ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร หมายถึง, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร คือ, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร ความหมาย, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรไทย ก่อให้เกิดความพิการเป็นภาระการดูแลของครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ


สาเหตุของโรค

        คนทั่วไปอาจใช้คำว่า อัมพฤกษ์ , อัมพาต สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดแดง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว มีพลาก (Plaque) เกาะที่ผนังหลอดเลือด จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดตีบ เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โดย 80% เป็นชนิดหลอดเลือดตีบ , อุดตัน (Cerebral Infarction) อีก 20% เป็นชนิดหลอดเลือดสมองแตก (Cerebral Hemorrhage)


อาการของโรค

มักเกิดขึ้นฉับพลัน เป็นทันที 5 อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองที่ควรทราบ ได้แก่
        1. มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวหรือชา ครึ่งซีก เป็นทันทีทันใด 
        2. พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจภาษา พูดอ้อแอ้ไม่ชัด เป็นทันทีทันใด 
        3. ตาข้างใด ข้างหนึ่ง มองไม่เห็น หรือมองเห็นครึ่งซีกของลานสายตา หรือเห็นภาพซ้อนเป็นทันทีทันใด 
        4. เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง เดินเซ คล้ายคนเมาเหล้า เป็นทันทีทันใด 
        5. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาเจียนหรือหมดสติ เป็นทันทีทันใด ในบางราย อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายเองเป็นปกติ เช่น อาจมีอาการอ่อนแรงอยู่ 30 นาทีแล้วดีขึ้นปกติ ทำให้นิ่งนอนใจ ไม่พบแพทย์ เนื่องจากไม่ทราบว่า นี่คืออาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มที่เป็นชั่วคราวแล้วดีขึ้นนี้ ทางการแพทย์เรียกว่า

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดทางระบบประสาท และระบบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจทางห้องปฎิบัติการ ได้แก่
        1. การตรวจเม็ดเลือด ในบางรายอาจมีภาวะเลือดหนืด ความเข้มข้นเลือดสูง ก่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก มักพบในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จัด หรือเป็นโรคเลือดบางชนิด 
        2. การตรวจระดับน้ำตาล เพื่อช่วยวินิจฉัย โรคเบาหวาน หรือในรายที่เป็นเบาหวาน และใช้ยาลดน้ำตาล อาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ซึ่งทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้ 
        3. การตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูง และให้การรักษาร่วมด้วย 
        4. การตรวจการแข็งตัวของเลือด (Coagulogram) อาจพิจารณาตรวจในบางราย ช่วยให้ทราบภาวะการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคได้ 
        5. การตรวจระดับเกลือแร่ในเลือด (Electrolyte) ช่วยแยกภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ เช่น เกลือแร่ต่ำ อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง 
        6. การตรวจเลือดเพื่อดูระบบการทำงานอื่นร่วมด้วย เช่น การทำงานของไต หรือ เอนไซม์ ของตับ เพื่อประกอบการพิจารณาให้ยา 
        7. การตรวจทางรังสีวิทยา ได้แก่
            7.1 เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ข้อดีคือ สามารถทำได้รวดเร็ว เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ (64 Slice CT Scan) สามารถตัดภาพเอ็กซเรย์สมองได้ละเอียดกว่ารุ่นเก่าๆที่เคยใช้กันมา สามารถทำได้รวดเร็ว มีประโยชน์ในการแยกโรคให้ชัดเจน ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก อีกทั้งยังช่วยแยกภาวะก้อนเนื้องอกในสมอง ฝีในสมอง ที่อาจมาด้วยอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้ 

            7.2 เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance Imaging) ช่วยให้เห็นความผิดปกติของเนื้อสมอง ที่ได้รับความเสียหายจากการขาดเลือด ให้รายละเอียดความแม่นยำ ประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคได้ดีกว่าการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางรายที่ทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เร่งด่วน หรือความผิดปกติในเนื้อสมองมีขนาดเล็ก อาจไม่เห็นสิ่งผิดปกติในการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ได้

            MRA (Magnetic Resonance Angiography) ช่วยให้เห็นความผิดปกติ ของหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่หลอดเลือดที่คอขึ้นไปถึงหลอดเลือดในสมองอย่างละเอียด มักนิยมทำควบคู่กับ MRI เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังในผู้ที่ใส่เหล็กในตัว เช่น ผ่าตัดใส่เหล็กที่กระดูก หรือมีเครื่องกระตุ้นหัวใจอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตรวจ 

            7.3 การตรวจอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound) ช่วยในการวินิจฉัย ภาวะของหลอดเลือดแดงตีบที่คอ หรือ ภาวะที่มีพลาก (Plaque) เกาะผนังหลอดเลือดแดงที่คออันอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของหลอดเลือดในสมองได้

 



การรักษาและการดูแล

ในกลุ่มที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ( Acute Ischemic Stroke ) ปัจจุบันมีการพัฒนายาสลายลิ่มเลือด ( rtPA : recombinant tissue plasminogen activator ) เพื่อใช้รักษาภาวะหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน มีการศึกษาถึงประโยชน์ที่ได้รับยานี้ เมื่อติดตามผู้ป่วยเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ให้ผลลัพธ์ ( Outcome) ที่ดีกว่า ข้อบ่งชี้ใช้ในรายที่มีอาการนับจากเริ่มเป็น จนถึงวินิจฉัยได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกเป็นข้อแทรกซ้อนที่สำคัญ โดยมาตรฐาน แพทย์จะต้องประเมินว่าไม่มีข้อห้ามต่างๆประมาณ 12 ข้อ และมีการตรวจเลือดตามข้อกำหนดมาตรฐาน และผลเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจะต้องไม่เห็นลักษณะเนื้อสมองตายแล้ว ต้องทราบเวลาที่เริ่มเกิดอาการอย่างชัดเจน เมื่อแพทย์พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ญาติผู้ป่วยจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่ายินยอมรับการรักษาด้วยยานี้หรือไม่ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรรีบมา รพ. เร็วที่สุด เนื่องจากกระบวนการวินิจฉัยตลอดจนการตรวจผลเลือด ตามมาตรฐานที่กำหนดต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

นอกจากยากลุ่มนี้ มีการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet Drug ) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ( Anticoagulant drug ) ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุและโรคร่วม เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ตลอดจนควบคุมโรคประจำตัว และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

ส่วนกลุ่มที่ เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองแตก อยู่ในดุลพินิจของศัลยแพทย์ระบบประสาทว่าจำเป็นต้องได้รับ การผ่าตัดร่วมด้วยหรือไม่ และการรักษาโรคร่วมอื่นๆ


การป้องกันโรค

การตรวจสุขภาพประจำปี 
       ควบคุมโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในรายที่เคยมีอาการหลอดเลือดสมองตีบแล้ว การทานยาตามแพทย์สั่งช่วยลดโอกาสการเกิดซ้ำได้ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ควบคุมความดัน 
       เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ดังนั้นจึงต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1

โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร หมายถึง, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร คือ, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร ความหมาย, โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้อย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu