ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ หมายถึง, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ คือ, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ ความหมาย, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ

       น้ำนี้ดีมีประโยชน์ เพราะนอกจากจะดื่มแล้วแก้กระหาย สร้างความกระชุ่มกระชวยมีชีวิตชีวาให้กับร่างกาย และลดสารพิษในร่างกายแล้ว รู้ไหมหากเราเลือกดื่มน้ำตามธาตุของตัวเอง มันจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ทีนี้ตัวเราเองธาตุอะไรล่ะผู้มีภูมิปัญญาชาวไทยแบ่งไว้นานแล้ว ก่อนที่จะมีการวิจัยถอดรหัสจีโนมหรือทำแบบแผนพันธุกรรมมนุษย์ เพื่อให้หมอจ่ายยา (ฝรั่ง) ให้ถูกกับคนไข้แต่ละรายเสียอีก
 
       แต่ก่อนจะมาดูว่าเราต้องกินน้ำอะไรให้เหมาะกับธาตุของตัวเอง ก็มาตรวจดูธาตุตามราศีเกิด หรือตามลัคนากันซะก่อน แล้วค่อยจัดแจงปรุงน้ำดื่มตามธาตุ เพื่อความมีสุขภาพดี

มาดูกันเลยว่า คุณเป็นคนธาตุใด
+ราศีเมษ 13 เมษายน - 13 พฤษภาคม ธาตุไฟ
+ราศีพฤษภ 14 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน ธาตุดิน
+ราศีเมถุน 15 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม ธาตุลม
+ราศีกรกฎ 16 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม ธาตุน้ำ
+ราศีสิงห์ 16 สิงหาคม - 16 กันยายน ธาตุไฟ
+ราศีกันย์ 16 กันยายน - 16 ตุลาคม ธาตุดิน
+ราศีตุลย์ 16 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน ธาตุลม
+ราศีพิจิก 16 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม ธาตุน้ำ
+ราศีธนู 16 ธันวาคม - 13 มกราคม ธาตุไฟ
+ราศีมังกร 13 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ ธาตุดิน
+ราศีกุมภ์ 13 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม ธาตุลม
+ราศีมีน 13 มีนาคม -12 เมษายน ธาตุน้ำ

พอรู้ธาตุตามราศีเกิดกันแล้ว ทีนี้มาดูกันต่อว่าธาตุไหนเหมาะกับน้ำอะไร
 
ธาตุดิน
       คนธาตุดินมักชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสฝาด หวาน มัน เค็ม เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุด ฝรั่ง น้ำลำไย น้ำอ้อย น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว และน้ำที่ออกรสเค็ม
 
ธาตุน้ำ
       ชอบน้ำผักและผลไม้รสเปรี้ยว รสขม เช่น น้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำมะยม น้ำส้มโอ น้ำมังคุด น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำส้มเขียวหวาน น้ำลางสาด น้ำลิ้นจี่ น้ำเชอรี่ น้ำองุ่น น้ำชมพู่ น้ำทับทิม น้ำพุทรา น้ำสตรอว์เบอร์รี น้ำมะขวิด น้ำมะปราง น้ำมะเฟือง น้ำมะไฟ น้ำมะม่วง น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจือ น้ำใบบัวบก
 
ธาตุลม
       มักจะชอบดื่มน้ำผักผลไม้ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น น้ำกะเพราแดง น้ำขิง น้ำข่า น้ำตะไคร้
 
ธาตุไฟ
       ชอบรสหอมเย็น รสจืด เช่น น้ำลูกเดือย น้ำเม็ดแมงลัก น้ำอาร์ซี น้ำแตงไทย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว น้ำลูกจาก น้ำลูกตาลอ่อน น้ำผักคะน้า น้ำผักตำลึง น้ำแตงกวา น้ำขึ้นฉ่าย น้ำดอกคำฝอย น้ำว่านหางจระเข้ น้ำกะหล่ำปลี น้ำกวางตุ้ง

แล้วก็ลองปรุงเมนูสูตรน้ำตามธาตุกันได้เลย
ธาตุดิน
    น้ำฝรั่ง : วิตามินซีสูง มีสารเบต้าแคโรทีน ป้องกันไขมันจับผนังหลอดเลือด
       ส่วนผสม : ฝรั่งแก่จัด (หั่นชิ้นเล็ก ๆ ) 2 ช้อนคาว / น้ำต้มสุก 14 ช้อนคาว / น้ำเชื่อม 1 ช้อนคาว / เกลือป่นเล็กน้อย 2/5 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ล้างฝรั่งให้สะอาด ฝานเฉพาะเนื้อเป็นชิ้นเล็ก ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามชอบ
 
    น้ำมะตูม : มะตูมช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร บรรเทาร้อนใน
       ส่วนผสม : มะตูมแห้ง 2 ชิ้น / น้ำตาลทราย 1 ช้อนคาว / น้ำเปล่า 16 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ล้างมะตูมแห้งให้สะอาด ปิ้งไฟให้หอม ใส่หม้อ เติมน้ำ เปิดไฟเคี่ยวสักครู่ ยกลงกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทราย ตั้งไฟให้ละลาย ชิมรส
 
ธาตุน้ำ
    น้ำมะขาม : บำรุงสายตา บำรุงกระดูก แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยระบายท้อง
       ส่วนผสม : เนื้อมะขามสด หรือเปียก 2 ฝักใหญ่ / น้ำเชื่อม 2 ช้อนคาว / เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2/5 ช้อนชา / น้ำเปล่า 16 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ลวกมะขามสดในน้ำต้มเดือด ตักขึ้นแกะเอาแต่เนื้อ ต้มจนเดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามชอบ ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง ให้เปื่อยยุ่ยรวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มสุก ปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ
 
    น้ำมะม่วง : วิตามินซีสูง บำรุงสายตา มีฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็กเล็กน้อย ช่วยระบายท้อง
       ส่วนผสม : เนื้อมะม่วงครึ่งผลเล็ก / น้ำต้มสุก 14 ช้อนคาว / น้ำเชื่อม 2 ช้อนคาว / เกลือป่น 1/5 ช้อนชา
       วิธีทำ : มะม่วงดิบ (แก้วหรือแรด) ปอกล้างน้ำ สับเป็นเส้น คั้นกับน้ำสุก กรองกากออก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น มะม่วงสุก ล้างแล้วปอก ฝานเนื้อ ปั่น เติมน้ำสุก เกลือ ชิมรส น้ำมะม่วงควรเตรียมและดื่มให้หมดใน 1 วัน
 
ธาตุลม
    น้ำกะเพราแดง : ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
       ส่วนผสม : ใบกะเพราแดงแห้ง 1 ช้อนชา / น้ำเดือด 14 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ล้างใบกะเพราแดงสด ผึ่ง 2-3 แดด เก็บไว้ในกระป๋อง เวลาชง ให้ใส่กะเพราแดงแห้งในกระติกน้ำร้อน หรือชงกับน้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วดื่มได้เลย
 
    น้ำตะไคร้ : บำรุงสายตา กระดูก ฟัน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ลดความดัน ลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย
       ส่วนผสม : ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 1 ช้อนคาว / น้ำเปล่า 16 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ล้างตะไคร้ หั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใส่หม้อต้มจนเป็นสีเขียว ยกลง กรองตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อม อาจใช้เหง้าแก่ใต้ดินล้างฝานเป็นแว่นบาง คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ชงเป็นชาดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา
 
ธาตุไฟ
    น้ำเม็ดแมงลัก : ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ระบายท้อง
       ส่วนผสม : เม็ดแมงลัก 1 ช้อนชา / น้ำสะอาด 14 ช้อนคาว / น้ำตาล 1 ช้อนคาว
       วิธีทำ : เลือกเศษผงจากเม็ดแมงลัก ใส่ภาชนะทนความร้อน เติมน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก็ได้ คนให้เข้ากัน รอจนพองตัว เห็นเป็นเม็ดขาวจุดตำ เติมน้ำตาลตามชอบ
 
    น้ำผักตำลึง : บำรุงสายตา บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง หัวใจขาดเลือด มะเร็ง
       ส่วนผสม : ใบตำลึงหั่น 10 ช้อนคาว / น้ำเชื่อม 2 ช้อนคาว / น้ำมะนาว 2 ช้อนชา / น้ำต้มเปล่าสุก 14 ช้อนคาว / เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1/5 ช้อนคาว
       วิธีทำ : ล้างใบตำลึง หั่น ปั่น เติมน้ำต้ม 7 ช้อนคาว ปั่นอีก แล้วกรอง เติมน้ำที่เหลือคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม




ที่มาข้อมูลและภาพ ruksukaphab.com


ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ หมายถึง, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ คือ, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ ความหมาย, ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำตามธาตุ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu