเลือก หมายถึง การออกเสียงประชามติที่มีบทบัญญัติเขียนไว้ว่าในกรณีที่เห็นสมควร รัฐหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการหรืออาจเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อ เพื่อขอให้จัดทำประชามติในเรื่องที่เห็นว่ามีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

          นอกจากการแบ่งประเภทของการออกเสียงประชามติเป็นแบบ “บังคับ” และแบบ “ทางเลือก” แล้ว ยังสามารถแบ่งตามระดับหรือพื้นที่ในการออกเสียงประชามติได้หลายลักษณะ เช่น การออกเสียงประชามติระดับชาติ ระดับมลรัฐ หรือ ระดับท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะจัดทำประชามติมีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด รวมทั้งได้มีบทบัญญัติเขียนรับรองสำหรับการจัดทำประชามติในระดับนั้น ๆ หรือไม่


การออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)

บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย

          ๕.๑ การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นการออกเสียงเพื่อให้ประชาชนได้พิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างขึ้นทั้งฉบับ
          ๕.๒ การกำหนดวันออกเสียงประชามติต้องไม่เร็วกว่า ๑๕ วัน และไม่ช้ากว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทราบ และวันออกเสียงต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
          ๕.๓ หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด
          ๕.๔ ผลการออกเสียงประชามติให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ หากเสียงข้างมากเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาบังคับใช้ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศบังคับใช้ แต่หากเสียงข้างมากไม่เห็นชอบ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้เคยประกาศใช้มาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติ ไม่เห็นชอบ


หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียง

          - กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง 
          - ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย 
          - ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ 
          - การออกเสียงประชามติให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ 
          - ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตออกเสียง 
          - ใช้เขตหมู่บ้านเป็นเขตของหน่วยออกเสียง และถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิแต่ละหน่วย จำนวน ๘๐๐ คน เป็นประมาณ 
          - กำหนดคุณสมบัติของู้มีสิทธิออกเสียง ประกอบด้วย 
                    1.มีสัญชาติไทย (แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี) 
                    2.มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการออกเสียง และ 
                    3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียงมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน นับถึงวันออกเสียงประชามติ 
          - กำหนดลักษณะบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิออกเสียง ได้แก่ บุคคลที่ 
                    1.วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 
                    2.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช 
                    3.ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

          - กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและปิดประกาศไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน ก่อนวันออกเสียง เพื่อให้บุคคลสามารถตรวจสอบและยื่นคำร้อง ขอเพิ่ม-ถอนชื่อ ได้ไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน ก่อนวันออกเสีย

          - กำหนดรูปแบบบัตรออกเสียงประชามติและวิธีการทำเครื่องหมายในบัตรออกเสียงประชามติ
          - กำหนดระยะเวลาในการออกเสียงประชามติ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาอีก ๑ ชั่วโมง : เดิมกำหนดระยะเวลาการเลือกตั้ง ๐๘.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 
          - กำหนดให้นับคะแนนที่หน่วยออกเสียง โดยเปิดเผยติดต่อกันจนแล้วเสร็จหลังจากปิดการลงคะแนนและให้รายงานผลการนับคะแนนไปยังอนุกรรมการออกเสียงประจำอำเภอ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและคณะกรรมการการเลือกตั้งตามลำดับ
          - กำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงที่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน สามารถใช้สิทธิลงคะแนนออกเสียงในจังหวัดที่ตนอยู่ได้ โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นของอำเภอหรือเทศบาลที่ตนอยู่ ก่อนวันออกเสียงอย่างน้อย ๓๐ วัน 
           - กำหนดให้กรณีหน่วยออกเสียงใดมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นในวันออกเสียงเป็นเหตุให้ไม่สามารถลงคะแนนออกเสียงได้ ให้กรรมการประจำหน่วยออกเสียงประกาศงดลงคะแนนในหน่วยออกเสียงนั้น และประกาศให้ผู้มีสิทธิออกเสียงในหน่วยนั้นไปใช้สิทธิออกเสียง ณ ที่ออกเสียงกลาง (ฉุกเฉิน) ของจังหวัดนั้น ๆ แทนในวันและเวลาออกเสียงเดิม
          - กำหนดให้มีการคัดค้านการออกเสียงในหน่วยออกเสียงได้ โดยต้องมีผู้มาใช้สิทธิจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้น ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่การลงคะแนนออกเสียงสิ้นสุดลง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งอาจสั่งให้มีการออกเสียงใหม่ในหน่วยออกเสียงนั้นได้ แต่การออกเสียงใหม่ต้องกระทำไม่ช้ากว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ เว้นแต่พิจารณาแล้ว เห็นว่า การออกเสียงใหม่จะไม่ทำให้ผลการออกเสียงของทั้งประเทศเปลี่ยนแปลงไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้าน
          - กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งผลการออกเสียงและจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงไปยังสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศผลการออกเสียงประชามต

การเตรียมความพร้อมของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียง

          เนื่องจากการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นการออกเสียงระดับชาติ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทางและอนาคตของประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อให้การออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยมีแนวทางที่ควรปฏิบัติอย่างน้อย ๕ ประการ ประกอบด้วย

          ๑. ควรที่จะให้ความสนใจและติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนการตัดสินใจออกเสียงประชามติ
          ๒. ควรที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญในโอกาสต่าง ๆเพื่อประโยชน์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางแนวความคิด
          ๓. ควรที่จะคิดและวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผลก่อนการตัดสินใจ โดยต้องไม่คล้อยตามกระแสหรือสถานการณ์ ต้องไม่ยอมรับการชักจูงด้วยประโยชน์อื่นใดในทางมิชอบ ต้องแยกแยะระหว่างความชอบหรือไม่ชอบในตัวบุคคลกับสาระของร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งต้องรู้จักมองภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
          ๔. ควรที่จะได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับขั้นตอนและวิธีการในการลงคะแนนออกเสียงประชามติ เพื่อให้การใช้สิทธิออกเสียงเป็นไปอย่างถูกต้อง
          ๕. ควรที่จะได้เห็นความสำคัญและไปใช้สิทธิออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกัน แม้ว่าการออกเสียงประชามติครั้งนี้เป็นเพียงสิทธิ มิใช่หน้าที่ แต่เนื่องจากเป็นการกำหนดกติกาหลักของประเทศ ดังนั้น จึงควรที่ผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์นี้ โดยอาจสรุปได้ว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้จะเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่เพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชนที่จะต้องรู้จัก

ที่มา https://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf

การออกเสียงประชามติ, การออกเสียงประชามติ หมายถึง, การออกเสียงประชามติ คือ, การออกเสียงประชามติ ความหมาย, การออกเสียงประชามติ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu