ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระพุทธรูป, พระพุทธรูป หมายถึง, พระพุทธรูป คือ, พระพุทธรูป ความหมาย, พระพุทธรูป คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระพุทธรูป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูป  

          ในระยะแรกหลังจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น

          ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ

          เมื่อ พระเจ้าอโศกมหาราช นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก
 



พระพุทธรูปปางต่างๆ

๑.ปางประสูติ                                   ๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์                              ๓.ปางตัดพระเมาลี
๔.ปางอธิฐานเพศบรรพชิต               ๕.ปางปัจเจกขณะ                                     ๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
๗.ปางทรงพระสุบิน                          ๘.ปางรับมธุปายาส                                   ๙.ปางเสวยมธุปายาส
๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด            ๑๑.ปางรับหญ้าคา                                   ๑๒.ปางสมาธิเพชร
๑๓.ปางมารวิชัย                             ๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้                     ๑๕.ปางถวายเนตร
๑๖.ปางจงกรมแก้ว                         ๑๗.ปางเรือนแก้ว                                     ๑๘.ปางห้ามมาร
๑๙.ปางนาคปรก                             ๒๐.ปางฉันผลสมอ                                    ๒๑.ปางประสานบาตร
๒๒.ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง             ๒๓.ปางพระเกศธาตุ                                  ๒๔.ปางรำพึง
๒๕.ปางปฐมเทศนา                        ๒๖.ปางประทานเอหิภิกขุ                         ๒๗.ปางภัตกิจ
๒๘.ปางห้ามสมุทร                          ๒๙.ปางห้ามญาติ                                     ๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐาน
๓๑.ปางชี้อัครสาวก                         ๓๒.ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์                ๓๓.ปางประทับเรือ
๓๔.ปางห้ามพยาธิ                           ๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์                    ๓๖.ปางอุ้มบาตร
๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา                   ๓๘.ปางรับผลมะม่วง                                 ๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา                ๔๑.ปางเปิดโลก                                        ๔๒.ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
๔๓.ปางลีลา                                   ๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์                             ๔๕.ปางพระอิริยาบถยืน
๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๔๗.ปางสรงน้ำฝน                                 ๔๘.ปางขอฝน (นั่ง)
๔๙.ปางขอฝน (ยืน)                        ๕๐.ปางชี้อสุภะ                                          ๕๑.ปางชี้มาร
๕๒.ปางปฐมบัญญัติ                       ๕๓.ปางขับพระวักกลิ                                  ๕๔.ปางสนเข็ม
๕๕.ปางประทานพร (นั่ง)                ๕๖.ปางประทานพร (ยืน)                            ๕๗.ปางประทานธรรม
๕๘.ประทานอภัย (นั่ง)                    ๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี                  ๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดี
๖๑.ปางปาลิไลก์                             ๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร                        ๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์               ๖๕.ปางโปรดองคุลีมารโจร                        ๖๖.ปางโปรดพกาพรหรม
๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม               ๖๘.ปางปลงอายุสังขาร                             ๖๙.ปางนาคาวโลก
๗๐.ปางทรงรับอุทกัง                      ๗๑.ปางทรงพยากรณ์                                 ๗๒.ปางโปรดสุภัททปริพาชก
๗๓.ปางปรินิพพาน 

ที่มา  www.dhammathai.org


พระพุทธรูป, พระพุทธรูป หมายถึง, พระพุทธรูป คือ, พระพุทธรูป ความหมาย, พระพุทธรูป คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu