เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย
29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจจาณุ (ลำที่ 2) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำต่อที่อู่ต่อเรือ บริษัท มิตซูบิชิ ที่เมืองโกเบ เมื่อปี 2479 ในสนนราคาลำละ 882,000 บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกันคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2479 หลังจากมาถึงประเทศไทย ก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 19 กรกฎาคม 2481 และปลดระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และ เรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนวอยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไปนับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป ปัจจุบันเรือหลวงมัจฉานุได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย, เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย หมายถึง, เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย คือ, เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย ความหมาย, เรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาถึงประเทศไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!