ยี่เข่ง
ยี่เข่ง, ยี่เข่ง หมายถึง, ยี่เข่ง คือ, ยี่เข่ง ความหมาย, ยี่เข่ง คืออะไร
ยี่เข่ง (Indian Lilac)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia indica L.
วงศ์ : Lythraceae
ชื่อสามัญ : Crape myrtle
ชื่ออื่น : คำฮ่อ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 3-7 ม. ผลัดใบ กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยมหรือเป็นปีก ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่กลับถึงรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลมหรือทู่ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ก้านใบยาว 0-3 มม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แบบช่อกระจุกเชิงประกอบหรือช่อแยกแขนง ดอกย่อยสีชมพู สีม่วงหรือสีขาว กลีบเลี้ยง 6 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม กลีบดอก 6 กลีบ บางและเป็นคลื่นมาก ดูคล้ายย่น โคนคอดเรียวเป็นก้านกลีบดอก เกสรตัวผู้มีก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน พวกยาวอยู่รอบนอก มี 6 อัน พวกสั้นอยู่ข้างใน จำนวนมาก อับเรณูสีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ภายในมี 6 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ผล กลม เปลือกแข็ง แห้งแล้วแตก เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-14 มม. เมื่อแก่แตกออกเป็น 6 เสี่ยง เมล็ดเล็ก จำนวนมาก
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เปลือกเป็นยาฝาดสมาน ป่นเป็นผงใช้ในการห้ามเลือด น้ำต้มเปลือกใช้ล้างฝีหนอง เปลือกต้มกับหมู กินแก้ปวดข้อ แก้ช้ำใน และแก้ตกเลือด
- ราก ใช้ต้มกับหมูรับประทานแก้ปวดฟัน ใช้รากแห้ง 3-10 กรัม หรือรากสด 15- 30 กรัม ต้มน้ำรับประทานแก้บิด แก้ฝีมีหนอง ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี ใช้บดเป็นผงทาแผล
- ใบ ใช้ตำพอกทาแก้ผดผื่นคัน รักษาแผลสด แผลมีน้ำเหลือง ใช้ใบสดหนัก 15-30 กรัม หรือใบแห้งหนัก 3-10กรัม ต้มนำรับประทานแก้บิด
- ดอก ใช้ดอกสดต้มรับประทานทั้งกาก แก้ตกเลือดหลังคลอด ใช้ดอกแห้งบดเป็นผง ผสมน้ำส้มสายชูทาฝีมีหนอง สิวมีหนอง ใช้ดอกสดหรือแห้ง ต้มนรับประทานแก้โรคหนองใน แผลฝี กลากเกลื้อน
การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก
ที่มา/ภาพ : สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
ยี่เข่ง, ยี่เข่ง หมายถึง, ยี่เข่ง คือ, ยี่เข่ง ความหมาย, ยี่เข่ง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!