สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการออกแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และได้มอบหมายให้คณะช่าง 10 หมู่ จำนวน 5 คน ได้แก่ นายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7ว. นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรม 5 นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ 6ว. นายอัครพล คล่องบัญชี จิตรกร 5 และนายเจริญ ฮั่นเจริญ จิตรกร 5 โดยให้ออกแบบตราสัญลักษณ์คนละ 3 แบบ ได้มาทั้งหมด 12 แบบ จากนั้นกรมศิลปากรได้รวบรวมแบบตราสัญลักษณ์ทั้ง 12 แบบ ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระราชวินิจฉัย และกรมศิลปากรได้รับรายงานกลับมาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบที่ 12 ซึ่งเป็นผลงานออกแบบของนายสุเมธ พุฒพวง ทั้งนี้ เมื่อนำแบบตราสัญลักษณ์ดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งให้ปรับแก้ถึง 3 ครั้ง กว่าจะได้เป็นแบบตราสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งแสดงออกถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ทางด้านงานจิตรกรรม
นายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7 กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมศิลปประยุกต์และลายรดน้ำ ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ 80 พรรษาฯ ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ในครั้งนี้ ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานที่เป็นเกียรติต่อตัวเองและครอบครัว ที่มีโอกาสได้ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้ดีที่ได้ ส่วนแนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบด้วย
พระราชลัญจกรรัชกาลที่ 9 แทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
พระมหาพิชัยมงกุฎ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร 9 ชั้นไว้ด้านบนสุด และพระเศวตฉัตร 7 ชั้น หมายถึง เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์
เลขไทย 80 ที่อยู่ด้านล่างและเพชร 80 เม็ดที่อยู่รอบ ๆ ตราสัญลักษณ์ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
แพรแถบสีชมพู บอกชื่อตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การใช้แพรแถบสีชมพูว่าเนื่องมาจากว่า สีชมพูเป็นสีประจำอายุตามหลักโหราศาสตร์ไทย หมายถึง การมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์
พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ เป็นพระที่นั่งที่มีความสำคัญเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับพระที่นั่งดังกล่าวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเสด็จประทับให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ถวายพระพรที่รัฐสภา ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยให้เขียนดอกพิกุลจำนวน 9 ดอก บริเวณแท่นแปดเหลี่ยมรองรับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ด้วย
สำหรับประชาชนหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอใช้ตราสัญลักษณ์ และการประดับธงตราสัญลักษณ์มีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1.กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใดๆ ก็ตามให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการเพื่อพิจารณาคำขออนุญาต
2.โครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ จากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้วสามารถนำไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้ทันที โดยให้แจ้งสำนักราช เลขาธิการทราบ เพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยกเว้นโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน
3.ให้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้าและประดับตราสัญลักษณ์ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา หมายถึง, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา คือ, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ความหมาย, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา คืออะไร
สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา หมายถึง, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา คือ, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ความหมาย, สัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!