แนะนำ ให้รู้จัก เวบไซด์ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ที่ลิงค์ ข้างล่าง
https://www.thaifammed.org/
และ
เรื่อง:"จุดประสงค์ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน" ที่เนื้อหาด้านล่างต่อไป
หมายเหตุ: การใช้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ในไทย ดูแลใกล้บ้านก่อน จึงจะไปพบแพทย์เฉพาะทางเมื่อได้รับการส่งตัว จึงจะไปใช้สิทธิรักษาฟรีได้ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก ประหยัด และ มีคุณภาพ
ดังนั้น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะต้องมีจำนวนเพิ่มให้เพียงพอ ประมาณ ครึ่งหนึ่งของจำนวนแพทย์ทั้งหมดในประเทศ
ดูเปรียบเทียบได้จากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพประชาชนได้ดีในราคาถูก
เรื่อง "การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary Health careมากประมาณ90%ของงาน" ที่เวบข้างล่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=1
..................................................................
จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
โดย น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ยินดีรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่
อีเมลล์แอดเดรส tsumruang@hotmail.com หรือ
โทรฯมือถือ 089-611-2714 เวลากลางวันทุกวัน
บล็อกแก็งค์: www.samrotri.bloggang.com
..............................................................
คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกนี้แล้วจะพบเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เพราะผู้เขียนศรัทธาในการเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน ว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศได้
ถ้าสนใจจะอ่านข่าวเรื่องอื่นๆ เพิ่มสามารถเข้ามาค้นหาเองได้ ขอเชิญคลิกเข้ามาดูบล็อกทางด้านซ้ายมือและลิงค์ทางด้านขวามือของท่านด้วย จะมีเนื้อหาอีกมากมาย ขอเชิญเข้ามาเลือกดูได้
หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าวไว้มาก
หลายเรื่อง เพื่อนำมาใช้อ้างอิงได้ถ้าวันนี้ยังไม่ใช้วันหน้า
เกิดนึกถึงจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา
....................................................................
ในปัจจุบันมีแพทย์เฉพาะทาง หลายสาขา เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ถ้า ต้องเลือกไปหาแพทย์เฉพาะทาง แต่ละสาขานั้นๆ ด้วยตัวคนไข้เอง จะไม่สะดวกในการเลือก ถ้าป่วยด้วยโรคหลายสาขา ไม่ทราบว่าจะไปสาขาใดก่อน/หลัง ไปที่ใด ไปอย่างไร ต้องดูแลเบื้องตันอย่างไร เป็นต้น
แต่ถ้ามีแพทย์สาขาที่สามารถดูแลคนไข้ทุกสาขาได้ในแพทย์คนเดียว มีสถานที่ทำงาน(ศูนย์สุขภาพชุมชน)อยู่ใกล้บ้านคนป่วย มีความสนิทสนมดูแลอยู่เป็นประจำ ที่จะให้คำปรึกษา และ ให้การรักษาเบื้องต้นได้
เมื่อเกินความสามารถก็เขียนใบส่งตัวไปพบ แพทย์เฉพาะทางที่เหมาะสมให้ และ
ในกรณี ฉุกเฉิน ถ้าไม่มีรถเอง ทางศูนย์สุขภาพชุมชน ก็มีรถส่งต่อให้ มีพยาบาลดูแลในรถให้ด้วย
จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมาก แพทย์สาขานั้น คือ
แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
ที่จะดูแลประชาชนในความรับผิดชอบ ตามพื้นที่ ตามเกณฑ์
ซึ่ง จะมีการกำหนดให้ แพทย์ 1 คนดูแลประชากรตามจำนวนที่เหมาะสม ร่วมกับ ทีมสุขภาพ จากโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นๆ
ทีมสุขภาพ ด้งกล่าว ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และ อื่นๆ ตามเกณฑ์ ของกระทรวงฯที่กำหนดขึ้น ให้มาปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และ ช่วยพัฒนาสถานีอนามัยให้จนได้ตามเกณฑ์ของ ศูนย์สุขภาพชุมชน ก็จะได้รับการรับรองเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนต่อไป ศูนย์สุขภาพชุมชนนี้มีจะมีประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขมากดังต่อไป คือ
1.เป็นสถานบริการด่านแรก
ทำให้ประชาชนสะดวกในการเข้าถึงบริการ เพราะ อยู่ใกล้บ้าน มีทีมสุขภาพของโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นมาตรวจรักษาให้ตามที่จะมาได้ เช่น ในปัจจุบันที่ร.พ.พนมฯมาได้เพียง สัปดาห์ละครึ่งวันเช้า แค่ 2 สถานีอนามัย โดยมี 2 ทีมสุขภาพที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นออกมา แต่ตามเกณฑ์จะต้องมามากกว่านี้ ต้องมาทุกวัน ในวันราชการ และต้องมาทุกสถานีอนามัย เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามเกณฑ์ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ทุกสถานีอนามัยกลายเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ทั้งหมดครบ100%
แต่ละทีมออกพื้นที่รับผิดชอบของ ทีมเอง ตรวจรักษาให้ และ ระหว่างที่ไม่ได้มา ก็เป็นที่ปรึกษา กับทางศูนย์สุขภาพชุมชนได้ สามารถปรึกษาได้ตลอดทางโทรศัพท์ โดย ในเวลาราชการ สามารถ ปรึกษาแพทย์เจ้าของพื้นที่ได้ทางโทรศัพท์ ร.พ./มือถือ และ ช่วงนอกเวลาฯ สามารถปรึกษาแพทย์เวร ร.พ.ทางโทรศัพท์
2. ช่วยทำให้โรงพยาบาลมีคนไข้น้อยลงได้มีเวลาให้การรักษาที่มีคุณภาพมากกว่าตอนคนไข้มากต้องรีบๆตรวจ
จากคนไข้ป่วยเล็กน้อย ก็สามารถมารับการรักษาใกล้บ้านที่ศูนย์สุขภาพชุมชน มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกินความสามารถต้องส่งร.พ.จึงลดความแออัดที่ร.พ.ลงได้
ถ้าสถานีอนามัยมีคุณภาพ จนได้รับการรับรองเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ตามมาตรฐานแล้ว ถ้าประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมาร.พ.เองโดยไม่ผ่านศูนย์ฯ จะต้องเสียค่ารักษาเอง จะเป็นการกำหนดให้ประชาชน ต้องรักษาที่ศูนย์ฯ ใกล้บ้านก่อน จึงจะมารักษา ร.พ.ได้ทำให้ ร.พ.คนไข้ลดลงไปเพิ่มมากขึ้นที่ใกล้บ้าน(ศูนย์สุขภาพชุมชน)สะดวกต่อคนไข้ สุขภาพดีขึ้นในราคาถูก และ แพทย์พร้อมทีมสุขภาพ ได้เปลี่ยนบรรยากาศ ออกตรวจคนไข้นอกสถานที่ช่วงเช้า ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนตอนบ่ายก็กลับ ร.พ.มาดูแลคนไข้ในพื้นที่รับผิดชอบที่มานอนรักษาที่ร.พ.
*ยกเว้นในกรณีอุบัติเหตุ หรือ ฉุกเฉิน คนไข้สามารถมาได้ทัันทีไม่ต้องผ่านศูนย์ เพื่อได้ใบส่งตัว
ดูเพิ่มเติมได้ที่"แนวทาง การดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ" ที่เวบข้างล่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&blog=2
3.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลง
1.ของศูนย์สุขภาพชุมชน:จากการที่ทีมสุขภาพจากร.พ.ในพื้นที่นั้น มาทำการรักษาใกล้บ้านให้ คนไข้ป่วยเล็กน้อยก็สามารถมาใช้บริการได้แต่เริ่มป่วย ไม่ต้องรอให้ป่วยหนักจึงเหมารถมาร.พ.ทำให้ค่ารักษาน้อยลงลดโรคแทรกซ้อนและความพิการ ตัวอย่าง แทนจะเป็นปอดอักเสบ จากเป็นหวัด ไม่ได้รับการรักษาและคำแนะนำแต่เริ่มแรก มาหาช้า
และ เจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนออกเชิงรุกเข้าไปดูแลเยี่ยมบ้านเพื่อ ทำงานส่งเสริม ป้องกัน ค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเจ็บป่วย ค้นหาผู้ป่วย และ ฟื้นฟู ฯลฯทำให้คนป่วยน้อยลง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีงานน้อยลง และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะถูกลง คนไข้น้อยลงด้วย
2.ของประชาชนเอง:จากการที่เจ็บป่วยไม่ต้องเดินทางมา ร.พ.ที่อยู่ห่างจากบ้าน เป็นเดินทางมาศูนย์ฯใกล้บ้านแทน ค่าใช้จ่ายการเดินทางถูกลง ไม่เสียเวลาเดินทาง และ การมาหาเร็วทำให้รักษาง่าย หายเร็ว ไม่ป่วยหนักจนมีโรคแทรกซ้อน
หมายเหตุ:เมื่อประชาชนเข้ามารับบริการตามเครือข่าย ตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่เสียค่าบริการจะใช้ตามสิทธิรักษาฟรีได้
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
โดย น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
.................................................................
เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของประชาชน ให้มีแนวคิด ที่จะดูแลตนเองไม่ให้ป่วย โดยการใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับโรค และ นำความรู้ที่ได้มาเปลี่ยนทัศนคติ จากการรอให้ป่วยแล้วมารักษา เป็นทำอย่างไรจะได้ไม่ป่วย และ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย แทน การมาหา เพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น ตามแนวทาง KAP:K-Knowledge,A-Attitude,P-Practise
ผลจะทำให้
1.ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลดลง แทนที่จะเพิ่มขึ้น 20% ทุกปีเหมือนเดิม ที่ การสาธารณสุข มุ่งรักษาอย่างเดียว ไม่มุ่งเน้นเรื่องการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรีบรักษาเมื่อเริ่มป่วย และ การฟื้นฟูสุขภาพหลังหายป่วยให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
2.ผลจากการมีการมีแนวคิดใหม่นี้ จะมีผลทำให้ ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนสะดวกในการเข้าถึงบริการ มีประสิทธิภาพ ในราคาถูก ได้ในที่สุด
เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน คือ ทำอย่างไรให้ไม่เกิดโรค หรือ เกิดโรคแล้ว ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นมาก หรือ ทำอย่างไร ไม่ให้มีความพิการ หรือ เสียชีวิต
การเกิดโรคนั้น เกิดจากการเสียสมดุลย์ ของ 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่
1.คน (Host)อ่อนแอ
2.สิ่งที่ก่อให้เกิดโรค(Agent)
3.สิ่งแวดล้อม(Environment)ไม่ถูกสุขลักษณะ
นำมาทำให้เป็นรูปธรรม เรียกว่า
โครงการ "เมืองไทยแข็งแรง" มี 8 ตัวชี้วัด ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี
ที่จะต้องปรับปรุงให้ถูกต้อง คือ
อ.1อาหาร มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ว่าปลอดภัย ทานแต่พอเหมาะไม่มาก หรือ น้อยเกินไป
อ.2ออกกำลังกายที่เหมาะสม30นาทีต่อวัน และ สม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ3วัน
อ.3อารมณ์ และ สุขภาพจิตดีไม่มองโลกในแง่ร้าย
อ.4อนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะ
อ.5อโรคยา:ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ตาม 8 อ.นี้และ การตรวจสุขภาพประจำปีฯลฯ
อ.6อบายมุขควรละเลิก
อ.7อาชีพสุจริตและมีรายได้เพียงพอตามปรัชญา"เศรษฐกิจพอเพียง"
อ.8องค์ความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตด้านสุขภาพและการดำรงชีวิต ค้นหา,เปลี่ยนทัศนคติ และ นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย
โครงการนี้ จะสำเร็จ ได้ ต้องอาศัย แนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=11&blog=3
ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ที่เสนอว่าการแก้ปัญหายากๆ นั้น ต้องแก้ 3 ด้านพร้อมกัน เมื่อสมดุลย์ได้เหมาะสมก็จะแก้ปัญหาได้มี 3 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1.ประชาชน ต้องเข้าถึงความรู้ จนเกิดการเปลี่ยนทัศนคติของตนเองให้ถูกต้อง เรื่อง "การป้องกันไม่ให้ป่วยดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารัษา"และ นำไปปฏิบัติเป็นนิสัย แทน การมาหาเพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น เช่น การมีอินเตอร์เนตทุกบ้านสามารถใช้อินเตอร์เนตค้นหาข่าวที่ต้องการได้จากการค้นหาจากกูเกิ้ลwww.google.com
ด้านที่2.มีองค์กรที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์กรบริหารส่วนตำบล,ศูนย์สุขภาพชุมชน,โรงพยาบาลและ โรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ ที่คอยกำกับดูแล ให้ประชาชนยังคงทำตามแนวทางการสร้างสุขภาพ แทน ซ่อมสุขภาพ ตามแนวทาง โครงการเมืองไทยแข็งแรง ข้างต้น โดยออกระเบียบ หรือ การสร้างวัฒนธรรม ของสังคมขึ้นบังคับ ให้ประชาชน ต้องปฏิบัติ เมื่อต้องการจะเป็นสมาชิกของชุมชน
ด้านที่3.การมีกฏหมายมาบังคับใช้ให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปได้ ได้แก่
พ.ร.บ.ปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้มุ่งเน้น "การสร้างนำซ่อมสุขภาพ" พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ และ ฯลฯ นำมาใช้บังคับให้ประชาชนต้องทำตามกฏหมาย เช่น กฏหมายใส่หมวกกันน๊อค กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฯลฯ ถ้าไม่ทำตามมีบทลงโทษ บังคับ ให้ไม่กล้าฝืนกฏหมาย
ถ้ามีการออกกฏระเบียบโรคที่ทราบสาเหตุ และ สามารถป้องกันได้ ถ้าป่วยด้วยโรคเหล่านี้บ่อย ควรจะให้จ่ายค่ารักษาเองเมื่อป่วยบ่อยเกินค่ามาตรฐาน เช่น กำหนด ว่าป่วยด้วยไข้หวัด รักษาฟรี ได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี ถ้าป่วยครั้งที่ 4 ด้วยไข้หวัดอีกต้องเสียเงินเอง เป็นต้น
ปัจจุบันยังไม่มีกฏระเบียบนี้ ขอเสนอว่าน่าจะมีการออกขึ้นมาตามแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มาบังคับให้คนใส่ใจการไม่ป่วยบ่อยเกินค่ามาตรฐาน โดย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่ีดูแลประชาชนใกล้บ้าน ที่ เป็นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน ด้วย ในแพทย์คนเดียวกัน จะช่วยให้แนวคิดของการเกิด ภาพ เมืองไทยแข็งแรง ได้อย่างยั่งยืน