ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู

     24 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ฮิแรม บิงแฮม (Hiram BingHam III) นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ค้นพบ "มาชู ปิกชู" (Machu Picchu) นครโบราณของชาวอินคา (Inca) ที่หายสาบสูญไปนับศตวรรษ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดีส ในระดับความสูง 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ห่างจากเมืองคุสโซไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเปรู มีพื้นที่ประมาณ 325.95 ตารางเมตร มีการออกแบบภูมิทัศน์ และภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงามและลงตัว มีสิ่งก่อสร้าง ปราสาท โบสถ์ วิหาร อ่างเก็บน้ำ ถนน และพื้นที่เพาะปลูก ลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได แสดงให้เห็นความสามารถในเชิงช่างและสถาปัตยกรรมของชาวอินคาเมื่อหลายศตวรรษก่อนได้เป็นอย่างดี มาชู ปิกชูก่อสร้างในช่วงปี 1993 โดยชาวอินคา ชนเผ่าโบราณที่เคยก่อตั้ง จักรวรรดิอินคา (Inca Empire) ครองอำนาจคลอบคลุมดินแดนแถบอเมริกาใต้ เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ภายหลังได้ถูกกองทัพสเปนเข้ามารุกราน และยึดครองได้ มาชู ปิกชูจึงถูกทิ้งไว้นานกว่าศตวรรษ กลายเป็นนครสาบสูญ จนกระทั่งบิงแฮมมาค้นพบในปี 2454 อีกสองปีต่อมาสมาคมภูมิศาสตร์นานาชาติ (National Geographic Society) ได้มาสำรวจและนำเสนอในนิตยสาร "เนชันแนล จีโอกราฟิก" (National Geographic) นครที่สาบสูญแห่งนี้จึงเริ่มรู้จักในวงกว้าง ต่อมาปี 2491 บิงแฮมก็เขียนหนังสือชื่อ "Lost City of the Incas" กลายเป็นหนังสือขายดีทันทีที่วางแผง ปี 2526 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ก็ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลก ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 มาชู ปิกชูก็ได้รับการโหวดจากคนทั่วโลกให้เป็นหนึ่งใน "เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่" (New Seven Wonders of The World) ปัจจุบันมาชู ปิกชูเป็นโบราณสถานที่สำคัญและเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวของทวีปอเมริกาใต้ มีนักท่องเที่ยวกว่า 4 แสนคนต่อปี (สถิติในปี 2546)

ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู, ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู หมายถึง, ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู คือ, ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู ความหมาย, ฮิแรม บิงแฮม นักโบราณคดีค้นพบ มาชู ปิกชู คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 06 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu