โรคที่เกิดกับพืชหลังการเก็บเกี่ยว (Post harvest disease)
เป็นโรคที่เกิดหลังจากผลิตผลพืชเก็บเกี่ยวแล้วอยู่ระหว่างการเก็บรักษา การขนส่งหรือแปรรูปผลิตผลพืชและสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีต่อพืชหลังการ เก็บเกี่ยวจะแตกต่างไปจากพืชที่อยู่ในไร่ เช่น ลักษณะและสภาพทางสรีรวิทยาของผลิตผล ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
สาเหตุของโรคหลังการเก็บเกี่ยว
1. เกิดจากสภาพสรีรของผลผลิต ได้แก่
- ออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อภายในหัวตาย มีสีน้ำตาล ดำ เช่น มันฝรั่ง ผักกาดหอม
- Esterที่ได้จากการ metabolism ของผลิตผลตามปกติ เป็นพิษเพราะมีสะสมมากเกินไป เช่น แอปเปิ้ล ทำให้ผิวของผลมีมีน้ำตาล ผิวจะพองและเนื้อ เยื่อสลายตัว
- การช้ำเพราะอากาศเย็นเกินไป
- อุณหภูมิเก็บสูงเกินไป ทำให้อัตราการหายใจของผลิตผลสูง
- ความชื้นไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อหด ย่น และแตกลึก
- เมล็ดที่เก็บในความชื้นและอุณหภูมิสูง จะทำให้ราดำและราเขียวต่างๆทำลาย
- ผักที่อวบน้ำ ถ้าเก็บไว้ในที่ความชื้นต่ำไป ผักจะสูญเสียความชื้น
2.เกิดจากเชื้อ
- เชื้อแบคทีเรีย มี 2 แบบคือ1.เน่าเละเกิดจาก Pseudomonas และ Erwinia 2.เนื้อเยื่อภายในเสื่อมถูกทำลายเนื่องจากเชื้อ Corynebacterium,Erwinia, Pseudomonas and Xanthomonas
- เชื้อรา มี 2 กลุ่มคือ 1.ผลิตผลชนิดที่มีความชื้นต่ำ ได้แก่ เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ 2.ผลิตผลชนิดที่มีความชื้นสูง ได้แก่ ผลไม้ หัว ราก ฝักต่างๆ
เชื้อราที่ทำลายในโรงเก็บส่วนมากต้องการความชื้นเพื่อการเจริญเติบโตด้วยช่วงสั้นๆต่างกันความเสียหายที่เกิดจากเชื้อได้แก่ ลดความงอกของ เมล็ด, คัพภะมีสีเปลี่ยนไป แสดงถึงการถูกทำลาย,มีความร้อนเกิดขึ้น,มีสารพิษเกิดขึ้นโดยเชื้อราสร้างขึ้นเช่น Aspergillus flavas สร้างสาร aflatoxin เป็นต้น
- เชื้อวิสา ส่วนมากมักเกิดอาการใบด่าง เกิดกับผักที่เก็บรักษาไว้ อาการของโรคอาจเพิ่งแสดงอาการในโรงเก็บโดยยังไม่มีอาการในไร่ ทำให้ผล ผลิตตกต่ำจึงควรแก้ไขตั้งแต่ในไร่โดยใช้พันธุ์ต้านทานและกำจัดพาหะ
การควบคุมโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว
1. ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อในไร่
2. เก็บเกี่ยวพืชในระยะที่แก่พอเหมาะ
3. เก็บเกี่ยวพืชด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ช้ำ หรือเกิดแผลเกิดจำเป็น
4. ทำความสะอาดโรงเก็บ และมีวิธีการก็บผลิตผลที่สะอาด
5. ห้องเก็บมีการถ่ายเทอากาศดีและควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้
6. ใช้สารเคมีฆ่าเชื้อให้เหมาะสมต่อผลิตผลที่เก็บ
โรคที่เกิดกับเมล็ด(Seed pathology)
เมื่อปลูกพืชด้วยเมล็ดที่มีเชื้อโรคติดมาด้วย เชื้อโรคนั้นจะเป็นสาเหตุทำให้พืชที่งอกและเจริญเติบโตอยู่ได้รับความเสียหายจากโรคอย่างมาก เช่น โรคที่ ติดมากับเมล็ดข้าวฟ่างได้ทำความเสียหายให้กับต้นกล้าและยังแพร่สปอร์ระบาดไปยังต้นปกติอื่นๆ เมล็ดที่เป็นโรคบางชนิด นอกจากเชื้อจะข้าทำลายเมล็ดและพืช นั้นโดยตรงแล้ว ยังจะทำให้มนุษย์หรือสัตว์ที่บริโภคเข้าไปได้รับอันตรายจากโรคนั้นอีกด้วย เช่น โรค ergot ของข้าวไรน์
ความสำคัญของการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเมล็ด
- การถ่ายทอดยาวนาน
- เข้าทำลายได้สูงสุด
- แพร่กระจายได้ไกล
- ทำให้เกิดการคัดเลือกเชื้อที่รุนแรง
- เกิดจุดของการทำลายที่มีการกระจายดีในแปลงปลูก
- เชื้อเข้าสู่พืชได้อย่างสม่ำเสมอ
- ทำให้เมล็ดมีโอกาสติดเชื้อได้สูง
ความเสียหายของเมล็ดที่มีเชื้อราและของพืชที่ปลูกจากเมล็ดเป็นโรค
1. สูญเสียความงอก เช่น การใช้เมล็ดข้าวที่เป็นโรคเกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavas, Curvularia lunata,Fusarium moniliforme เป็นต้น
2. ต้นกล้าไหม้และเน่า เช่น เมล็ดเรดีชที่เกิดจากเชื้อ Alternaria spp. ทำลาย
3. อาการโรคที่เกิดกับต้นโต เช่น โรคเขม่าดำของข้าวสาลี ข้าวฟ่าง เป็นต้น
การแพร่ระบาดของโรคในไร่ขึ้นอยู่กับ
- ลักษณะของความต้านทาน
- สภาพแวดล้อม
- การเขตกรรม
- ระยะที่พืชถูกเชื้อเข้าทำลาย
- ความมีชีวิตของเชื้อที่อยู่กับเมล็ด
- ระดับความเป็นหมันของ pollen
- เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน
การตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ เพื่อ
- ประเมินคุณค่าการนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์
- การตัดสินใจในการคลุกเมล็ด
- ออกใบรับรอง
- การกักกันพืช
- การตัดสินใจนำไปใช้เป็นอาหาร
วิธีการตรวจสอบเชื้อรา
1. dry seed examination
2. blotter method
3. agar method
4. seed symptom test and growing on test
5. embryo extract method
การควบคุมโรคที่เกิดกับเมล็ด
1. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี
2. แช่น้ำร้อนหรือผ่านไอร้อน
3. เก็บเมล็ดไว้ให้นานพอก่อนปลูก เพื่อให้เชื้อโรคที่มีอายุสั้นตายก่อน
ที่มา https://gis.agr.ku.ac.th/e_learning/plantpath/first.htm