ยาที่รับประทานก่อนอาหาร
ควรรับประทานก่อนอาหาร 1/2 -1 ชั่วโมง เนื่องจากอาหารอาจลดการดูดซึม หรือยับยั้งให้ยาบางชนิดออกฤทธิ์น้อยลง เช่น ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ ยาบางอย่างต้องการให้ออกฤทธิ์ก่อนอาหารเพื่อผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาแก้อาเจียน หรือในกรณียาเบาหวานบางชนิดที่ต้องรับประทานก่อนอาหารเพื่อให้การดูดซึมและการออกฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับการลดระดับน้ำตาลในเลือด
ยาที่รับประทานหลังอาหาร
โดยทั่วไปควรรับประทานหลังอาหาร 15 – 30 นาที ยกเว้น ยาที่ระบุให้รับประทานหลังอาหารทันที
ยาที่รับประทานหลังอาหารทันที หรือ พร้อมอาหาร
ยาบางชนิดทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ การรับประทานหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหารเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เช่น Prednisolone , Aspirin เป็นต้น หรือในกรณียาเบาหวานบางชนิดรับประทานพร้อมอาหารเพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล
ยาที่ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ
เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ยาแก้ไอ , ยาแก้ไข้ , ยาแก้ท้องเสีย แพทย์อาจสั่งให้รับประทานเป็นช่วง ๆ เช่น ทุก 4 ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่อมีอาการทุเลาลงจึงหยุดยาได้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อเนื่อง
ยาที่ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ
ยาพวก ซัลฟา ละลายน้ำได้น้อยมากอาจตกตะกอนในไต การดื่มน้ำตามมาก ๆ จะช่วยเพิ่มการละลายน้ำได้ หรือยาถ่ายที่ทำให้เพิ่มกากอุจจาระ หรือที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ควรดื่มน้ำตามมากๆ
ยาที่ห้ามรับประทานร่วมกับเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด , ยาลดน้ำตาลในเลือด, ยาระงับประสาท , ยานอนหลับ , ยาแก้ปวด หรือ ยากดประสาทต่าง ๆ ตลอดจนยาแก้แพ้ จะเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอันตรายได้
ยาที่ไม่ควรกินพร้อมกับยาลดกรดและห้ามเคี้ยว
ยาเม็ดเคลือบ เช่น Bisacodyl , Diclofenac เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไป
ยาที่มีอันตรายควรแนะนำเพิ่ม
เช่น Fosamax
• ควรรับประทานยานี้พร้อมน้ำเปล่า 1 แก้วเต็มก่อนอาหารเช้าอย่างน้อย ครึ่ง ชั่วโมง
• ไม่ควรรับประทานยานี้พร้อมกับเครื่องดื่มใด ๆ เช่น ชา , กาแฟ , นม และยาอื่น
• ห้ามนั่งเอนตัวหรือนอนอย่างน้อย 30 นาที จนกว่าจะรับประทานอาหารเช้า
• ไม่ควรรับประทานยาก่อนนอน หรือ ขณะนอนอยู่
ยาที่รับประทานแล้วทำให้ง่วงซึม
เช่น ยาแก้แพ้ , ยานอนหลับ , ยาแก้ปวดบางชนิด อาจทำให้ง่วงนอนหรือมึนงง ผู้ใช้ยาควรระวังในการขับรถหรือใช้เครื่องจักรกล
ยาที่รับประทานแล้วปัสสาวะจะมีสีส้มแดง
เช่น ยาพวก Phenazopyridine ทำให้ปัสสาวะมีสีแดงอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเลือด แต่แท้จริงเป็นสีจากยา หรือยา Rifampicin ทำให้น้ำลาย น้ำตา ปัสสาวะมีสีส้มแดง
ยาที่ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนแล้วดื่มน้ำตาม
ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือยาถ่ายพยาธิบางชนิด ต้องเคี้ยวก่อนเพื่อให้ยากระจายตัวในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
ยาที่ไม่ควรกินเกิน 6 เม็ด
ภายใน 24 ชม. หรือไม่ควรกินเกิน 10 เม็ด ภายในหนึ่งสัปดาห์
ยารักษาไมเกรน เช่น Cafergot
ยาที่ใช้อมใต้ลิ้น เช่น Isosorbide dinitrate
ยาที่ต้องละลายหรือผสมยาในน้ำก่อนรับประทาน
• ผงเกลือแร่ ORS
• ยาละลายเสมหะ เช่น Fluimucil
• ยาระบาย เช่น Metamucil
• ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เช่น Eno
ยาที่ห้ามเคี้ยว
- รูปแบบยาเม็ดเคลือบ เช่น Diclofenac
- รูปแบบยาออกฤทธิ์เนิ่น เช่น Theophylline เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ยาที่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง
โดยทั่วไปหมายถึงการเก็บที่อุณหภูมิ 2 – 8 C* ( แช่ในช่องธรรมดาไม่ต้องใส่ในช่องทำน้ำแข็ง ) หรือเก็บในกระติกน้ำแข็งตลอดเวลา ใช้สำหรับยาที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้อง เช่น ยาอินซูลิน วัคซีน หรือยาหยอดตาบางชนิด
ข้อแนะนำวิธีการใช้ยาเหน็บทวารหนัก
• ล้างมือให้สะอาด
• ถ้ายาเหน็บนิ่มให้แช่ยาในตู้เย็นก่อนหรือแช่ในน้ำเย็นก็ได้เพื่อยาเข็งตัวและสอดได้ง่ายขึ้น
• แกะยาออกจากกระดาษห่อ
• นอนตะแคงโดยให้ขาล่างเหยียดตรงและงอขาข้างบนขึ้นจนหัวเข่าจรดกับหน้าอก
• สอดยาเหน็บเข้าไปในทวารหนักโดยเอาด้านที่มีปลายแหลมกว่าเข้าไปก่อนโดยใช้นิ้วดันยาเข้าไปอย่างช้า ๆ และเบา ๆ พยายามสอดให้ลึกที่สุดเพื่อไม่ให้ยาเหน็บไหลออกมา
• นอนในท่าเดิมสักครู่ประมาณ 15 นาที ถ้าเป็นยาระบายให้นอนท่าเดิม ไม่ต่ำกว่า 15 นาที จึงจะลุกไปถ่ายอุจจาระ
ข้อแนะนำวิธีใช้ยาเหน็บช่องคลอด
• ล้างมือให้สะอาด
• แกะยาออกจากกระดาษห่อแล้วจุ่มยาในน้ำสะอาดพอชื้นประมาณ 1-2 วินาที
• นอนหงายเอนหลังแต่ไม่ถึงกันนอนราบกับพื้น ชันเข่าขึ้นและแยกขาออก
• เหน็บยาเข้าในช่องคลอด.โดยใช้นิ้วช่วยดันยาเข้าไปให้ลึกที่สุดนอนที่เดิมสักครู่ไม่ต่ำกว่า 15 นาที