ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคริดสีดวงทวาร, โรคริดสีดวงทวาร หมายถึง, โรคริดสีดวงทวาร คือ, โรคริดสีดวงทวาร ความหมาย, โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
โรคริดสีดวงทวาร

 

โรคริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร        หมายถึง การโป่งพองหรือการขอดของกลุ่มหลอดเลือดดำ บริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่ และขอบรูทวารหนัก

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิดภายใน : เกิดขึ้นเหนือทวารหนักขึ้นไป ปกติจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น คลำไม่ได้ มักจะไม่เกิดอาการเจ็บปวด  รายได้เสริมหลังเลิกงาน/หลังเลิกเรียน รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ อ่านด่วน www.abc.321.cn

ชนิดภายนอก : เกิดขึ้นที่ทวารหนักบริเวณรอยย่นของขอบ ทวารหนัก สามารถมองเห็นได้ และมีอาการเจ็บปวด

สาเหตุ

 ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่มักจะพบว่าสัมพันธ์กับปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิเช่น

-กรรมพันธุ์ พบว่าบุตรของบิดาหรือมารดาที่เป็นโรคนี้ จะมีโอกาสเป็นสูงกว่าบุคคลทั่วไป

-ความผิดปกติที่บริเวณส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ และรูเปิดทวารหนัก ตลอดจนหลอดเลือดบริเวณนั้น

-การยืนหรือนั่ง ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

-ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็ง หรือมีความดันโลหิตสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ

-ท้องผูกและการเบ่งถ่ายของอุจจาระนานๆ การเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ หรือนานๆ ช่วยเร่งการเกิดริดสีดวงทวารหนักได้

-ท้องเดินเป็นประจำ

อาการ

-มีหยดเลือดสีแดงออกมาทางทวารหนัก ระหว่างหรือภายหลังถ่ายอุจจาระ นอกจากนั้นยังอาจจะมีเลือดเคลือบก้อนอุจจาระออกมาได้

-มีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อยื่นออกมาขณะถ่ายอุจจาระ โดยที่ระยะแรกสามารถที่จะหดกลับเข้าไปในรูทวารหนักได้ แต่ถ้าเป็นมากขึ้น ก้อนที่ยื่นออกมาจะไม่หดเข้าไปเอง

-มีอาการอักเสบบริเวณรอบทวารหนัก ได้แก่ อาการบวม ปวด หรือแสบร้อนตลอดเวลา

-มีอาการคันบริเวณของทวารหนัก และอาจจะมีผื่นที่ผิวหนังได้ เนื่องจากเยื่อบุทวารหนักที่ยื่นออกมาก่อให้เกิดความชื้นแฉะ และไม่สะดวกในการทำความสะอาด

ริดสีดวงทวารหนัก แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : หากหัวริดสีดวง อยู่ในรูทวารหนักตลอดเวลา  (ทั้งในเวลาปกติ และเวลาที่เบ่งถ่ายอุจจาระ)แต่ถ้าส่องกล้องเข้าไปทางปลายทวารหนักก็จะพบเส้นเลือดโป่งพอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาท้องผูก

ระยะที่ 2 : หัวริดสีดวงโผล่ออกมาพ้นทวารหนัก เวลาเบ่งอุจจาระ ซึ่งสามารถหดกลับเข้าไปได้เอง

ระยะที่ 3 : หัวริดสีดวงโผล่ออกมาเวลาเบ่งอุจจาระ ไอ จาม หรือยกของหนักหัวริดสีดวงไม่สามารถที่จะหดกลับเอง อาจจะต้องใช้นิ้วดันจึงจะกลับเข้าไปได้

ระยะที่ 4 : เนื่องจากหัวริดสีดวงทวารหนักโผล่ออกมาภายนอก และถูกรัดด้วยหูรูดจึงก่อให้เกิดอาการบวม หรือ อาการอักเสบ ทำให้ไม่สามารถถูกดันกลับเข้าไปได้

การรักษาพยาบาล

ถ้ามีอาการน้อยมีเลือดออกเวลาที่ท้องผูก แก้ไขโดยการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง โดยการแก้ไขอาการท้องผูก ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกากมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาระบายร่วมด้วย

หากมีเลือดออกมากเวลาถ่ายอุจจาระ หรือริดสีดวงทวารโผล่ออกมาเวลา ถ่ายอุจจาระ (ระยะ 1,2) มีวิธี เช่น การฉีดยาเข้าที่หัวริดสีดวง การใช้หนังยางรัด การจี้ด้วยความเย็น การฉายแสงอินฟาเรด มีวิธีการรักษาด้วยยา เช่น การใช้ยาแก้อักเสบ และลดการโป่งพองของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนัก หรือใช้ยาสอดเข้าทางทวารหนักโดยตรง หรือใช้หลายวิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน

สำหรับริดสีดวงทวารหนัก ระยะที่ 3,4 ถือเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดซึ่งจะได้ผลดีที่สุด

การผ่าตัดรักษา ช่วยให้หายจากริดสีดวงทวารหนักระยะที่ 3,4 แต่อาจเกิดโรคซ้ำได้หากยังมีอาการท้องผูกอยู่เป็นประจำในระยะหลังผ่าตัด ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยให้หายขาดจากริดสีดวงทวารหนักคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ขจัดสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนี้ออกไปให้มากที่สุดดังรายละเอียดที่จะอธิบายต่อไป

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

-เตรียมผิวหนังเฉพาะที่ โดยพยาบาลจะโกนขนบริเวณ ทวารหนัก

-ทำความสะอาดร่างกายทั่วไป โดยอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บให้สั้น รวมไปถึงทำความสะอาดปาก และฟัน

-พยาบาลจะสวนอุจจาระ เพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่

-งดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

-เก็บเครื่องประดับ ของมีค่า และฟันปลอม ก่อนไปห้องผ่าตัด

-ถ่ายปัสสาวะก่อนไปห้องผ่าตัด เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

-นอนราบ 8

โรคริดสีดวงทวาร, โรคริดสีดวงทวาร หมายถึง, โรคริดสีดวงทวาร คือ, โรคริดสีดวงทวาร ความหมาย, โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu