ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคพืชวิทยา (Plant pathology), โรคพืชวิทยา (Plant pathology) หมายถึง, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) คือ, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) ความหมาย, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคพืชวิทยา (Plant pathology)

         โรคพืชวิทยา (Plant pathology) มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ pathos(suffering) หมายถึง การทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บป่วยหรือความเสียหายและlogos (speech) หมายถึง การกล่าวถึง ดังนั้นโรคพืชวิทยาจึงหมายถึง การกล่าวถึงความเสียหายของพืช ส่วนคำว่าโรคพืช(plant disease) หมายถึงพืชที่มีอาการได้รับ ความเสียหาย

          พืชปกติ หมายถึง พืชที่มีสรีรวิทยาต่างๆทำหน้าที่ปกติได้ดีที่สุดตามความสามารถของสายพันธุ์ เช่น การแบ่งเซลล์ การดูดซึมแร่ธาตุอาหาร การสังเคราะห์แสง เป็นต้น

          โรคพืช ตามความหมายในพจนานุกรมธรรมดา อธิบายไว้ 2 ความหมายคือ

          1. โรคพืชจะแสดงลักษณะอาการ(symptoms) ออกมาให้เห็นในอาการของพืชที่ได้รับความเสียหาย(malady) การผิดไปจากปกติของพืช(disorder)
          2. การเปลี่ยนแปลงใดๆที่ผิดไปจากพืชปกติ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของพืช โดยแสดงอาการออกมาให้เห็นทางด้านคุณภาพและ/หรือ คุณค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง

          ตามความคิดเห็นของนักโรคพืชต่างๆ ได้ให้ความหมายของโรคพืชไว้ว่า โรคพืชเป็นการเปลี่ยนแปลงขบวนการใช้พลังงานในระบบการดำรงชีวิตของ พืชไปจากปกติ ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พืชทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำลง



สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases)

สาเหตุของการเกิดโรค(Causes of plant diseases) แบ่งเป็น 2 สาเหตุคือ

          1. สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งมีชีวิต(Biotic pathogen) ได้แก่
               - พวกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไวรอยด์ เป็นต้น
               - พวกที่ไม่ใช่เชื้อโคแต่ทำความเสียหายให้กับพืช เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ นก แมลง ไร ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
               - พวกที่เป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น กาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น

          2.สาเหตุที่เกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต(Abiotic pathogen) ได้แก่
               - สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น ลม ดิน น้ำ เป็นต้น
               - มลภาวะเป็นพิษ เช่น มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน มลพิษจากการเผาหญ้า
               - ปัจจัยทางเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่างของดิน,น้ำ

          โรคพืชนั้นอาจเป็นทั้งโรคที่ติดเชื้อ(Infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อที่มีชีวิตเป็นเชื้อก่อโรค พืชจะมีปฏิกิริยาตอบโต้การติดเชื้อและ สามารถแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆได้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ (Non infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากสาเหตุ นอกเหนือจากโรคติดเชื้อโรคจะไม่สามารถระบาดจากต้นที่เป็นโรค ไปยังพืชปกติได้



ส่วนประกอบของโรค (Disease components)

          ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย

ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่

          1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
          2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
          3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
          4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปีย

          ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น



การจำแนกโรคพืช

         1. การจำแนกโดยอาศัยอาการของพืชที่เป็นโรค จำแนกโดยการใช้อาการของพืชเป็นหลักเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไป เช่น โรครากเน่า โรคใบจุด โรคราสนิม โรคเหี่ยว เป็นต้น การแบ่งดังกล่าว เป็นการซับซ้อนกันโดยชื่อโรคเดียวกันนั้นอาจเกิดจากจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ซึ่งต่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันทำให้ในแง่ของ การปฏิบัติเช่นการควบคุมโรค ไม่ต้องสมบูรณ์ได้
          2. การจำแนกโดยอาศัยส่วนของพืชที่เป็นโรค จำแนกออกเป็นกลุ่มโดยการใช้ส่วนของพืชที่เป็นโรค ได้แก่ โรคที่ผล โรคที่ลำต้น โรคที่ใบ โรคที่ราก การแบ่งแบบนี้ไม่เหมาะกับงาน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะไม่มีส่วนที่แสดงให้ทราบถึงโครงสร้าง สรีรวิทยาของพืชที่เป็นโรคและเชื้อสาเหตุ
          3. การจำแนกโดยอาศัยแบบของพืชที่เป็นโรค เป็นการแบ่งอย่างกว้างๆโดยใช้แบบของพืชเป็นหลัก แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรคของพืชไร่ โรคของผัก โรค ของไม้ผล โรคของป่าไม้ โรคไม้ดอกไม้ประดับ โรคของสนามหญ้า เป็นต้น
          4. การจำแนกโดยอาศัยความเสียหายและการแพร่ระบาดของโรค การทำความเสียหายของพืชแต่ละชนิดกันจะมีความแตกต่างกัน โรคบางชนิดจะทำลายพืชให้ตายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ ทำความเสียหายแก่พืชอื่นเลย โรคที่ทำความเสียหายให้มากที่สุดนอกจากจะทำให้พืชตายหรือลดผลผลิต ให้ต่ำลงแล้วยังต้องแพร่ระบาดจากต้นที่เป็ฯโรคไปยังต้นอื่น ท้องที่อื่นๆอีกด้วย การแบ่ง แยกโรคลักษณะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมมือในชาติและ ระหว่างชาติในการป้องกัน
          5. การจำแนกโดยอาศัยแบบของสาเหตุของพืชที่เป็นโรค ได้แก่โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

 



ตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับพืช

          1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราสนิม,โรคราเขม่าดำ, โรค ergot ของข้าวไรน์และข้าวสาลี, โรคใบไหม้มันฝรั่ง, โรคราน้ำค้างองุ่น, โรคใบจุด สีน้ำตาลข้าว
          2. โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคใบด่างอ้อย
          3. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม
          4. โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ได้แก่ โรครากปม

โรคพืชวิทยา (Plant pathology), โรคพืชวิทยา (Plant pathology) หมายถึง, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) คือ, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) ความหมาย, โรคพืชวิทยา (Plant pathology) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu