สรุปสาระสำคัญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)
1. องคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้ง
1.1 มีจำนวนไม่เกิน 19 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และองคมนตรีอีกไม่เกิน18 คน
1.2 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
2.1 มีจำนวนไม่เกิน 250 คน เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
2.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2.3 องค์ประชุมสภาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 125 คน)
2.4 สมาชิกไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติได้
2.5 สมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภา เพื่อให้สมาชิกอื่นพ้นจากตำแหน่ง โดยอาศัยมติของสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในวันลงคะแนน
2.6 สมาชิกไม่น้อยกว่า 100 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามคณะรัฐมนตรีได้ แต่ไม่สามารถลงมติได้
2.7 นายกรัฐมนตรี มีสิทธิแจ้งไปยังประธานสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่สามารถลงมติได้
3. คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
3.1 คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน
3.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
3.3 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
4. สมัชชาแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
4.1 มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
4.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
4.3 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ
4.4 สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่การเปิดประชุมครั้งแรก แล้วเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกให้เหลือ 100 คน เพื่อให้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
5. สภาร่างรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
5.1 มีจำนวน 100 คน คัดเลือกมาจากสมัชชาแห่งชาติ
5.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
5.3 มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
5.4 ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติในช่วงวันที่ 15-30 นับจากวันเผยแพร่ และวันออกเสียงประชามติ ต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ
5.5 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 1 คณะ ประกอบด้วยบุคคลที่สภาเลือกจำนวน 25 คน และอีก 10 คน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
5.6 เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ในเรื่องใด พร้อมเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และคณะบุคคล(รวม 12 องค์กรตามมาตรา 26) เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น นอกจากนี้ให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารคำชี้แจงให้ประชาชนทั่วไปทราบ รวมทั้งส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ประกอบด้วย
5.7 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ต่อจากนั้นให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
5.8 ห้ามกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
5.9 ในการออกเสียงประชามติ หากเสียงข้างมากเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
5.10 กรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หรือสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ หรือเสียงข้างมากของการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
5.11 เมื่อมีกรณีตามข้อ 5.9 ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เคยใช้บังคับมาแล้ว มาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
5.12 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
6. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
6.1 มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ
6.2 ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อาจแต่งตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกิน 15 คน
7. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
7.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ทางธุรการ
7.2 ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน ประกอบเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ให้ไว้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว), รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) หมายถึง, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) คือ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) ความหมาย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) คืออะไร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว), รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) หมายถึง, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) คือ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) ความหมาย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!