ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน หมายถึง, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน คือ, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ความหมาย, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน

          ปัจจุบันประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการก้าวไปสู่ตลาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ   ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงได้ริเริ่ม โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ในปี พ.ศ. 2544 โครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย “อาเซียนช่วยอาเซียน” ที่ประกาศในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 9 อีกทั้งยังสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไทยที่ริเริ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี–เจ้าพระยา–แม่โขง ที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

          ไบโอเทคได้เริ่มโครงการนำร่องในปี พ.ศ. 2544 และ 2545 โดยให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม จำนวน 4 ทุน/ปี เข้ามารับการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย เป็นเวลา 3 เดือน โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก มูลนิธิอาเซียน สำหรับปี พ.ศ. 2546 – 2547 เป็นจำนวนเงิน 3.1 ล้านบาท ทำให้จัดสรรทุนได้ 24 ทุน ในระยะเวลา 2 ปี และในปี พ.ศ. 2548 – 2549 สามารถจัดสรรทุนได้ 14 ทุน/ปี โดยเปิดรับนักวิจัยจากประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกจำนวน 2 ทุน    ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์  และ The Secretariat of the Pacific Community และเพิ่มทุนวิจัยประเภท 6 - 12 เดือน สำหรับนักวิจัยที่มีพื้นฐานดีเพื่อจะได้เรียนรู้งานวิจัยได้มาก



งานวิจัยของโครงการ

          ไบโอเทคได้จัดสรรทุนไปแล้ว 60 ทุน ในระยะเวลา 6 ปี และได้ใช้ฐานของนักวิจัยที่เข้ามาอบรม ในการพัฒนาโครงการวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 ไบโอเทคได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศลาว และในปี พ.ศ. 2548 ได้ลงนามความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพ และสถาบันชีววิทยาเขตร้อนแห่งประเทศเวียดนาม โดยงานวิจัยร่วมเป็นเรื่อง จุลชีววิทยา การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน

          จากการที่ไบโอเทคได้ดำเนินการด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลไทย ทำให้องค์การนานาชาติให้การสนับสนุน  และใช้ไบโอเทคเป็นศูนย์กลางฝึกอบรมทางเทคโนโลยีชีวภาพให้กับประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน  เช่น  ยูเนสโก   องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ   มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์   และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งตกลงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ    ในการพัฒนาบุคลากรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550 และในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) และสถานทูตฝรั่งเศส ร่วมกับไบโอเทค ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านความปลอดภัยด้านอาหาร และระบบตรวจสอบย้อนกลับ ของนักวิจัยในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)



หลักสูตรของโครงการ

          หลักสูตรผึกอบรมของโครงการเน้นการให้ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพ และการปฏิบัติจริง  โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในการทำโครงการวิจัย เริ่มตั้งแต่การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การทำการทดลอง ซึ่งได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์พร้อมกันไป รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการทดลอง และการสรุปผล   นอกจากนี้  หลักสูตรยังมีการจัดเยี่ยมชมดูงานในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย บริษัทเอกชน และจัดโปรแกรมศึกษาวัฒนธรรม เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย

          นักวิจัยที่เข้าอบรมให้ความคิดเห็นที่ตรงกันว่า  หลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะการวิจัย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดี ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือในการทำวิจัยในประเทศของตน   อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายการวิจัยให้กับนักวิจัยในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ประเทศไทยสามารถเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคให้ในระยะยาวต่อไป  ในการประเมินติดตามผลนักวิจัยที่ได้รับทุนไปแล้วจำนวน 60 คน พบว่า นักวิจัยจำนวน 12 คน ได้รับทุนจากหน่วยงานนานาชาติไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น ทุนจากรัฐบาลสวีเดน (SIDA) เพื่อศึกษาหลักสูตรปริญญาโทที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ทุนยูเนสโก โดยการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น ทุน New Zealand’s International AID and Development Agency โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ ทุนศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมัน แคนาดา และเกาหลี รวมทั้งนักวิจัยที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยไบโอเทคสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม ไปขยายผลในเชิงธุรกิจ โดยทำผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ


ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน หมายถึง, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน คือ, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ความหมาย, ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu