เครื่องเทศสำคัญในแกงจืดอย่างขมิ้นสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางระบบประสาทและลดผลกระทบจากโรคเสี่ยงการเกิดกับระบบเส้นประสาทอย่างอัลไซเมอร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้นักวิจัยยังยืนยันถึงประสิทธิภาพยอดเยื่ยมของเครื่องเทศในการต่อสู่กับปฏิฏิริยาออกซิเดชั่น ศัตรูร้ายทำลายเซลล์สมองโดยเฉพาะในหน่วยความจำ เมื่อเราอายุมากขึ้นปฎิกิริยาออกชิเดชั่นจะโจมตีเซลล์สมองมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่เปราะบางและไวต่อการถูกทำลายจากปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าส่วนอื่นๆ
สมองจำต้องสร้างยีนที่มีชื่อว่า Hemeoxygenase-1 (HO-1) ขึ้นมาเพื่อต่อกรกับออกซิเดชั่น และยีนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมองถูกกระตุ้นเท่านั้น สารกระตุ้นดังกล่าวก็พบมากในขมิ้นนั้นเองนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาราเนียในอิตาลีและนิวยอร์กยืนยันถึงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นที่มีผลต่อการกระตุ้นยีน HO-1ว่าช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์สมองถูกทำลายโดยออกซิเดนท์ได้เป็นอย่างดี
เมื่อสมองเกิดสภาวะออกซิเดชั่นเซลล์สมองจะเกิดการอักเสบและค่อยๆ ตายไปในที่สุด ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อของเส้นประสาทถูกทำลายและนำไปสู่โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ขมิ้นจึงไม่ใช้เพียงแต่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังบำรุงของเราให้แยบคมตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในประเทศอินเดีย แหล่งเครื่องเทสสำคัญของโลกและนิยมใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอาหารมีการทดลองเพื่อค้นหาคุณประโยชน์ของขมิ้นที่นอกเหนือไปจากสรรพคุณในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไวเมอร์อย่างกว้างขวาง และพอว่าสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในขมิ้นเป็นกุญแจในการถนอมอาหารนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมนูอาหารแต่โบราณหลายๆ จานมีขมิ้นเป็นส่วนประกอบอีกทั้งยังได้สี กลิ่น และรสชาติเป็นของแถมอีกด้วย
บรรดาเครื่องเทศต่างๆ นั้นมีสารปฎิชีวนะป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอาหารได้มากกว่า 75% เม็ดสีในเครื่องเทศคือส่วนที่มีสารปฏิชีวนะดังกล่าว นักวิจัยจากศูนย์โรคอัลไซเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ ระบุว่าขมิ้นมีสารสำคัญที่ไม่พบในเครื่องเทศชนิดอื่นในการยัยยั้งไม่ให้เกิดกลุ่มก้อนโปรตีนเล็กๆ ในสมองของผู้ป่วยอัลไวเมอร์ที่เรียกว่า Amyloid Plaques โดยสารในขมิ้นจะเข้าผ่ากลางกลุ่มโปรตีนดังกล่าวไม่ให้รวมตัวกัน
ดร. Sally Frautschy ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอแนะนำให้รับประทานขมิ้นให้ได้ 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง อาทิตย์ละครั้งถือว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายแล้ว ขณะเดียวกันเรายังพบสารแอนตี้ออกซิเดนในเครื่องเทศชนิดอื่นอย่างขิงและอบเชย ซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับขมิ้น รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์สมองได้อย่างดี
ที่มา : นิตยสาร เคล็ดลับการกินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ที่มาข้อมูลและภาพ krabork.com