:: ประวัติย่อ :: ตำแหน่ง: นายทหารประจำแผนกการฝึกและจัดการแข่งขัน กองการกีฬาทหารเรือ
สถานภาพ : สมรสกับนางเสาวนีย์ คำสิงห์ มีธิดา 1 คน
การศึกษา : มัธยมปีที่ 6 โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา กรุงเทพฯ
ประวัติการทำงาน : พันจ่าเอก สังกัดกองทัพเรือ
- ได้รับการเลื่อนยศเป็นกรณีพิเศษจากพันจ่าเอก เป็นว่าที่เรือตรีและบรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งนายทหารประจำแผนกการฝึกและจัดการแข่งขัน กองการกีฬาทหารเรือ จากผลงานคว้าเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่น ในโอลิมปิกเกมส์ # 26 ที่แอตแลนตา สหรัฐฯ เมื่อ 5 ส.ค.2539 (7 ส.ค.2536)
ผลงานชกมวย
- ชกมวยไทยตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยประวัติการชกมวยไทยรวม 200 ครั้ง ชนะ 182 ครั้ง เสมอ 2 ครั้ง แพ้ 16 ครั้ง ใช้ชื่อ "พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ" จนได้เป็นแชมเปี้ยนรุ่นเฟเธอร์เวทของเวทีลุมพินี
- เริ่มชกมวยสากลสมัครเล่นปี 2528
ผลงานมวยสมัครเล่น
- เหรียญทองมวยนักเรียนนวมทอง ผ.พ.5 ปีซ้อน
- เหรียญทองมวย กทม.2 ปี
- เหรียญทองมวยกีฬาแห่งชาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งขันดอลิมปิคเกมส์ ประเทศสเปน
- เหรียญทองแดงมวยทหารโลก เดนมาร์ก
- เหรียญทองปรีเอเชียนเกมส์ ญี่ปุ่น
- เหรียญเงินมวยเมเยอร์คัพ ฟิลิปปินส์
- เหรียญทองมวยชิงแชมป์เอเชีย อิหร่าน
- เหรียญเงินมวยชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 ประเทศไทย ปี 2537
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ญี่ปุ่น ปี 2537
- เหรียญทองมวยคิงส์คัพ ครั้งที่ 20 เชียงใหม่ ประเทศไทย ปี 2538
- เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 18 เชียงใหม่ ประเทศไทย ปี 2538
- เหรียญทองมวยคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์ (เลก 3) ประเทศไทย ปี 2539
- เหรียญทองมวยโอลิมปิกเกมส์ # 26 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ ในรุ่นเฟเธอร์เวต โดยชนะเซอราทิน โตโดรอฟ แชมป์โลก 3 สมัยชาวบัลแกเรีย นับเป็นคนไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้หลังรอคอยมานาน 44 ปี (5 ส.ค.2539)
- เหรียญทองมวยสากลสมัครเล่นคิงส์คัพ ครั้งที่ 22 ที่กรุงเทพฯ ปี 41
- เหรียญทองมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 8 ปี 41 ประเทศจีน
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย (ธ.ค.2541)
- เหรียญทองมวยชิงแชมป์ประเทศไทย
- เหรียญทองมวยคิงส์คัพ ครั้งที่ 23 ที่ประเทศไทย (มิ.ย.2542)
- แพ้เป็นหนแรกในรอบ 3 ปี หลังจากได้เหรียญทองจากโอลิมปิกเกมส์ โดยแพ้ต่อ เตอร์กูนอฟ ตุลกุนเบย์ นักชกคู่ปรับเก่าจากอุซเบกิสถาน ในรอบก่อนรองชนะเลิศมวยเวิร์ลด์แชมปเปี้ยนชิพ 1999 ที่ฮิวส์ตัน สหรัฐ (ส.ค.2542)
- เหรียญทองคัดเลือกตัวแทนทวีปเอเชีย ครั้งที่ 2 ปี 2543 ณ ประเทศเกาหลีใต้
- ร่วมแข่งขันโอลิมปิกที่ซิดนีย์ 2000 ในปี 2543 ปรากฎว่าไม่สามารถป้องกันแชมป์รุ่นเฟเธอร์เวทไว้ได้ ทำได้ดีที่สุดคือรอบ 8 คนสุดท้าย โดยแพ้ ริคาร์โด ฮัวเรซ จากสหรัฐฯ ดีกรีนักมวยยอดเยี่ยมของสหรัฐ ปี 1999 ชกครบ 4 ยกปรากฎว่าคะแนนห่างกันที่ 31-16 จึงถูกจับแพ้อาร์เอสซีเนื่องจากแต้มห่างเกิน 15 คะแนน ทำให้สมรักษ์ตกรอบไม่ได้แม้แต่เหรียญทองแดง (27 ก.ย.2543)
- เหรียญทองรุ่นไลท์เวท 60 กก.รายการมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 22 (6 มี.ค.2544)
- 25 ก.พ.2545 คว้าแชมป์ประเทศไทยในรุ่น 60 กก.โดยชนะ สิทธิพงษ์ จันทะสิทธิ์ จากขอนแก่นไป 7-1 ในศึกมวยสากลสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23
- 19 พ.ค.2546 คืนสังเวียนอีกครั้งในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น กีฬากองทัพไทย ครั้งที่ 36 ลงให้ต้นสังกัดกองทัพเรือ รุ่นไลต์เวท ชนะคะแนน อำพน ไชยเทพ เจ้าของเหรียญทองกีฬาแห่งชาติที่ จ.เชียงใหม่ สังกัดทีมตำรวจ ไปขาดลอย 11-0 หมัด รวมทั้งชนะ สุทธิศักดิ์ สมัครสมาน ดีกรีทีมชาติไทย จากกองทัพบก สุดท้ายครองเหรียญทองในรุ่น 60 กก.โดยชนะ "สุทธิศักดิ์ สมัครสมาน" สังกัดกองทัพบก ด้วยคะแนนขาดลอย 12-0
- เหรียญเงินไชน่าอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศจีน พ.ศ. 2547
- 16 ส.ค.2547 ตกรอบแรก แพ้คะแนน "เบอร์นัว โกเด้" นักชกแคนาดาขาดลอย 17-32 คะแนน ในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น โอลิมปิกครั้งที่ 28 "เอเธนส์เกมส์" พร้อมประกาศอำลาเวที
- 16 ก.ย.2547 ประกาศอำลาสังเวียนมวยอย่างเป็นทางการ ระหว่างงานเลี้ยงอำลาทีมชาติที่จัดขึ้น ณ จังหวัดขอนแก่น
เกียรติประวัติ
- เป็นนักกีฬาและนักชกมวยสากลสมัครเล่นเพียงคนเดียวของไทยที่สามารถได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก นับตั้งแต่ไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ปี 1952 เป็นต้นมา กลายเป็นนักชกประวัติศาสตร์ของไทยไปทันที
- ได้รับเหรียญประกาศเกียรติคุณจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี.) ในฐานะเป็นนักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ และทำตัวอย่างที่ดีสมกับเป็นนักกีฬาระดับโลก (19 ก.ย.2539)
- นักกีฬาสมัครเล่นชายดีเด่น ประจำปี 2539 จากการกีฬาแห่งประเทศไทย (16 ธ.ค.2539)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : จตุถดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสได้เหรียญทองจากการชกมวยสมัครเล่น ในโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ (9 ส.ค.2539)