พระอริยบุคคล
พระอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ ทางพุทธศาสนาถือว่าความเป็นพระอริยบุคคลนั้น กำหนดได้ด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้นใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ สังโยชน์มี 10 อย่าง เทียบตามส่วนที่พระอริยบุคคลละได้เป็นลำดับดังนี้
ที่มา: หนังสือ ความรู้สารพัดชื่อ ด้านภาษา วัฒนธรรมไทยและสังคมศึกษา เรียบเรียงโดย สมบัติ จำปาเงิน
พระโสดาบัน
พระโสดาบัน ละสิ่งดังต่อไปนี้
1) สักกายทิฏฐิ - ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน
2) วิจิกิจฉา - ความสงสัยว่าพระวัตนตรัยดีจริงหรือ
3) ศีลพตปรามาส - การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติแล้วจะบรรลุนิพพาน คือพระอรหันต์
พระอนาคามี
พระอนาคามี ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และรวมอีก 2 คือ
4) กามราคะ - ความติดใจในกามารมณ์
5) ปฏิฆะ - ความขัดเคืองใจ
เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี จะเลิกครองเรือน ประพฤติพรหมจรรย์ตายแล้วจะไปเกิดในพรหมโลก
พระสกทาคามี
พระสกทาคามี ละขั้นพระโสดาบัน แต่จิตคลายจากราคะ โทสะและโมหะมากขึ้น เมื่อบรรลุเป็นพระสกทาคามี จะเกิดอีกครั้งเดียว
พระอรหันต์
พระอรหันต์ ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคา พระอนาคามี และรวมอีก 5 คือ
6) รูปราคะ - ความติดใจในรูป เช่นชอบของสวยงาม
7) อรูปราคะ - ติดใจในของไม่มีรูป เช่นความสรรเสริญ
8) มานะ - ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นติดในสมณศักดิ์
9) อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ
10) อวิชชา - ความไม่รู้อริยสัจสี่
เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ หากสิ้นชีวิตแล้วจะไม่เกิดอีก