ไอเดียแย่ๆ อาจไม่ได้แย่อย่างที่คิดเสมอไป หรือบางทีอาจกลับกลายเป็นไอเดียบรรเจิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์อันแตกต่าง
การตัดสินว่าไอเดียไหนดีหรือไม่ดีเพื่อจะนำไปใช้ในงานสร้างสรรค์นั้น เป็นปัจจัยชี้นำความสำเร็จหรือล้มเหลวในงานหรือธุรกิจนั้นๆ เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ความสามารถในการคาดคะเนความสำเร็จหรือล้มเหลวจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่ใช่ว่าจะมีกันได้ง่ายๆ แม้ กระนั้นก็ไม่ยากเกินไปถ้าตั้งใจพัฒนาและเข้าใจ อย่างแรกคงต้องย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของความคิดและการพัฒนาความคิดนั้นๆ ก่อน
ตามปกติ เรามักใช้คำว่า “ไอเดีย” แทนความหมายของคำว่า “ความคิด” อยู่บ่อยๆ (จริงๆ แล้ว คำว่า “ความคิด” มีความหมายกว้าง กว่ามาก)หลายครั้งที่เราเข้าใจว่าการเริ่มต้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ ล้วนต้องมาจากไอเดียที่ดี ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ หรือสิ่งที่ผ่านเข้า มาในความคิด แล้วจึงนำมาผ่านขั้นตอนการพัฒนาจนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์มากมาย
โดยมากแล้ว สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับหรือคัดสรรมาแล้วว่าดีและมีความแน่นอน (Sensible and Safe Decision) มักเป็นที่ยอมรับจาก สังคมว่าดีเสมอ ข้อเสียเพียงข้อเดียวและสำคัญที่สุดของแนวคิดแบบนี้คือ คนส่วนใหญ่อีกเป็นล้านๆ คนก็คิดอย่างเดียวกับคุณและอาจ
กำลังทำสิ่งเดียวกันนี้อยู่ ถ้าหากจุดยืนของคุณคือการสร้างสิ่งใหม่ที่แตกต่างแล้วละก็ เห็นทีคุณคงต้องปรับระบบการสร้างความคิดใหม่
ลองดูวงการแฟชั่นเป็นตัวอย่าง นักออกแบบแฟชั่นที่มีชื่อเสียงมักจะเป็นคนที่คิดและผลิตงานที่แตกต่างจากแฟชั่นในท้องตลาดเสมอ ในปี 1970 วิเวียน เวสต์วูด เจ้าแม่วงการแฟชั่นจากเกาะอังกฤษ* และมัลคอล์ม แม็กลาเรน ตัดสินใจเปิดร้านใน ย่านที่ไม่น่าจะเป็นย่านแฟชั่น
ได้เลย อย่าง St. Christopher’s Place ในลอนดอน เสื้อผ้าของเธอดูช่างหวือหวาหลุดโลกจนไม่น่าจะใส่ได้ แถมราคายังแพงจนไม่น่าจะมีใครยอมควักกระเป๋าซื้อ แน่นอนว่าไม่นานก็เจ๊ง คุณว่านี่เป็นไอเดียที่ยอดแย่รึเปล่าล่ะ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ถ้าหากวันนั้นทั้งคู่ไม่ลุกขึ้นมาแสดงความคิดและกล้าที่จะแตกต่าง ชื่อของ วิเวียน เวสต์วูด คงไม่ได้ขึ้นสู่ทำเนียบนัก ออกแบบแฟชั่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และแม็กลาเรนก็อาจจะไม่ได้ตั้งวงดนตรีที่กลายเป็นตำนานอย่าง Sex Pistols
ไม่ว่าจะเป็นไอเดียยอดนิยม ไอเดียส่วนตัว ไอเดียที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้อง หรือแม้แต่ไอเดียที่มีเพียงคนหยิบมือเดียวคิดตรงกัน ทั้งหมดนี้ที่จริง ไม่มีอะไรผิดหรือถูก คุณอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณมองจากมุมไหน เพียงแต่ถ้ามองให้ลึกๆ แล้ว เกือบทุกความก้าวหน้าของมนุษย
ชาติล้วนเริ่มต้นจากความคิดส่วนบุคคลหรือของคนส่วนน้อยเสมอ
ที่เขียนมาอย่างนี้ไม่ใช่ต้องการจะบอกหรือยุยงส่งเสริมว่า เวลาจะคิดอะไรขอให้แปลกแยกไว้ก่อน แล้วดีเอง การที่ไอเดียหนึ่งๆ จะประสบความ สำเร็จ ยังต้องมีส่วนผสมอื่นอีก โดยเฉพาะการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นในทุกๆ มุมเพื่อทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน
เทคนิคสนับสนุน หรือธุรกิจและการตลาดที่จะตามมา สิ่งเหล่านี้เมื่อคิดไปพร้อมๆ กันแล้วก็จะกลับมาช่วยขัดเกลาให้ไอเดียมีความชัดเจนโดด เด่นมากขึ้น หรือบางครั้งอาจจะเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย แล้วรวบรวมข้อมูลจนได้มาซึ่งความคิดที่ดีและแตกต่าง คือรู้ว่าอะไรที่คนเขาทำกันมาก
อยู่แล้วก็หลีกเลี่ยงซะ
ก่อนจะจบอยากฝากไว้เรื่องเดียวว่า ที่จริงใครๆ ก็สามารถเป็นนักคิดนักสร้างไอเดียแปลกใหม่กันได้ทุกคน แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำให้ ไอเดียเหล่านั้นสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ คุณไม่มีวันรู้ว่าไอเดียไหนดีหรือไม่ดีจนกว่าจะนำมาใช้จริงๆ ไอเดียที่แย่แต่ถูกใช้
ยังดีกว่าไอเดียที่ดีแต่ถูกวางไว้เฉยๆ เพราะแม้จะผิดพลาดหรือไม่ประสบความสำเร็จ อย่างน้อยคุณก็ยังได้เรียนรู้อะไรมาก มายจากบทเรียนเหล่านั้นเสมอ
สนับสนุนโดย https://www.Captuscom.com