ประวัติความเป็นมา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ทำหน้าที่ให้บริการ ควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบินจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นทางทวีปเอเชีย ส่งผลให้อากาศยานพลเรือนไม่อาจทำการบินจึงต้องเลิกกิจการลง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การประกอบธุรกิจการบินระหว่างประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น บริษัท Aeronautical Radio Inc. (ARINC) จากสหรัฐอเมริกา บริษัท International Aeradio Ltd. (IAL) จากอังกฤษ และสายการบินต่างๆที่ทำการบินมายังประเทศไทย ได้ร่วมกันขออนุมัติรัฐบาลไทยจัดตั้งบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด AERONAUTICAL RADIO OF SIAM LTD. เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2491 เพื่อดำเนินกิจการบริการควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบินตามมาตรฐาน และข้อเสนอแนะขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) ภายใต้สัญญาที่ได้รับจากรัฐบาลไทย
จนกระทั่งต่อมารัฐบาลไทยซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภารกิจวิทยุการบินฯตลอดมาว่า เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งชาติ และการพัฒนากิจการบิน ประกอบกับมีความพร้อมในทุกๆด้านแล้ว จึงได้รับโอนกิจการเข้ามาดำเนินงานในรูปแบบองค์กรของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2506 และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น AERONAUTICAL RADIO OF THAILAND LTD. หรือ AEROTHAI ในเวลาต่อมายังได้อนุญาตให้สายการบินที่ทำการบินมายังประเทศไทย เป็นประจำ ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นกับรัฐบาลด้วย วิทยุการบินฯ จึงได้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ถึงแม้จะดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด แต่เนื่องจากมีข้อผูกพันในฐานะที่ปฏิบัติงานในนามรัฐบาล ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ ICAO และตามข้อตกลงที่มีไว้กับรัฐบาล วิทยุการบินฯ จึงดำเนินการแบบไม่ค้ากำไร ในการให้บริการภาคความปลอดภัย ได้แก่ บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบินในอาณาเขตประเทศไทย โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ นอกจากนั้นยังมีบริการภาคธุรกิจ คือ บริการเกี่ยวเนื่องกับกิจการบินทั้งใน และต่างประเทศ
ปัจจุบันนับเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่วิทยุการบินฯ ได้ดำเนินกิจการด้วยความมุ่งมั่น ที่รักษาคุณภาพ การให้บริการ พัฒนาเทคโนโลยี และบุคลากรให้มีความทันสมัย และประสานความร่วมมือกับองค์กรการบิน ทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อจะมีส่วนร่วมมือกับองค์กรการบินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมนำความเจริญก้าวหน้า มาสู่กิจการบินทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
พัฒนาการสู่หน่วยงานควบคุมการบินแห่งชาติ
เดิมประเทศไทย มีหลายองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายที่จะรวมงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทฯ เพียงหน่วยงานเดียวเพื่อพัฒนากิจการขนส่งทางอากาศ ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบริหารและพัฒนาระบบงาน ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยี ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ จึงได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และได้มีมติให้ความไว้วางใจมอบหมายงานบริการควบคุมจราจรทางอากาศ สื่อสารการบิน เครื่องช่วยการเดินอากาศ และบริการเกี่ยวเนื่องกับการบิน ที่ท่าอากาศยานสากล ส่วนภูมิภาคคือ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2531 หาดใหญ่และภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2531 ให้บริษัทฯ ดำเนินการแทนกรมการบินพาณิชย์
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2536 จากผลการดำเนินงานที่เป็นที่ยอมรับในสากล รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้รับผิดชอบงานดังกล่าว ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ แทนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ได้มอบงานดังกล่าวที่ท่าอากาศยานสุโขทัยและสมุย เมื่อวันที่ 11 เมษายน และวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ตามลำดับ ที่สำคัญเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2541 ประวัติศาสตร์การบินของประเทศ ได้มีบันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ รัฐบาลได้มอบงานบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมการบินที่ท่าอากาศยานพาณิชย์ทั่วประเทศ จากกรมการบินพาณิชย์ให้บริษัทฯ ปฏิบัติแทน ซึ่งเป็นผลตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการต่างๆ บริเวณท่าอากาศยานให้ได้ตามมาตรฐานสากล
ท่าอากาศยานต่างๆ ที่บริษัทฯ รับงานมาปฏิบัติแทน ประกอบด้วย
1. หัวหิน
2. อุดรธานี
3. พิษณุโลก
4. อุบลราชธานี
5. เชียงราย
6. สุราษฏร์ธานี
7.นครศรีธรรมราช
8. ขอนแก่น
9. แม่ฮ่องสอน
10. ลำปาง
11. นราธิวาส
12. สกลนคร
13. แม่สอด
14. ระนอง
15. น่าน
16. แพร่
17. ตรัง
18. ตาก
19. นครพนม
20. ปัตตานี
21. เลย
22. บุรีรัมย์
23. นครราชสีมา
24. ชุมพร
25. ร้อยเอ็ด
26. กระบี่
27. เพชรบูรณ์
รวมถึงสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศอิสระที่ ชุมแพ นครราชสีมา ระยองและปราจีนบุรี และท่าอากาศยานอื่นๆ ที่จะสร้างใหม่หรือเปิดให้บริการในอนาคต
การรับโอนการปฏิบัติงานนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ ปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานควบคุมการบินแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในการบริการการเดินอากาศ พัฒนางานบริหารทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยี เพื่อสนองนโยบายตามแผนพัฒนาฯ ข้างต้น
จากก้าวแรก..... จนถึงวันนี้
2518 ICAO มอบหมายภารกิจเพิ่มเติมให้รับผิดชอบน่านฟ้าบางส่วนเหนือทะเลจีนใต้ พื้นที่ของประเทศเวียดนาม
2531 ได้รับรางวัล Edward Warner ครั้งที่ 22 (TheTwenty-second Edward Warner Award)
2531 รับมอบงานที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต
2534 ได้รับรางวัล "บริษัทดีเด่นแห่งปี " ประเภทรัฐวิสาหกิจ
2536 รับมอบงานที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ
2536 รับผิดชอบบริเวณน่านฟ้าระดับสูง เหนือประเทศกัมพูชา
2537 ได้ส่งมอบพื้นที่บางส่วนคืนแก่เวียดนาม เมื่อเวียดนามมีความพร้อมที่จะดำเนินการเอง
2538 ได้รับรางวัล "บริษัทดีเด่นแห่งปี" ประเภทรัฐวิสาหกิจ
2539 รับมอบงานที่ท่าอากาศยานสุโขทัย สมุย
2544 คืนพื้นที่ที่รับผิดชอบแก่กัมพูชา
2547 ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 VERSION 2000 สำหรับหน่วยงานวิศวกรรมทั้งหมด
2547 ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025-1999
2548 ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับจังหวัด
2548 รางวัลอาคารรัฐสะอาดพฤกษาสวย จากโครงการแมกไม้มิ่งเมือง "ระดับหน้าบ้าน น่ามอง" ของกรุงเทพมหานคร
2548 ได้รับรางวัล