ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus indicus Willd.
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ: Padauk
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดใหญ่สูงถึง 15-30 เมตร กิ่งพุ่งยาวมากจนปลายกิ่งห้อยลงไม่เป็นระเบียบ ลำต้นตรง ไม่มีพูพอน เปลือกนอกสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบใบ - เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ กว้าง 10-16 เซนติเมตร หูใบเป็นรูปหอก ใบย่อยมี 5-13 คู่ เรียงสลับ ฐานใบกลม ชอบเรียบ ปลายแหลม เนื้อใบหนาคล้ายกระดาษ เกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมันดอก - เป็นช่อกระจะ ออกดอกตามง่ามใบ ดอกดก ช่อดอกกว้าง 15-16 เซนติเมตร มีใบประดับ รูปแถวแกมรูปหอก ก้านดอกย่อย ยาว 7 มิลลิเมตร กลีบดอก 5กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง สีเหลืองดก มีกลิ่นหอม
ผล - รูปโล่ คล้ายจานบิน ปีกปิดเบี้ยว เป็นคลื่นเล็กน้อย ตรงกลางลาดนูนไปยังปีก
ประโยชน์: เนื้อไม้ ใช้แปรรูปเป็นเครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก้พิษไข้ บำรุงโลหิต ใช้ย้อมผ้า ใบและดอกทำให้ฝีสุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน ใช้สระผม
การกระจายพันธุ์: พบในป่าดิบชื้นทั่ว ๆ ไป พบมากที่ภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป ต่างประเทศพบที่จีน กัมพูชา เวียดนาม
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
ประดู่อังสนา
ประดู่อังสนา, ประดู่อังสนา หมายถึง, ประดู่อังสนา คือ, ประดู่อังสนา ความหมาย, ประดู่อังสนา คืออะไร
ประดู่อังสนา, ประดู่อังสนา หมายถึง, ประดู่อังสนา คือ, ประดู่อังสนา ความหมาย, ประดู่อังสนา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!