ใครหลายคนคงมีความเชื่อว่าหากจับเนื้อต้องตัวกบหรือคางคก อาจจะเป็นหูดได้
ความเชื่อที่บอกว่าหากจับเนื้อต้องตัวกบหรือคางคกแล้วจะเป็นหูดได้ ความจริงแล้วไม่ใช่เลย แต่ถ้าจะเป็นหูด ต้องได้รับเชื้อไวรัสบางชนิดที่ผิวหนัง ไม่ใช่จากการจับถูกตัวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างกบ หรือ คางคก อันที่จริงผิวหนังที่เป็นมันลื่นของกบ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นในเวลาที่กบไม่ได้อยู่ใน น้ำเท่านั้นเอง
ส่วนผิวปุ่มๆ ของกบหรือคางคกบางชนิดนั้นใช้สำหรับการพรางตัวให้พ้นจากการล่าหรือถูกจับกิน หรือซ่อนตัวเพื่อหาอาหารโดยปลอมแปลงสีให้ดูคล้ายกับใบไม้ กิ่งไม้ หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ แต่สารที่หลั่งจากต่อมบริเวณกระหม่อมของกบและคางคก อาจมีพิษระคายเคืองต่อผิวหนัง และอาจมีพิษต่อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข เพราะถ้าสุนัขไปคาบคางคกเข้าละก็ปากจะบวมเป่งจนน่ากลัว จนต้องพาไปหาหมอฉีดยาโดยด่วนเลย รู้อย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องกลัวที่จะจับกบหรือคางคกอีกต่อไป รับรองว่าไม่เป็นหูดอย่างที่คิดแน่นอน
กบรู้ได้อย่างไรว่าฝนจะตก