ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคไต, โรคไต หมายถึง, โรคไต คือ, โรคไต ความหมาย, โรคไต คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคไต

โรคไต
 
หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมากได้แก่
   โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่าง ๆ
   โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
   โรคไตอักเสบเนโฟรติก
   โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
   โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
   โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
 
อาการ
ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้  โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสด ๆ เลือดเป็นลิ่ม ๆ
ปัสสาวะเป็นสีแดง  สีน้ำล้างเนื้อ  สีชาแก่ ๆ  หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
 
ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาว ๆ เหมือนฟองสบู่
การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อม ๆ กัน  เป็นข้อสันนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
 
ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี  เช่น พวกผลึกคริสตัลต่าง ๆ เป็นต้น
 
การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะแสบ  ปัสสาวะราด  เบ่งปัสสาวะ  อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ  เช่นกระเพาะปัสสาวะ  ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
 
การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด  ปัสสาวะขุ่น  หรือมีกรวดทราย  แสดงว่าเป็นนิ่วในไต
และทางเดินปัสสาวะ
 
การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง  อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
 
อาการบวม  โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย  โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต  สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมาก ๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
 
ซีดหรือโลหิตจาง  เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ  โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง  เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก   ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง  มีอาการอ่อนเพลีย
เหนื่อยง่าย  หน้ามืด  เป็นลมบ่อย ๆ
อย่างไรก็ตามควรต้องไปพบแพทย์  ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึ
งจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่
 
สาเหตุ
- เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital)  เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน   โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
- เกิดจากการอักเสบ (Inflammation)  เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
- เกิดจากการติดเชื้อ (Infection)  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่  เช่นกรวยไตอักเสบ  ไตเป็นหนอง  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
(จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
- เกิดจากการอุดตัน (Obstruction)  เช่นจากนิ่ว  ต่อมลูกหมากโต  มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต  เป็นต้น
- เนื้องอกของไต  ซึ่งมีได้หลายชนิด
 



คำแนะนำสำหรับคนเป็นโรคไต

คำแนะนำ
1. กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมากร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น  โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง  ซึ่งหมายถึงโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิดจำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน   โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็นหรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้นให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว    ตัวอย่างเช่น
ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน  อาจจำกัดอาหารโปรตีนเพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็นหรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น  ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม  ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน
 
2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ  โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน   ด้วยการจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก  เช่น  ไข่แดง  เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
 
3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง  ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์  ไข่แดง  นม  และเมล็ดพืชต่าง ๆ  เช่น ถั่วลิสง
เม็ดทานตะวัน  เม็ดมะม่วงหิมพานต์  เมล็ดอัลมอนด์   ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว     พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของ
โรคไตวายเรื้อรังให้รุนแรงมากขึ้น   และมีความรุนแรงของการมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น   นอกเหนือจากผลเสียต่อระบบกระดูก
ดังกล่าวข้างต้น
 
4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม  การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก  โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง  แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน  ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม  เช่น  เนื้อเค็ม  ปลาแห้ง
กุ้งแห้ง  รวมถึงหมูแฮม  หมูเบคอน  ไส้กรอก  ปลาริวกิว หมูสวรรค์  หมูหยอง  หมูแผ่น  ปลาส้ม  ปลาเจ่า  เต้าเจี้ยว  งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋อง
 
5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกินน้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ  ควรจำกัดปริมาณแคลอรีให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน
 

โรคไต, โรคไต หมายถึง, โรคไต คือ, โรคไต ความหมาย, โรคไต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu